คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

ข้อควรระวังในมารดาที่มีหมู่เลือดเป็นลบ

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ในมารดาที่ตั้งครรภ์จะมีการตรวจหมู่เลือด โดยปกติที่ผู้คนคุ้นเคยจะเป็นหมู่เลือดเอ บี โอ แต่ยังมีหมู่เลือดอีกกลุ่มหนึ่งที่ทางการแพทย์จำเป็นตรวจคือหมู่เลือดอาร์เอช (Rh) ซึ่งจะแบ่งเป็นหมู่เลือดอาร์เอชบวก และอาร์เอชลบ ในการให้เลือดจำเป็นต้องคำนึงถึงหมู่เลือดหลักสองหมู่เลือดนี้ที่จำเป็นจะต้องเข้ากันได้ หมู่เลือดอาร์เอชลบจะเป็นหมู่เลือดที่พบได้น้อยโดยในประเทศไทยจะพบเพียงร้อยละ 1 ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการที่ไม่สามารถหาเลือดที่เหมาะสมมาให้ในผู้ป่วยได้

? ? ? ? ? ? ?สำหรับในมารดาที่ตั้งครรภ์ หากมีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชลบร่วมกับมีสามีมีหมู่เลือดอาร์เอชบวก จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดทารกมีหมู่เลือดเป็นอาร์เอชบวก ซึ่งจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันมารดา และจะเกิดอันตรายเมื่อมารดาตั้งครรภ์ซ้ำในลูกคนที่สอง โดยภูมิคุ้มกันของมารดาจะมองทารกเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ต้องทำลาย ทารกจะเกิดอาการตัวเหลือง ตัวบวมน้ำและเสียชีวิตได้ ดังนั้นในการป้องกันจึงมีการแนะนำให้ภูมิคุ้มกันต่อสารหมู่เลือดอาร์เอชเพื่อไปป้องกันการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของมารดาที่มีหมู่เลือดอาร์เอชตั้งแต่ในระยะการตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยมีการศึกษาการให้ภูมิคุ้มกันหมู่เลือดอาร์เอชกับมารดาในระหว่างมารดาอายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ ผลการให้จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่ออาร์เอชของมารดาจากร้อยละ 13 เหลือเพียงร้อยละ 11 ตัวอย่างเหล่านี้ แสดงถึงประโยชน์ในการฝากครรภ์ที่บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใส่ใจกับผลการตรวจหมู่เลือดของมารดา เพื่อวางแผนการดูแลครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Tiblad E, Westgren M, Pasupathy D, Karlsson A, Wikman AT. Consequences of being Rhesus D immunized during pregnancy and how to optimize new prevention strategies. Acta Obstet Gynecol Scand 2013;92:1079-85.

 

 

การเลือกวิธีการคลอดในมารดาที่ตั้งครรภ์แฝด

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?มารดาครรภ์แฝดที่มีทารกคนแรกมีส่วนนำเป็นศีรษะสามารถเลือกคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ส่วนใหญ่มารดามักมีความวิตกกังวลต่างๆ และอาจเลือกที่จะผ่าตัดคลอด มีการศึกษาถึงการวางแผนการคลอดด้วยการผ่าตัดคลอดกับการวางแผนการคลอดทางช่องคลอดในมารดาครรภ์แฝดที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 32-38 สัปดาห์ พบว่าการผ่าตัดคลอดไม่ได้ช่วยลดการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของทารกของมารดาครรภ์แฝด1 ดังนั้น มารดาควรได้รับการอธิบายให้เข้าใจถึงข้อมูลเหล่านี้ เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Barrett JF, Hannah ME, Hutton EK, et al. A randomized trial of planned cesarean or vaginal delivery for twin pregnancy. N Engl J Med 2013;369:1295-305.

 

การให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในมารดาครรภ์แฝด

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? มารดาครรภ์แฝดมักมีโอกาสในการคลอดก่อนกำหนดสูง มีการศึกษาการให้ยาฉีดโปรเจสเตอโรนในมารดาครรภ์แฝดพบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด1 ซึ่งแตกต่างจากการให้โปรเจสเตอโรนในมารดาครรภ์เดี่ยวที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าจะได้ประโยชน์ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด อาจเป็นไปได้ว่า กลไกการคลอดก่อนกำหนดที่สำคัญในครรภ์แฝดอาจจะแตกต่างจากในครรภ์เดี่ยว โดยควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
1. Senat MV, Porcher R, Winer N, et al. Prevention of preterm delivery by 17 alpha-hydroxyprogesterone caproate in asymptomatic twin pregnancies with a short cervix: a randomized controlled trial. Am J Obstet Gynecol 2013;208:194 e1-8.

 

การเจาะถุงน้ำคร่ำในการชักนำการคลอด

IMG_0101

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในมารดาบางรายมีเหตุผลจำเป็นต้องชักนำการคลอด การชักนำการคลอดมีหลายวิธี ได้แก่ การเจาะถุงน้ำคร่ำ การใช้ยาออกซิโตซินใส่ในน้ำเกลือ การใช้ยาสอดใส่ในปากมดลูก การเหน็บช่องคลอดด้วยยา misoprostol ซึ่งมีการศึกษาว่า การเจาะถุงน้ำคร่ำตั้งแต่ในระยะแรกร่วมกับการให้ยาเหน็บช่องคลอดด้วย misoprostol จะมีโอกาสการคลอดทางช่องคลอดสำเร็จสูงกว่า? ใช้ระยะเวลาในการคลอดสั้นกว่า และผลลัพท์ของทารกดีกว่า1

เอกสารอ้างอิง

  1. Makarem MH, Zahran KM, Abdellah MS, Karen MA. Early amniotomy after vaginal misoprostol for induction of labor: a randomized clinical trial. Arch Gynecol Obstet 2013;288:261-5.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การใช้น้ำมันช่วยนวดและหล่อลื่นปากช่องคลอดขณะเบ่งคลอด

 

 

การคลอดทางช่องคลอด
การคลอดทางช่องคลอด

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การคลอดในปัจจุบันแนะนำให้มีการตัดฝีเย็บขณะคลอดเมื่อจำเป็น ดังนั้นการตัดฝีเย็บจึงเลือกตัดในผู้คลอดบางรายเท่านั้น ในมารดาขณะเบ่งคลอดมีการศึกษาถึงการใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันอัลมอนด์ช่วยนวดและหล่อลื่นบริเวณปากช่องคลอด ซึ่งจะช่วยปากช่องคลอดไม่ให้ฉีกขาดขณะคลอดได้ สำหรับชนิดของน้ำมันที่ใช้นวดปากช่องคลอดในแต่ละชนิดที่ใช้ยังไม่มีความแตกต่างกัน1 ดังนั้น หากจะใช้การนวดและหล่อลื่นปากช่องคลอดในขณะคลอด อาจเลือกใช้น้ำมันมะกอกที่มีอยู่แล้วในการใช้เช็ดไขทารกนำมาใช้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Harlev A, Pariente G, Kessous R, et al. Can we find the perfect oil to protect the perineum? A randomized-controlled double-blind trial. J Matern Fetal Neonatal Med 2013;26:1328-31.