คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การเจ็บหัวนมจากท่อน้ำนมอุดตัน

IMG_1170?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่ท่อน้ำนมอุดตัน จะมีการขังของน้ำนมในท่อน้ำนมและก่อให้เกิดการเจ็บหัวนมและเต้านมได้ การขังของน้ำนม อาจคลำได้เป็นก้อนหรือเป็นลำตามท่อน้ำนม ซึ่งหากมีการติดเชื้อร่วมด้วย จะทำให้เกิดเต้านมอักเสบ รวมทั้งอาจเกิดฝีที่เต้านม ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ท่อน้ำนมอุดตันมักจะเกิดจากการระบายน้ำนมที่ไม่ดี โดยทั่วไปการให้ทารกดูดนมจะสามารถระบายน้ำนมจากเต้าได้ดีกว่าการบีบน้ำนมหรือการปั๊มนม ดังนั้น การป้องกันการเจ็บหัวนมจากท่อน้ำนมอุดตัน หลักที่สำคัญ คือ การให้ทารกดูดนมจากเต้าเพื่อระบายน้ำนมให้บ่อยและระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมของเต้านมให้ทั่วถึง ซึ่งอาจจะทำได้โดยให้ทารกดูดนมในท่าที่แตกต่างกัน จะกระตุ้นดูดน้ำนมในท่อน้ำนมที่ต่างกัน ร่วมกับการบีบนวดเต้านมในแต่ละฝั่งของเต้านมให้ทั่วถึง ขณะให้ลูกดูดนม เพื่อระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมให้ทั่วทั้งเต้า สิ่งนี้จะลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามมาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การเจ็บหัวนมจากหัวนมไวต่อการกระตุ้น

IMG_1096

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การที่หัวนมเจ็บจากการที่รับความรู้สึกไวต่อการกระตุ้นเพียงแผ่วเบา (allodynia) ซึ่งจะไม่รู้สึกเจ็บปวดในคนทั่วไปนั้น อาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดร่วมกับโรคบางอย่าง ได้แก่ irritable bowel syndrome, fibromyalgia ไมเกรน และอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ หรืออาจเกิดร่วมกับโรคทางด้านจิตใจ ได้แก่ โรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า ดังนั้น หากเกิดขึ้นในระหว่างการให้นมลูก บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องซักประวัติของอาการ โรคประจำตัว และสังเกตถึงภาวะจิตใจของมารดาในระหว่างนั้นด้วย ซึ่งการลดหรือรักษาสาเหตุที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบางครั้งอาจต้องใช้การรักษาทางด้านจิตวิทยา มีรายงานว่า ช่วยรักษาอาการได้ในผู้ที่มีอาการเจ็บหัวนมจากสาเหตุนี้เรื้อรัง

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การเจ็บหัวนมจากหัวนมขาดเลือด

IMG_1084

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? สาเหตุของการเกิดการเจ็บหัวนมจากหัวนมขาดเลือด ฟังจากอาการแล้ว อาจไม่เข้าใจหรือมีสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร การเจ็บหัวนมจากหัวนมขาดเลือดเกิดจากการหดรัดตัวของเส้นเลือดที่หัวนม (vasospasm) ซึ่งทำให้เกิดการขาดเลือดชั่วคราว ทำให้สีของหัวนมซีดจากการขาดเลือดไปเลี้ยง การตอบสนองของระบบประสาทจะทำให้เกิดอาการปวดจี๊ด หรือปวดแปลบขึ้นทันทีที่หัวนม มารดาบางคนอาจมีประวัติการตอบสนองไวต่ออาการเย็น เช่น มือเท้าเย็นต้องใส่ถุงเท้านอน หรือปวดเจ็บที่หัวนมหลังจากอาบน้ำเมื่อหัวนมเปียกชื้น อาการเหล่านี้สามารถพบร่วมกับมารดาที่มีโรคประจำตัวเป็น connective tissue disease ซึ่งจะพบอาการของ Raynaud?s phenomenon ที่เป็นอาการของเส้นเลือดหดรัดตัวและทำให้เกิดอาการปวดจากการขาดเลือดได้ โดยทั่วไป การป้องกันทำได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศเย็นที่หัวนม โดยสวมเสื้อผ้าที่อุ่น เช็ดตัวและหัวนมให้แห้งหลังอาบน้ำหรือให้นมลูก และหากมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้อง ควรรักษาโรคประจำตัวให้อาการอยู่ในระยะที่ควบคุมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การติดเชื้อไวรัสที่หัวนมในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1078

