คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

อาการคันหัวนมหลังคลอดของมารดาเป็นจากอะไร

S__38199475

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? หลังคลอดในมารดาบางคนอาจมีอาการคันบริเวณหัวนมได้ โดยในระยะแรก อาการคันอาจเป็นเพียงอาการเดียวที่มารดามี แต่เนื่องจากอาการคันนั้นมีสาเหตุได้จากหลายอย่าง มารดาอาจจะต้องสังเกตอาการแสดงที่เห็นร่วมกับอาการคัน โดยสังเกตและติดตามบริเวณที่คันว่ามีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งอาจจะมีอาการแดง เจ็บ เป็นแผล เป็นสะเก็ด เป็นตุ่มผื่น หรือมีลักษณะของการถูกกัดจากแมลง สิ่งเหล่านี้ จะช่วยในการให้การวินิจฉัยและการรักษา

-มารดาที่มีผื่นแดงหรือลมพิษร่วมกับอาการคัน ควรตรวจสอบการแพ้สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาซักผ้าหรือปรับผ้านุ่ม น้ำหอม หรือครีมที่ใช้สัมผัสกับหัวนมหรือเต้านม การดูแลรักษา ควรหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และอาจใช้ยาแก้แพ้ช่วยบรรเทาอาการ

? ? ? ? ? -มารดาที่มีผื่นแดง อักเสบ เป็นสะเก็ด และแห้ง ร่วมกับมีประวัติการเป็นผื่นแดง อักเสบในบริเวณอื่นๆ ควรตรวจสอบอาการผื่นแดงอักเสบ (eczema) และให้การดูแลรักษาโดยให้ยาแก้แพ้ และยาทาสเตียรอยด์เฉพาะที่ แต่ยาทานี้ต้องล้างออกก่อนการให้นมบุตร

? ? ? ? ? -มารดามีตุ่มหรือผื่นแดง ลักษณะแยกจากกัน และมีน้ำเหลืองไหลออกมา ควรตรวจสอบการอักเสบติดเชื้อที่ผิวหนัง ที่เรียกว่า Impetigo ซึ่งจะเป็นการติดเชื้อจากเชื้อ streptococcus หรือ staphylococcus การดูแลรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ

? ? ? ? ? -มารดาที่มีการอักเสบแดง และกดเจ็บของเต้านมร่วมด้วย ควรตรวจสอบการอักเสบหรือการติดเชื้อของเต้านม (mastitis) การดูแลรักษาอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ

-มารดามีหัวนมเป็นสีชมพู ใสเป็นมัน และเป็นสะเก็ด ควรตรวจสอบการติดเชื้อรา การดูแลรักษาจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราได้แก่ Gentian violet ทาบริเวณหัวนม และอาจต้องใช้ทาในปากทารกด้วย

? ? ? ? ? -มารดามีตุ่มใส และบริเวณฐานของตุ่มเป็นสีแดง ต้องตรวจสอบการอักเสบจากการติดเชื้ออีสุกอีใส (varicella) หรือการกลับเป็นซ้ำของงูสวัด

? ? ? ? ? -มารดาที่มีตุ่มอักเสบ เป็นหลุม ร่องหรือเป็นรู ร่วมกับทารกมีอาการลักษณะเดียวกัน ควรตรวจสอบการอักเสบจากหิด ซึ่งจำเป็นต้องรักษาหิด

? ? ? ? ? ?-มารดามีตุ่มอักเสบและมีร่องรอยของแมลงกัด หรือต่อย การดูแลรักษาต้องรักษาการปวดหรือคันตามอาการ แต่ควรหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการกัด หรือต่อยของแมลงที่จะเกิดต่อไปด้วย

? ? ? ? ? ? สำหรับอาการคันของมารดาที่มีผื่นแดง อักเสบ ร่วมกับการคลำได้ก้อน อาจสงสัย Paget disease ซึ่งเป็นอาการทางผิวหนังของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม สิ่งนี้มีอันตรายและมีความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษา อย่างไรก็ตาม อาการคันหัวนมของมารดา สาเหตุส่วนใหญ่มักเป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายรุนแรง ความผิดปกติหรือสาเหตุจากมะเร็งพบน้อย แต่หากดูแลรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ทารกกินนมแม่แล้วมีลมในท้องมากเกิดจากอะไร

