คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การใช้ยาต้านซึมเศร้าในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร

IMG_3004

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ในปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจและสังคมทำให้เกิดการแข่งขันร่วมกับคนที่เกิดใน generation Y มักชอบความสบาย ขาดความอดทน สภาวะต่าง ๆ ทางสังคมจึงอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ได้ง่ายขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยที่มีความเครียดหรือภาวะซึมเศร้าสูงขึ้น รวมทั้งในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร การรับประทานต้านอาการซึมเศร้าโดยทั่วไปมักนิยมใช้ยากลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) ซึ่งยาที่นิยมใช้บ่อย ๆ ได้แก่ ยา Fluoxetine หรือชื่อการค้าคือ Prozac ยานี้มีค่าครึ่งชีวิตของยาและสารออกฤทธิ์หลังการรับประทานยา (active metabolite) นาน 5-9 วันในผู้ใหญ่1 โดยหากคำนวณจากหลักของการกำจัดยาออกจากร่างกาย โดยทั่วไปจะต้องใช้เวลาราว 5 เท่าของเวลาครึ่งชีวิตของยา ดังนั้นต้องใช้เวลาเป็นเดือนในการกำจัดยาจนหมดจากร่างกาย สำหรับในทารกแรกเกิด หากได้รับยาขณะตั้งครรภ์ ทารกต้องใช้เวลานานมากกว่าหนึ่งเดือนในการกำจัดยา ด้วยหลักนี้ การเลือกใช้ยาต้านซึมเศร้า หากมารดาสามารถเตรียมความพร้อมได้ก่อนการตั้งครรภ์ ควบคุมอาการซึมเศร้าได้ดี ปรับขนาดยาให้น้อยที่สุด และเลือกใช้ยาตัวทที่มีค่ายาครึ่งชีวิตสั้น จะลดการเกิดอาการข้างเคียงในทารกได้ แต่หากจำเป็นต้องรับประทานยา Fluoxetine ที่มีค่าครึ่งชีวิตของยายาว การเปลี่ยนยาในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงของทารกจากการที่ได้รับยาที่ยังคงอยู่ในทารกได้นานและเสี่ยงจากการได้รับยาเพิ่มขึ้นหลายตัวอีกด้วย จึงควรชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีข้อเสียของการใช้ยาที่ควรมีการเตรียมความพร้อม หากสตรีมีความจำเป็นรับประทานยาเป็นประจำและเตรียมตัวสำหรับการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

เอกสารอ้างอิง

  1. Anderson PO. The Pregnancy-Breastfeeding Interface. Breastfeed Med 2017;12:2-4.

 

การใช้ยา monoclonal antibody ในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร

IMG_5808

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? Monoclonal antibody ปัจจุบันเป็นยากลุ่มหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคเรื้อรังหลายโรค ได้แก่ โรคปวดข้อจากรูมาตอยด์ และโรค irritable bowel syndrome ซึ่ง monoclonal antibody เป็นยาที่สร้างในลักษณะของเสมือนสารที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยจะคล้ายกับ Ig G มีการศึกษาการใช้ monoclonal antibody ในระหว่างการตั้งครรภ์ พบว่า monoclonal antibody สามารถผ่านรกไปยังทารกในระหว่างการตั้งครรภ์เริ่มในไตรมาสที่สองและเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่สาม หากมีการคลอดของทารกก่อนกำหนด ยา monoclonal antibody จะอยู่ในทารกเป็นเวลานาน เนื่องจากร่างกายทารกจะกำจัดยาได้น้อย1 ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้เลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้หรือหยุดใช้ในช่วงไตรมาสที่สองต่อไตรมาสที่สาม ซึ่งมีรายงานว่าแม้จะหยุดยากลุ่มนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวก็ไม่ได้มีผลเพิ่มการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่

