คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

เสียงการกลืนนมของทารก


การสังเกตจังหวะการดูดนมและการกลืนนมของทารก จะสามารถช่วยบอกว่าทารกเข้าเต้าหรือดูดนมได้ดีหรือไม่

การปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมและกระตุ้นให้ลูกดูดนม


ในขณะที่มารดาให้นมลูก มารดาอาจเมื่อยและต้องการปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูก วิดีโอนี้แนะนำวิธีการปรับเปลี่ยนท่าเบื้องต้นเพื่อลดอาการเมื่อยล้าและการกระตุ้นบีบน้ำนมซึ่งจะทำให้ทารกกินนมได้ดีขึ้น

การกระตุ้นปลุกลูกให้กินนมแม่


มักจะพบบ่อยว่าทารกติดหลับขณะดูดนมจากอกแม่ในกรณีที่่ทารกคลอดก่อนกำหนด วิดีโอนี้แนะนำการกระตุ้นปลุกทารกให้กินนมแม่ได้ดีขึ้น

การจัดท่าในการให้นมแม่

วิดีโอนี้จะบรรยายถึงหลัก 4 ประการในการจัดท่าให้นมลูก

หากต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ การเลือกโรงพยาบาลที่คลอดมีความสำคัญ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ในกระบวนการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น จะเริ่มตั้งแต่ในมารดาที่มาฝากครรภ์ โดยมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายและประเมินความเสี่ยงในการหยุดให้นมแม่ของมารดาก่อนเวลาอันควร เพื่อวางแผนการติดตามดูแลในระยะคลอดและหลังคลอด กระบวนการในการดูแลในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด รวมถึงการติดตามเยี่ยมบ้านจะมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล แน่นอนโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีกระบวนการเหล่านี้เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่า ดังนั้น หากมารดาต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ ควรศึกษาว่าโรงพยาบาลโรงใดเป็นโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะหากมารดาไม่เตรียมการศึกษาข้อมูลล่วงหน้า แล้วคลอดบุตรในโรงพยาบาลที่หลังแยก แยกมารดาและทารกออกจากกัน ไม่มีการกระตุ้นการดูดนมหรือโอบกอดเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด มารดาอาจต้องใช้ความพยายามมากขึ้นที่จะสร้างโอกาสที่จะช่วยให้ลูกได้กินนมแม่ นอกจากนี้ มีการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่สนับสนุนมารดาให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก มีแนวโน้มที่มารดาเหล่านี้จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานกว่า1

เอกสารอ้างอิง

  1. Vehling L, Chan D, McGavock J, et al. Exclusive breastfeeding in hospital predicts longer breastfeeding duration in Canada: Implications for health equity. Birth 2018.