คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางสื่อโทรทัศน์

IMG_2938

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? สื่อทางโทรทัศน์ในปัจจุบันยังคงเป็นสื่อที่มีความสำคัญ แม้ในยุคดิจิทัลที่มีการใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นก็ตาม เนื่องจากสื่อทางโทรทัศน์ยังเป็นสื่อที่เข้าถึงง่ายและประชาชนมีความคุ้นเคยกับสื่อชนิดนี้มานาน การรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีความพยายามจะเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย มีการสื่อสารรณรงค์ที่หลากหลาย แต่ยังมีความจำกัดในสื่อทางโทรทัศน์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาและออกอากาศมีค่าใช้จ่ายที่สูง อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาในประเทศเวียดนามที่มีการลงทุนโฆษณาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว พบว่า สามารถเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้ 1.3-3.3 เท่า1 คิดแล้ว หากเป็นการลงทุนการเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพและสุขภาพที่ดี โดยการเริ่มต้นจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก็น่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่รัฐบาลน่าจะนำไปศึกษาและวางแผนในการพัฒนาชาติ

เอกสารอ้างอิง

  1. Nguyen TT, Alayon S, Jimerson A, et al. The Association of a Large-Scale Television Campaign With Exclusive Breastfeeding Prevalence in Vietnam. Am J Public Health 2017;107:312-8.

การให้ลูกกินนมแม่ลดการตายของทารกจากมลพิษควันจากการทำอาหาร

IMG_2941

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การหุงหาอาหาร หากบริเวณพื้นที่ที่ทำอาหารหรือครัวไม่โปร่ง อากาศระบายได้ไม่ดี จะมีมลพิษควันที่เกิดจากการทำอาหารที่จะก่อผลเสีย ทำให้ทารกในบ้านเจ็บป่วย และเพิ่มอัตราการชีวิตของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีได้ มีการศึกษาในประเทศปากีสถานพบว่า มลพิษควันจากการทำอาหารในบ้าน ทำให้ทารกในบ้านเจ็บป่วยจากโรคทางเดินหายใจ ปอดบวม และเสียชีวิตมากกว่าการที่มีครัวแยกจากตัวบ้าน นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตของทารกจะมากกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งผลนี้สอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาที่พบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดการเจ็บป่วยในโรคทางเดินหายใจ ดังนั้น ในปัจจุบันที่สถานที่ในเมืองคับแคบ การทำครัวในพื้นที่จำกัดเช่นคอนโดมิเนียม หากทำให้เกิดควันหรือมลพิษในห้องที่นอนหรือห้องที่เลี้ยงทารก อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ การดูแลเรื่องการระบายอากาศที่ดีในกรณีที่ต้องทำครัวในห้องพัก จึงควรมีการให้ความสำคัญ เพราะอากาศที่ดีที่เราหายใจเข้าไปเป็นพื้นฐานของสุขภาพทั้งทารกและผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในที่พักนั้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Naz S, Page A, Agho KE. Household air pollution from use of cooking fuel and under-five mortality: The role of breastfeeding status and kitchen location in Pakistan. PLoS One 2017;12:e0173256.

การให้ลูกนอนเตียงเดียวกันส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร

IMG_2920

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้ลูกนอนเตียงเดียวกันส่งผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากมารดาจะสังเกตเห็นอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวได้อย่างสะดวก และตอบสนองโดยการให้ลูกกินนมแม่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่นานขึ้น อย่างไรก็ตาม สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้มารดาและทารกนอนห้องเดียวกัน1 เนื่องจากมีความวิตกกังวลเรื่องการเกิดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดเฉียบพลันจากการขาดอากาศหายใจ ซึ่งพบมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากมารดาและทารกนอนเตียงเดียวกัน วามเสี่ยงจะสูงขึ้นในมารดาที่อายุน้อย ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ นอกจากนี้ หากบนเตียงมีหมอนหรือผ้าห่มที่นิ่มเกินไป หรือมีช่องหรือซอกหลืบที่ทารกจะตกลงไปและเกิดอันตรายได้จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเลือกที่จะให้ทารกนอนเตียงเดียวกันกับมารดาเพื่อประโยชน์ในการสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวได้ดีนั้น สามารถทำได้โดยหากมีพื้นที่ที่ปลอดภัยที่จะนอนร่วมกัน ในประเทศไทย การนอนบนพื้นที่ราบเรียบยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่ ซึ่งหากมารดานอนบนพื้นอยู่ใกล้กับทารกจะได้ผลประโยชน์เช่นเดียวกันกับการที่นอนร่วมเตียงเดียวกันโดยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายแก่ทารกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Moon RY, Mathews A, Joyner BL, Oden RP, He J, McCarter R, Jr. Impact of a Randomized Controlled Trial to Reduce Bedsharing on Breastfeeding Rates and Duration for African-American Infants. J Community Health 2017.