? ? ? ? ? ? สำหรับการใช้ยากลุ่มนี้ในระหว่างให้นมบุตรค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากยาผ่านน้ำนมน้อย และการผ่านน้ำนมจะเข้าสู่ทางเดินอาหารที่ไม่ได้เป็นบริเวณที่ยาจะออกฤทธิ์ ดังนั้นจึงแนะนำว่าสามารถใช้ยา monoclonal antibody ในช่วงให้นมบุตรได้ โดยยังไม่พบว่ามีรายงานการเกิดผลเสียใด ๆ ในระหว่างการใช้ยา

เอกสารอ้างอิง

  1. Anderson PO. The Pregnancy-Breastfeeding Interface. Breastfeed Med 2017;12:2-4.

การให้ลูกกินนมบ่อยช่วยลดอาการตัวเหลือง

IMG_1226

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? อาการตัวเหลืองที่พบในทารกแรกมีสาเหตุได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การที่หมู่เลือดของแม่ไม่เข้ากับลูก ภาวะขาดเอนไซม์ G6PD ภาวะติดเชื้อ และที่พบได้บ่อยคือ การที่ทารกกินนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งในสาเหตุที่ทารกกินนมแม่ไม่เพียงพอนั้น หากมารดาได้รับการกระตุ้นให้ลูกดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกภายในหนึ่งชั่วโมงหลังคลอดจะช่วยให้น้ำนมมาเร็ว การให้นมแม่บ่อย ๆ วันละ 8-12 ครั้ง จะป้องกันการเกิดภาวะน้ำหนักลดลงมากในทารกแรกเกิด ช่วยให้ทารกขับถ่ายได้ดี ซึ่งการขับถ่ายบ่อย ๆ จะช่วยลดสารที่ทำให้เกิดอาการเหลืองในทารกได้1 ดังนั้น การวางแผนการให้นมลูกหลังคลอด ควรดูแลให้มีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็ว ให้นมลูกบ่อยและมีการติดตามตรวจน้ำหนักทารกเป็นระยะ ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดทารกแรกเกิดตัวเหลืองได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Boskabadi H, Zakerihamidi M. The correlation between Frequency and Duration of Breastfeeding and the Severity of Neonatal Hyperbilirubinemia. J Matern Fetal Neonatal Med 2017:1-14.

 

Case study 54

img_2187

Case study 54

การเจ็บหัวนมจากน้ำนมมามาก

IMG_1180

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การที่น้ำนมมามาก จะมีการขังของน้ำนมเต็มในท่อน้ำนมและก่อให้เกิดการเจ็บหัวนมและเต้านมได้ มารดาอาจรู้สึกตึงคัดที่เต้านมมาก หากคลำที่เต้านมจะพบว่ามีการตึง อุ่นหรือร้อนที่เต้านม หัวนมจะสั้นลง ลานนมจะแน่นและตึงแข็งไปด้วยการขังของน้ำนม เมื่อเป็นเช่นนี้ ทารกจะดูดนมได้ลำบาก เนื่องจากการอมหัวนมและลานนมอาจทำได้ไม่ลึกพอ ทารกจึงออกแรงกดหรือดูดที่หัวนมซึ่งทำให้มารดาเจ็บหัวนม หรืออาจจะเกิดจากการที่น้ำนมมีมาก ไหลเร็ว ทารกต้องควบคุมการไหลที่เร็วเกินไปของน้ำนมโดยการออกแรงขบหรือกัดหัวนม ทำให้มารดาเจ็บหัวนมได้เช่นกัน การจะลดการเจ็บหัวนมอาจทำได้โดยการบีบน้ำนมออกด้วยมือก่อนการให้นมลูก ซึ่งจะทำให้น้ำนมไม่ไหลแรงจนเกินไป ลานนมนิ่มขึ้นและช่วยให้ทารกสามารถอมหัวนมและลานนมได้ลึกขึ้น บุคลากรทางการแพทย์จึงควรมีการประเมินหัวนม เต้านม และปริมาณน้ำนมก่อนการให้ทารกกินนมเสมอ เพื่อการเลือกปฏิบัติและดูแลการให้นมให้มีความเหมาะสม ทารกอมหัวนมและลานนมได้ดี และมีท่าในการกินนมแม่ที่ดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.