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การติดเชื้อไวรัสที่หัวนม อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาที่พบระหว่างให้นมลูกได้ โดยการติดเชื้อที่พบคือ Herpes Simplex หรือในภาษาไทยเรียกว่า ?เริม? และ Herpes Zoster หรือในภาษาไทยมักใช้คำที่เรียกที่คุ้นเคยว่า ?งูสวัด? ทั้งสองชนิดนี้เกิดจากเชื้อในกลุ่มเดียวกันที่เมื่อเกิดการติดเชื้อไปแล้ว หลังจากอาการหาย เชื้อจะสามารถหลบซ่อนอยู่ที่ปลายประสาท เมื่อมารดาอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันลดลง เชื้อนี้จะก่อให้เกิดอาการกลับมาใหม่ โดยจะเป็นตุ่มใส คัน หรือมีการอักเสบแดง ตุ่มน้ำอาจจะแตก มีอาการแสบและปวดร้าวไปตามปลายประสาท เชื้อนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกและเกิดอันตรายต่อทารกได้ การติดเชื้อจะติดจากน้ำเหลืองหรือน้ำจากตุ่มใสที่แตกออกมา การหลีกเลี่ยงการให้นมลูกหากบริเวณหัวนมของมารดามีตุ่มหรือมีแผลมีความจำเป็น โดยทารกยังสามารถดูดนมจากเต้านมอีกข้างที่ไม่มีการติดเชื้อได้ และเมื่อแผลแห้ง มารดาสามารถกลับมาให้นมแม่ได้ตามเดิม ส่วนใหญ่อาการของโรคมักหายภายใน10-14 วัน ระหว่างที่หยุดให้ลูกดูดนมในเต้านมข้างที่มีอาการ อาจมีความจำเป็นต้องบีบน้ำนมหรือปั๊มนมออกเพื่อคงการสร้างน้ำนมให้มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับการป้องกันการติดเชื้อนี้ สามารถป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออีสุกอีใสซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดงูสวัดที่ผิวหนังตามมา สำหรับการป้องกันการติดเชื้อเริม เนื่องจากเริมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จากหลายคู่นอนที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การติดเชื้อราที่หัวนมในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1221

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การติดเชื้อราที่หัวนม อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาที่พบระหว่างให้นมลูกได้ โดยการติดเชื้อที่พบคือ Candida นมแม่ไม่ได้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นการตรวจพบเชื้อราในกรณีที่มารดาไม่มีอาการใดๆ อาจไม่บ่งบอกถึงการติดเชื้อรา อย่างไรก็ตาม การเพาะเชื้อราตรวจยังคงใช้ในการวินิจฉัย แม้มีบางรายงานไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอาการเจ็บหัวนมของมารดากับการเพาะเชื้อที่พบเชื้อรา

? ? ? ? ? ? ?การติดเชื้อราที่หัวนม มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • การที่มารดามีประวัติการติดเชื้อราที่เต้านมมาก่อน
  • ทารกมีฝ้าขาวในปากหรือมีการติดเชื้อราในปาก
  • ประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะของมารดาหรือทารกในช่วงระยะเวลาใกล้ๆ กับการเกิดอาการ

? ? ? ? ? ?จากปัจจัยเสี่ยง การป้องกันการติดเชื้อรานั้น ควรหลีกเลี่ยงการยาใช้ปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะไปรบกวนเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นที่อยู่บริเวณผิวหนังที่เต้านมที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อราได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.