คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรกินปลามากน้อยแค่ไหน3

IMG_1219

?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ชนิดของปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากมีการปนเปื้อนปริมาณสารปรอทสูง ได้แก่

  • King mackerel
  • Marlin
  • Orange roughy
  • Shark
  • Swordfish
  • Tilefish (Gulf of Mexico)
  • Tuna, bigeye

? อย่างไรก็ตาม ในข้อแนะนำในการรับประทานชนิดของปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเล ควรเลือกให้มีความหลากหลาย ไม่ควรรับประทานซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน สำหรับชนิดของปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลในประเทศไทยยังขาดการสำรวจและเผยแพร่แนะนำการปฏิบัติสู่สาธารณะ การนำข้อมูลชนิดของอาหารในสหรัฐอเมริกามาใช้กับประเทศไทยอาจมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน จึงอาจนำมาใช้ในแนวทางการพัฒนาความรู้สู่สาธารณะในอนาคตต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. ข้อมูลจาก http://www.fda.gov/Food/FoodborneIllnessContaminants/Metals/ucmhtm

สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรกินปลามากน้อยแค่ไหน2

IMG_3214

?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ชนิดของปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลที่สามารถกินได้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยแต่ละครั้งรับประทานครั้งละประมาณหนึ่งผ่ามือของผู้ใหญ่ (ขนาดเท่ากับ 4 ออนซ์) ได้แก่

  • Bluefish
  • Buffalofish
  • Carp
  • Chilean sea bass/Patagonian toothfish
  • Grouper
  • Halibut
  • Mahi mahi/dolphinfish
  • Monkfish
  • Rockfish
  • Sablefish
  • Sheepshead
  • Snapper
  • Spanish mackerel
  • Striped bass (ocean)
  • Tilefish (Atlantic Ocean)
  • Tuna, albacore/white tuna, canned and fresh/frozen
  • Tuna, yellowfin
  • White croaker/Pacific croaker

เอกสารอ้างอิง

  1. ข้อมูลจาก http://www.fda.gov/Food/FoodborneIllnessContaminants/Metals/ucmhtm

สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรกินปลามากน้อยแค่ไหน1

IMG_3240

?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?อาหารจำพวกปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลมีโปรตีนและสารอาหารหลายอย่างที่เหมาะสมที่ช่วยในการบำรุงครรภ์และมีการแนะนำให้รับประทานในสตรีที่ให้นมบุตร แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องความวิตกกังวลการปนเปื้อนของสารปรอทที่จะพบได้ในปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลแต่ละชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกามีการให้ข้อมูลแนะนำการรับประทานปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลในแต่ละชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยรายละเอียดของการแนะนำมีดังนี้

? ? ? ? ? ? ? ? ชนิดของปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลที่สามารถกินได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งรับประทานครั้งละประมาณหนึ่งผ่ามือของผู้ใหญ่ (ขนาดเท่ากับ 4 ออนซ์) ได้แก่

  • Anchovy
  • Atlantic croaker
  • Atlantic mackerel
  • Black sea bass
  • Butterfish
  • Catfish
  • Clam
  • Cod
  • Crab
  • Crawfish
  • Flounder
  • Haddock
  • Hake
  • Herring
  • Lobster, American and spiny
  • Mullet
  • Oyster
  • Pacific chub mackerel
  • Perch, freshwater and ocean
  • Pickerel
  • Plaice
  • Pollock
  • Salmon
  • Sardine
  • Scallop
  • Shad
  • Shrimp
  • Skate
  • Smelt
  • Sole
  • Squid
  • Tilapia
  • Trout, freshwater
  • Tuna, canned light (includes skipjack)
  • Whitefish
  • Whiting