แม่กินอาหารรสเค็มมากอาจมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_2942

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? โดยทั่วไป หากมารดารับประทานอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะ ค่าของเกลือแร่ที่อยู่ในน้ำนมจะคงที่ไม่มีความผิดปกติ แต่ในกรณีที่มารดาเจ็บป่วยรุนแรง ร่างกายขาดน้ำรุนแรง จนเกิดภาวะเกลือโซเดียมในกระแสเลือดสูง (hypernatremia) จะส่งผลทำให้เกลือโซเดียมในน้ำนมสูง และทำให้เกิดภาวะเกลือโซเดียมในทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวสูงได้1 อย่างไรก็ตาม สภาวะเหล่านี้มักเกิดเมื่อมารดามีอาการเจ็บป่วยรุนแรง ซึ่งเมื่อมารดามีอาการรุนแรง อ่อนเปลี้ย สับสน หรือมีอาการชักเกร็ง ปกติแล้ว มารดาจะไม่สามารถให้นมได้อยู่แล้ว ดังนั้น ความกังวลว่าหากมารดามีภาวะเกลือโซเดียมสูงที่จะส่งผลเสียต่อทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว จึงมีโอกาสเกิดได้น้อยในภาวะปกติ แต่ในกรณีที่มารดากินอาหารเค็มมากอย่างต่อเนื่องหรือกินผงชูรสที่มีปริมาณเกลือโซเดียมอยู่ด้วยมากกว่าปกติ ก็ควรระมัดระวังว่าอาจทำให้เกิดภาวะเกลือโซเดียมในทารกสูงได้ โดยเฉพาะในทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะตัวเหลืองเพิ่มขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Mujawar NS, Jaiswal AN. Hypernatremia in the Neonate: Neonatal Hypernatremia and Hypernatremic Dehydration in Neonates Receiving Exclusive Breastfeeding. Indian J Crit Care Med 2017;21:30-3.

รูปแบบการให้บริการที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3711

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? การให้ความรู้ให้มารดาเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เมื่อมารดาตั้งครรภ์ในระหว่างการฝากครรภ์ควรมีการจัดระบบหรือรูปแบบการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก การให้คำปรึกษา หากทำได้ ควรจัดให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่มารดาต้องเผชิญในแต่ละระยะ และอาจต้องเพิ่มในมารดาบางคนที่มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันหรือมีลักษณะเฉพาะ การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มมักให้ความรู้ในลักษณะทั่ว ๆ ไปไม่จำเพาะ ดังนั้นในมารดาที่มีความเสี่ยงที่เฉพาะ อาจต้องพิจารณาแยกให้คำปรึกษารายคน โดยการให้คำปรึกษาที่มารดาสามารถพูดคุยตอบโต้ซักถามผู้ให้คำปรึกษาได้ผลดีกว่าการเปิดสื่อวิดีโอ สำหรับช่วงเวลาที่ให้คำปรึกษาควรมีการจัดเป็นระยะทั้งก่อนและหลังคลอดราว 4-8 ครั้ง เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ ฝึกทักษะหรือได้รับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลา1

เอกสารอ้างอิง

  1. McFadden A, Gavine A, Renfrew MJ, et al. Support for healthy breastfeeding mothers with healthy term babies. Cochrane Database Syst Rev 2017;2:CD001141.