IMG_0687

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในทารกที่กินนมแม่ หากทารกมีอาการแน่นท้อง ผายลมบ่อย ไม่สบายตัว สิ่งแรกที่ต้องสังเกตคือ การเข้าเต้าและการดูดนมของทารกทำได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพหรือไม่ หากทารกเข้าเต้าได้ไม่ดีหรือดูดลมเข้าไปมากระหว่างการกินนมแม่ ทารกจะมีอาการแน่นท้อง ซึ่งการอุ้มพาดบ่าหรือจับทารกเรอจะช่วยลดอาการได้ สำหรับสาเหตุอื่นที่ทำให้ทารกแน่นท้องหรือผายลมบ่อย อาจเกิดจากการที่มารดารับประทานอาหารที่ทำให้เกิดลมมาก ได้แก่ หัวหอม บร็อคคอลี่ กะหล่ำปลี ลูกพรุน ถั่ว แอปริคอต และช็อคโกแลต หรือการที่ทารกกินนมแม่และได้เฉพาะส่วนของน้ำนมส่วนหน้า (foremilk) มากเกินไป การที่มารดากินอาหารชนิดที่ทำให้เกิดลมในท้องมาก สารอาหารจะผ่านไปในน้ำนม และทำให้ทารกเกิดลมในท้องมากเช่นเดียวกัน การหลีกเลี่ยงไม่กินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเดียวกันมากจนเกินไปจะสามารถช่วยลดอาการได้ สำหรับทารกที่กินนมแม่ในน้ำนมส่วนหน้ามาก จะมีอาการถ่ายและผายลมบ่อย อุจจาระสีเขียวและเป็นฟอง ในกรณีนี้อาจเกิดจากทารกกินนมได้ไม่นานแล้วหลับ และครั้งต่อไปมารดาให้นมจากเต้าอีกข้างซึ่งจะทำให้ทารกได้รับเฉพาะน้ำนมส่วนหน้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีน้ำตาลกาแลคโตสสูง ทำให้มีการขับถ่ายได้บ่อยๆ น้ำดีที่ออกมากับอุจจาระยังไม่ได้ถูกย่อยโดยแบคทีเรีย ทำให้อุจจาระมีสีเขียว การดูแลหรือช่วยเหลือในกรณีนี้มารดาให้กระตุ้นทารกที่ดูดนมแล้วหลับให้ดูดนมได้เต็มที่เกลี้ยงเต้า ซึ่งจะทำให้ทารกได้รับน้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันมากกว่า ทารกจะอิ่มนาน และไม่ขับถ่ายบ่อยจนเกินไป หรืออาจใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมส่วนหน้าออกก่อนในกรณีที่น้ำนมมามาก โดยบีบหรือปั๊มนมออกก่อน 5 นาทีก่อนการให้ทารกกินนมก็จะทำให้ทารกได้กินน้ำนมส่วนหลัง ซึ่งจะช่วยลดอาการถ่ายและผายลมบ่อยลงได้ นอกจากนี้ การให้ทารกได้อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ทารกสบายตัว ลดอาการแน่นท้องและผายลมได้ดีขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

การให้นมแม่ในทารกกลุ่มอาการดาวน์

409789_12123833_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?กลุ่มอาการดาวน์เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทารกจะมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่ำ มีความผิดปกติในช่องปาก คือ ปากเล็ก ลิ้นจะคับแน่นยื่นออกมา และมีกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง ความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจพบร่วม ได้แก่ ความผิดปกติของหัวใจ ความผิดปกติของกระเพาะหรือลำไส้ โดยอาจมีส่วนของกระเพาะที่อุดตันหรือมีลำไส้ที่บีบแคบ (microcolon หรือ Hirschsprung disease) มารดาหรือผู้ดูแลจำเป็นต้องทราบความผิดปกติของทารกที่มีทั้งหมด เพื่อการวางแผนการให้นมที่เหมาะสม นอกจากนี้ ในทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อที่หู มีพัฒนาการทางด้านการพูดและภาษาช้าด้วย ดังนั้น การที่ให้ทารกได้รับนมแม่จะเป็นผลดีในด้านการป้องกันการติดเชื้อ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางระบบประสาทและการรับรู้ของทารกให้ดีขึ้น การที่มารดาได้พูดคุยกับทารกขณะกินนมจะช่วยพัฒนาการทางด้านภาษา อย่างไรก็ตาม ทารกเหล่านี้จะมีความยากลำบากในการให้นมแม่ โดยอาจจะเข้าเต้าได้ไม่ดีจากการที่มีปากเล็กและลิ้นยื่นออกมา แรงในการดูดนมอาจมีน้อยและอาจดูดนมได้ไม่นานจะมีอาการเหนื่อย การฝึกฝนจำเป็นต้องประเมินทารกว่าสามารถเข้าเต้าและดูดนมจากเต้าได้หรือไม่ หากสามารถทำได้ ต้องมีการประเมินว่าทารกสามารถดูดนมได้เพียงพอหรือไม่ มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์หรือไม่ หากทารกเหนื่อยและดูดนมได้ไม่นาน การให้นมบ่อยๆ ร่วมกับการอาจมีการป้อนนมเสริมโดยอาจใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาช่วยให้นมแก่ทารกอาจจำเป็น สำหรับทารกที่ไม่สามารถเข้าเต้าได้ในระยะแรก การใช้วิธีการป้อนนมด้วยช้อน หรือป้อนนมด้วยถ้วยก่อน การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ และกระตุ้นนวดทารกจะช่วยได้ โดยเมื่อทารกโตขึ้น ช่องปากกว้างขึ้น แรงในการดูดดีขึ้น ทารกจะสามารถดูดนมจากเต้าได้ด้วยตนเอง สำหรับท่าในการให้นม อาจใช้ท่าที่ใช้มือประคองบริเวณคางหรือแก้มของทารก (Dancer?s hold position) จะช่วยพยุงและทำให้ทารกกินนมได้นานขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