เอกสารอ้างอิง

  1. ข้อมูลจาก http://www.fda.gov/Food/FoodborneIllnessContaminants/Metals/ucmhtm

การให้นมลูกลดความเครียดและอาการซึมเศร้าของมารดาได้

IMG_1208

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ขณะที่มารดาให้นมลูก จะมีการกระตุ้นฮอร์โมนที่สำคัญสองตัว ได้แก่ ออกซิโตซิน และโปรแลคติน ฮอร์โมนโปรแลคตินจะช่วยในการสร้างน้ำนม ขณะที่ฮอร์โมนออกซิโตซินจะช่วยในการหลั่งน้ำนม นอกจากนี้ ฮอร์โมนออกซิโตซินยังออกฤทธิ์ลดความเครียดและช่วยลดอาการซึมเศร้าของมารดาได้ มีการศึกษาโดยการตรวจระดับฮอร์โมนออกซิโตซินพบว่า ในขณะที่ให้นมลูกและหลังให้นมลูกราวครึ่งชั่วโมง ฮอร์โมนออกซิโตซินจะมีระดับที่สูงขึ้น เมื่อใช้แบบทดสอบวัดค่าความเครียดของมารดาพบว่าลดลงสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนออกซิโตซิน1 ดังนั้น จากการศึกษานี้น่าจะช่วยอธิบายการที่มารดาให้นมลูกแล้วช่วยป้องกันหรือลดการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ ซึ่งฮอร์โมนออกซิโตซินนี้ ทางการแพทย์ถือว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งมารดาจะมีฮอร์โมนหลั่งจากการกระตุ้นดูดนมของลูก ส่งผ่านความรักจากแม่ผ่านน้ำนมสู่ลูก ขณะเดียวกันในทางกลับกัน มารดาก็ได้รับความสุขจากการผ่อนคลายความตึงเครียดที่ได้จากการได้รับการกระตุ้นจากการดูดนมของลูกซึ่งช่วยกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความรักนี้ให้กับมารดา ดังนั้น จึงสมชื่อกับฮอร์โมนแห่งความรักที่ให้ประโยชน์กับทั้งแม่และลูก

เอกสารอ้างอิง

  1. Niwayama R, Nishitani S, Takamura T, et al. Oxytocin Mediates a Calming Effect on Postpartum Mood in Primiparous Mothers. Breastfeed Med 2017.

การใช้ยาคลายเครียดหรือยานอนหลับในระหว่างการให้นมบุตร

IMG_3367

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ยาคลายเครียดหรือยาในกลุ่มที่ช่วยให้นอนหลับมีการใช้เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ยาในกลุ่มนี้จะผ่านไปสู่ทารกในครรภ์และทารกที่กินนมแม่ได้ โดยในระหว่างตั้งครรภ์ ยาจะมีผลทำให้ทารกหลับ การดิ้นของทารกจะน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ในขณะที่การใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาในกลุ่มนี้ แนะนำให้เลือกใช้ยาที่มีค่าครึ่งชีวิตของยาสั้น ยาจะออกฤทธิ์เร็วและหมดฤทธิ์ได้เร็ว ควรใช้ยา oxazepam? และยา lorazepam มากกว่ายาที่มีค่าครึ่งชีวิตของยาที่ยาว คือ diazepam ยา chlordiazepoxide และยา clonazepam1 และควรให้นมบุตรก่อนการรับประทานยา จากนั้นการให้นมครั้งต่อไปจะห่างจากช่วงที่กินยาราว 2-3 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ปริมาณยาที่พบในน้ำนมน้อยลงและทารกได้รับยาน้อยลงด้วย ทำให้ลดอาการง่วงซึมของทารกที่อาจทำให้ทารกกินนมน้อยลงได้ อย่างไรก็ตาม หากมารดาสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยาได้ ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยอาจใช้การบำบัดทางจิตวิทยา พฤติกรรมบำบัด การฝึกทำจิตใจ ทำสมาธิ หรือการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นรูปแบบของการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกก็เป็นทางออกหนึ่งในการดูแลรักษาภาวะเครียดหรือวิตกกังวลในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Anderson PO. The Pregnancy-Breastfeeding Interface. Breastfeed Med 2017;12:2-4.