คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การรักษาไมเกรนในสตรีตั้งครรภ์และให้นมลูก

m1152

? ? รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โรคไมเกรนเป็นโรคที่พบบ่อยในสตรี หากสตรีตั้งครรภ์ การรักษาด้วยยาจะมีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้ยาบางชนิด ดังนั้น ทางเลือกแรกในการป้องกันรักษา คือ การผ่อนคลาย พักผ่อนให้เพียงพอ การทำสมาธิ การนวด การฝังเข็ม ?หากมีความจำเป็นต้องใช้ยา พาราเซตามอลเป็นยาที่ควรเลือกใช้ในลำดับแรก เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง หากมารดามีอาการรุนแรงและใช้ยาพาราเซตามอลแล้วไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องใช้ยาชนิดอื่นในการให้การรักษาด้วย ได้แก่ ซูมาทริปแธน? (sumatriptan) สำหรับยาต้านการอักเสบ (NSAID) จะมีความเสี่ยงในการใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สาม1 อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาการไมเกรนมักดีขึ้น มารดาจึงควรเลือกปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะจำเป็นต้องใช้ยาที่มีความเสี่ยง จะมีน้อย

เอกสารอ้างอิง

  1. Amundsen S, Nordeng H, Nezvalova-Henriksen K, Stovner LJ, Spigset O. Pharmacological treatment of migraine during pregnancy and breastfeeding. Nat Rev Neurol 2015;11:209-19.

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

bf45

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในประเทศที่กำลังพัฒนา 19 ประเทศ พบว่า การกลับไปทำงานของมารดาหรือการจ้างงานมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกมาก รองลงมาได้แก่ การรู้สึกว่าน้ำนมไม่พอ สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่พบเป็นอุปสรรคน้อยกว่า คือ มารดาหรือทารกป่วย ปัญหาหัวนมหรือเต้านม นอกจากนี้ สิ่งที่ยังพบเป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งคือ ความเชื่อเกี่ยวกับการให้อาหารอื่นแก่ทารกก่อนหกเดือน1

? ? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทยจากการสำรวจเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนหลังคลอด พบข้อมูลคล้ายคลึงกัน2 โดยในเรื่องความเชื่อยังมีการให้น้ำ น้ำข้าว ข้าวต้ม น้ำส้ม กล้วยบดแก่ทารกแรกเกิดในหกเดือนแรก ดังนั้นในส่วนที่บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยกันแก้ไขได้ทันที คือ การสร้างความมั่นใจให้แก่มารดาว่า มารดาปกติจะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารกทุกคน โดยในส่วนของความเชื่ออาจต้องแก้ไขด้วยกับให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และความจำเป็นที่ต้องได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนหลังคลอดแก่บุคคลในครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการให้นมลูก ซึ่งอาจเป็นปู่ ย่า ตา ยาย หากบุคคลเหล่านี้เข้าใจจะเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่บ้านอย่างดีเยี่ยม

เอกสารอ้างอิง

  1. Balogun OO, Dagvadorj A, Anigo KM, Ota E, Sasaki S. Factors influencing breastfeeding exclusivity during the first 6 months of life in developing countries: a quantitative and qualitative systematic review. Matern Child Nutr 2015.
  2. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province J Med Health Sci 2009;16:116-23.

 

 

 

 

 

การลาพักหลังคลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf39

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? กฎหมายเกี่ยวกับการลาพักหลังคลอดและเปิดโอกาสให้มารดาได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยมีการจ่ายเงินชดเชยในระหว่างการลาพัก ในหลายประเทศใช้นโยบายนี้เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการช่วยสนับสนุนการให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน? ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มสมาชิกของสหประชาชาติ 193 ประเทศ มีประเทศที่มีการใช้นโยบายนี้ร้อยละ 73 ในปี พ.ศ. 2538 และมีการใช้นโยบายนี้เพิ่มขึ้นอีก 7 ประเทศในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งรวมๆ แล้วประเทศทั้งหมดที่มีการใช้นโยบายนี้ราวร้อยละ 751

สำหรับประเทศไทย การสนับสนุนนโยบายนี้ยังไม่เต็มรูปแบบคือ ส่วนใหญ่จะลาคลอดได้ราว 90 วัน โดยการจ่ายเงินชดเชยขึ้นอยู่กับสิทธิว่าเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือลูกจ้าง หากเป็นไปได้ ในอนาคตอันใกล้ ถ้าเราได้เห็นนโยบายเหล่านี้ได้นำมาใช้ปฏิบัติ ปัญหาในเรื่องการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการที่มารดากลับไปทำงานน่าจะลดลง

เอกสารอ้างอิง

  1. Atabay E, Moreno G, Nandi A, et al. Facilitating working mothers’ ability to breastfeed: global trends in guaranteeing breastfeeding breaks at work, 1995-2014. J Hum Lact 2015;31:81-8.

 

สื่อสังคมออนไลน์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Power1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในปัจจุบันแทบจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในการสื่อสารข้อมูล มีการเข้าถึง แพร่หลาย และเกิดการกระจายของข้อมูลเป็นจำนวนมาก โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในการเข้าสู่การสื่อสารออนไลน์รวมถึงในกลุ่มมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมารดามีการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด1 และมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสื่อสารออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ยังมีข้อจำกัด ซึ่งต้องการองค์กรที่จะรวบรวมเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูล (data center) เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มารดาสามารถพึ่งพิงได้ สิ่งนี้อาจเป็นช่องทางที่ดีทางหนึ่งที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Asiodu IV, Waters CM, Dailey DE, Lee KA, Lyndon A. Breastfeeding and use of social media among first-time African American mothers. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2015;44:268-78.

 

การรณรงค์ให้ลูกกินนมแม่

DSC00099-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? แม้ว่าในปัจจุบัน กระแสของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในประเทศไทยดีขึ้น แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ มีการศึกษาพบว่า สาเหตุในการหยุดให้ลูกกินนมแม่ที่สำคัญ คือ การที่มารดาจำเป็นต้องกลับไปทำงาน ดังนั้นในการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหานี้ จึงมีการออกคำขวัญเนื่องในสัปดาห์นมแม่โลกปี 2558 ว่า ?Breastfeeding and work, let?s make it work? หรือได้มีการเขียนเป็นภาษาไทยว่า ?ภาคีร่วมใจ ช่วยแม่ไทย ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่? ซึ่งสื่อว่า ทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ลูกได้กินนมแม่

??????????????? ในภาคส่วนที่มีบทบาทโดยตรง คือ กลุ่มนายจ้าง บริษัท หรือห้างร้านที่มีการจ้างลูกจ้างกับกลุ่มลูกจ้าง ซึ่งผู้ประกอบการนอกเหนือจากมีนโยบายในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว การสื่อสารด้วยการพูดคุยกันถึงการปฏิบัติที่ส่งเสริมการให้ลูกได้กินนมแม่1 ได้แก่ การจัดมุมนมแม่ การให้เวลามารดาพักเพื่อปั๊มเก็บนมแม่ การมีการจัด day care ในสถานประกอบการสำหรับให้มารดาสามารถมาให้นมได้ในระหว่างการทำงาน สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้มารดามีโอกาสเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกได้สำเร็จ และตรงกับคำว่า ภาคีร่วมใจ ช่วยแม่ไทย ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Anderson J, Kuehl RA, Drury SA, et al. Policies aren’t enough: the importance of interpersonal communication about workplace breastfeeding support. J Hum Lact 2015;31:260-6.