คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

ดัชนีมวลกายของมารดาส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_3742

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทั่วไป การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกตัวโต คลอดยาก เพิ่มการผ่าตัดคลอด การตกเลือดหลังคลอดและการติดเชื้อ ซึ่งกระทบต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเจ็บแผลจากการคลอดและการมาของน้ำนมที่ช้า ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า อันส่งผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอายุของมารดา ลำดับครรภ์ และการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้ากว่า 12 ชั่วโมงมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายที่มากด้วย1 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์แนะนำการควบคุมให้มารดามีดัชนีมวลกายเป็นปกติได้ก่อนตั้งครรภ์ก็จะเป็นการเตรียมพร้อมของการตั้งครรภ์และการคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Ozenoglu A, Sokulmez Kaya P, Asal Ulus C, Alakus K. The Relationship of Knowledge and Breastfeeding Practice to Maternal BMI. Ecol Food Nutr 2017:1-19.

 

การจัดการให้ความรู้แก่มารดาช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_2945

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ในกระบวนการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในการช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นอย่างดี เนื่องจากการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัว หากให้ในช่วงที่พอเหมาะและเน้นให้มารดาและครอบครัวมีความเข้าใจและเห็นถึงความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งหากมารดามีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว จะทำให้มีทัศนคติที่ดีและมีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งนี้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติของมารดาเพิ่มอัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาทบทวนเพื่อศึกษาถึงความสำคัญของการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดา พบว่า การให้ความรู้แก่มารดาเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นสองเท่า1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรจัดระบบสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเน้นการให้ความรู้ทั้งในระหว่างการฝากครรภ์ การคลอดและหลังคลอด รวมทั้งการสร้างระบบเพื่อติดตามในกรณีที่มารดามีความเสี่ยงสูง จะทำให้ภาพรวมของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Oliveira IB, Leal LP, Coriolano-Marinus MW, Santos AH, Horta BL, Pontes CM. Meta-analysis of the effectiveness of educational interventions for breastfeeding promotion directed to the woman and her social network. J Adv Nurs 2017;73:323-35.

 

การใช้ยา dexmedetomidine ในการดมยาสลบผ่าตัดคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3517

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ยาที่ใช้ในระหว่างการดมยาสลบในการผ่าตัดคลอดมีหลายชนิด ยา dexmedetomidine เป็นทางเลือกหนึ่งในการทำให้มารดาง่วงและหลับ แต่มีความกังวลเรื่องผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากหากมีการผ่านของยาไปในน้ำนม อาจมีผลต่อการกดการหายใจของทารกได้ มีการศึกษาถึงปริมาณยาหลังจากมารดาได้รับในระหว่างผ่าตัดคลอด พบว่า จะตรวจพบยาในน้ำนมได้ในช่วง 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดคลอด หลังจากนั้นจะตรวจไม่พบยาในน้ำนม1 ดังนั้น หากมีการใช้ยานี้ในระหว่างการผ่าตัดคลอด การเฝ้าระวังในทารกก็เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติในวันแรกหลังผ่าตัดคลอด อย่างไรก็ตาม หากหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ยาอื่นที่ออกฤทธิ์เร็ว ค่าครึ่งชีวิตของยาสั้นและถูกกำจัดได้เร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก จะสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Nakanishi R, Yoshimura M, Suno M, et al. Detection of dexmedetomidine in human breast milk using liquid chromatography-tandem mass spectrometry: Application to a study of drug safety in breastfeeding after Cesarean section. J Chromatogr B Analyt Technol Biomed Life Sci 2017;1040:208-13.

 

แพทย์ เป้าหมายใหญ่ของผู้ให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่

IMG_3738

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? แพทย์ ยังคงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการที่จะเป็นผู้นำและผู้ให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ แต่ข้อมูลในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แพทย์จะขาดความรู้ ไม่มั่นใจ ทำให้ไม่ได้ให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ ทั้ง ๆ ที่การพูดของแพทย์ จะได้รับความเชื่อถือจากมารดาและครอบครัว และจะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การจัดการอบรมให้ความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มแพทย์พร้อมให้ประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความชำนาญ จึงยังเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะช่วยชีวิตทารกราว 800000 คนต่อปีที่เสียชีวิตจากการไม่ได้กินนมแม่ ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวทั่วโลกจากร้อยละ 38 เป็นร้อยละ 50 ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ. 20251

เอกสารอ้างอิง

  1. Norman M. Breastfeeding and outcome. Acta Paediatr 2017;106:516.

การให้คำปรึกษาที่มุ่งเป้าช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3534

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การให้คำปรึกษาที่มุ่งเป้าหมายชัดเจนสามารถช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ มีการศึกษาถึงการให้คำปรึกษาเฉพาะเรื่องในกลุ่มมารดาหลังคลอดที่กลับบ้านเร็ว พบว่า มารดารับการให้คำปรึกษา มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อเพิ่มขึ้น มีการให้ลูกกินนมแม่บ่อยขึ้น สามีให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น ทารกต้องการการรักษาเรื่องอาการตัวเหลืองน้อยลง และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเพิ่มขึ้น1 สิ่งนี้สะท้อนว่า การให้คำปรึกษาอาจต้องมีความจำเพาะและเลือกเรื่องที่จำเป็นที่จะสื่อสารให้ชัด หากให้อย่างไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนและเนื้อหามากเกินไป ผู้รับคำปรึกษาอาจไม่สนใจและไม่สามารถรับสารได้ครบถ้วน ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการให้คำปรึกษา

เอกสารอ้างอิง

  1. Nilsson IM, Strandberg-Larsen K, Knight CH, Hansen AV, Kronborg H. Focused breastfeeding counselling improves short- and long-term success in an early-discharge setting: A cluster-randomized study. Matern Child Nutr 2017.