ทารกที่อ่อนแรง มีวิธีให้นมแม่อย่างไร

dancer hold position2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ทารกที่อ่อนแรง หรือมีแรงตึงของกล้ามเนื้อน้อยกว่าปกติ จะมีลักษณะที่เปลี้ย หรืออ่อนปวกเปียก สาเหตุที่ทารกมีการอ่อนแรง อาจเกิดได้จากการคลอดก่อนกำหนดที่ทารกยังไม่มีความสมบูรณ์ ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทารกที่มีลักษณะพันธุกรรมที่ผิดปกติ ทารกที่มีการขาดเลือดหรือขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด หรือทารกที่บาดเจ็บจากการคลอด ทารกเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลและใส่ใจเป็นพิเศษในระหว่างการให้นมแม่ เนื่องจากทารกอาจดูดนมได้น้อย หรือขาดแรงในการดูดนม ทำให้ดูดนมได้ไม่เพียงพอ และมีการเจริญเติบโตที่ช้าหรือต่ำกว่าเกณฑ์ จึงต้องมีการติดตามการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด
? ? ? ? ? ? ? ? สำหรับการให้นมแม่ในทารกเหล่านี้ หากทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้ ควรให้ดูดนมจากเต้า การดูดนม ทารกอาจดูดได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่าปกติ เนื่องจากทารกจะเหนื่อย ดังนั้นจะต้องวางแผนให้นมบ่อยๆ และเนื่องจากทารกมีกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง การจัดท่าที่เหมาะสมจะช่วยให้การเข้าเต้าของทารกทำได้ดี ท่าในการให้นมลูกที่แนะนำ ได้แก่ ท่า Dancer hold ท่านี้จะวางคางทารกไว้ในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยนิ้วโป้งและนิ้วชี้อาจช่วยในการประคองแก้มของทารก ซึ่งจะทำให้ทารกที่อ่อนแรงดูดนมได้นานขึ้น ในกรณีที่ทารกอ่อนแรงมาก ไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ อาจจำเป็นต้องใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมและใช้อุปกรณ์ช่วยในการป้อนนม ได้แก่ ใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาช่วยป้อนนม หรือใช้การป้อนนมด้วยหลอดฉีดยา ช้อน หรือถ้วย ร่วมกับการกระตุ้นการพัฒนาการของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของทารกโดยการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น มีพัฒนาการและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ทารกจะสามารถดูดนมจากเต้าได้ด้วยตนเอง

เอกสารอ้างอิง
1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ดูดนมจากเต้าทำได้หรือไม่

cleft lip cleft palate1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่ปากแหว่ง เพดานโหว่ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือจากสภาวะแวดล้อมที่เป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตในส่วนโครงสร้างของใบหน้า ทำให้เกิดการไม่เชื่อมต่อกันของผิวหนัง เนื้อเยื่อ และกระดูกบริเวณปาก และเพดานในปากด้านบน โดยทั่วไปจะพบความผิดปกติของทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียวร้อยละ 20 ทารกที่มีเพดาโหว่อย่างเดียวร้อยละ 30 และทารกที่มีปากแหว่งและเพดาโหว่ร้อยละ 50

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียว หากสามารถประกบปากเข้ากับเต้านม และส่วนของเนื้อเต้านมแนบสนิทกับปากทารก ทารกจะสามารถสร้างแรงดูดนม และสามารถดูดนมจากเต้าได้ แต่ในทารกที่มีเพดานโหว่ การสร้างแรงดูดนมอาจทำได้ไม่ดี จำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ในการช่วยป้อนนมแม่ให้กับทารก โดยอาจใช้หลอดฉีดยา ช้อน หรือการป้อนด้วยถ้วย และจัดท่าให้ทารกอยู่ในลักษณะที่นั่งตัวตรง จะช่วยป้องกันการสำลักของทารกได้ การใช้แผ่นพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อปิดเพดานโหว่ (palate obturator) ก็ช่วยในการกินนมของทารก การติดตามดูการเจริญเติบโตของทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่มีความจำเป็น เนื่องจากทารกอาจดูดนมได้น้อยและอาจต้องการการป้อนนมเสริม ในทารกเหล่านี้ มารดาจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเพื่อการกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมด้วย

? ? ? ? ? ?สำหรับการผ่าตัดแก้ไข ส่วนใหญ่จะทำเมื่อทารกอายุ 1-2 ปี ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื่อง การอักเสบของหู การได้ยิน การเจริญเติบโตของฟันที่ผิดปกติ และความล่าช้าในการออกเสียงหรือการใช้ภาษา ซึ่งหากมารดามีความเข้าใจและเห็นประโยชน์ของนมแม่ มารดาจะตั้งใจและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ปากแหว่งเพดานโหว่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.