คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

นมแม่ ช่วยเรื่องหัวใจของทารกที่เจริญเติบโตช้าในครรภ์

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์คือ การที่ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตช้า ซึ่งทารกเหล่านี้ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น มีการศึกษาการให้ทารกที่เจริญเติบโตช้าในครรภ์กินนมแม่และดูแลเรื่องอาหารตามวัยสำหรับทารกพบว่า การกินนมแม่นานมากกว่าหกเดือนช่วยให้การทำงานของหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้นในเด็กที่อายุ 4-5 ปี1 จะเห็นว่าในสภาวะปัจจุบัน ความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดพบเพิ่มมากขึ้นจากลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและขาดการออกกำลังกาย ดังนั้น หากช่วยเหลือทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ให้มีต้นทุนของระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ดีขึ้นได้ สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน และคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้เพิ่มเติมด้านอื่นๆ จากการกินนมแม่ ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานที่ธรรมชาติสร้างมาสำหรับมนุษย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Rodriguez-Lopez M, Osorio L, Acosta-Rojas R, et al. Influence of breastfeeding and postnatal nutrition on cardiovascular remodeling induced by fetal growth restriction. Pediatr Res 2016;79:100-6.

?

?

?

ทารกท้องเสีย ต้องหยุดกินนมแม่หรือไม่

image

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป เมื่อมีอาการท้องเสีย มักได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกินนม เนื่องจากน้ำย่อยน้ำตาลในน้ำนมที่ผลิตจากผนังลำไส้จะลดปริมาณลง ทำให้การย่อยเกิดได้ไม่ดี จึงอาจมีการขับถ่ายมากขึ้นได้ แต่ในทารกที่กินนมแม่กลับไม่มีอาการท้องเสียเพิ่มขึ้น อาจเนื่องจากนมแม่มีสารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้และยังมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดา นอกจากนี้ นมแม่ยังจะช่วยเรื่องภาวะขาดน้ำในทารกที่มีอาการท้องเสียได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องหยุดกินนมแม่ในทารกที่มีอาการท้องเสีย1,2

เอกสารอ้างอิง

  1. Pantenburg B, Ochoa TJ, Ecker L, Ruiz J. Feeding of young children during diarrhea: caregivers’ intended practices and perceptions. Am J Trop Med Hyg 2014;91:555-62.
  2. Guarino A, Ashkenazi S, Gendrel D, et al. European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition/European Society for Pediatric Infectious Diseases evidence-based guidelines for the management of acute gastroenteritis in children in Europe: update 2014. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2014;59:132-52.

?

 

 

มารดาเป็นไข้เลือดออก ทารกกินนมแม่ได้หรือไม่

IMG_9419

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การติดต่อจะผ่านพาหะคือยุงลาย ไม่มีการติดต่อผ่านสารคัดหลั่งหรือการสัมผัส ดังนั้นมารดาที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก หากไม่มีอาการรุนแรง มีไข้สูงหรือป่วยหนัก สามารถให้นมบุตรได้ ยังไม่มีข้อมูลรายงานการติดเชื้อไข้เลือดออกผ่านการให้นม อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มารดามีไข้สูงจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือดและอาจผ่านน้ำนมได้ ในระหว่างมารดามีไข้สูงจึงแนะนำการงดนมชั่วคราว แต่หากมารดามีน้ำนมที่มารดาปั๊มหรือบีบเก็บไว้ก่อน สามารถนำมาให้ได้ โดยในระหว่างการงดให้นมชั่วคราว มารดาควรกระตุ้นเต้านมโดยการบีบหรือปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เต้านมคงการสร้างน้ำนมต่อไปได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Maternal infectious diseases, antimicrobial therapy or immunizations: Very few contraindications to breastfeeding. Paediatr Child Health 2006;11:489-91.

?

?

 

การเจ็บเต้านมในระยะแรกหลังคลอด

image

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การที่มารดามีอาการเจ็บเต้านมในระยะแรกหลังคลอด สิ่งผิดปกติที่มักพบได้บ่อย ได้แก่ การมีท่อน้ำนมอุดตัน (plugged duct) ซึ่งมารดาอาจคลำได้เป็นก้อนหยุ่นที่เต้านม กดเจ็บ ภาวะนี้จะพบในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอดที่น้ำนมเริ่มมามากขึ้น โดยหากมารดาปฏิบัติตัวหรือดูแลเต้านมไม่เหมาะสม ปล่อยให้มีการตึงหรือค้างของน้ำนมอยู่ในเต้านมมาก มารดาจะมีอาการปวดเต้านม ในกรณีที่มารดาใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในรัดเกินไปอาจเกิดการไหลของน้ำนมในท่อน้ำนมไม่สะดวกอาจนำไปสู่การเกิดท่อน้ำนมอุดตันได้ การดูแลรักษาต้องพยายามให้มีการระบายน้ำนมจากบริเวณท่อน้ำนมที่อุดตัน โดยอาจใช้การนวดเต้านม การประคบน้ำร้อน หรือให้ทารกดูดโดยให้คางของทารกกดบริเวณที่มีก้อนของท่อน้ำนมอุดตัน การเกิดท่อน้ำนมอุดตัน หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะแทรกซ้อนนี้จะรุนแรงเกิดเป็นภาวะเต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมได้

? ? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม การเจ็บเต้านมและหัวนมอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ทารกมีภาวะลิ้นติด การหดรัดตัวของเส้นเลือดที่ผิดปกติที่หัวนม (vasospasm) และการใช้เครื่องปั๊มนม1 ดังนั้น การใส่ใจในเรื่องการเจ็บหัวนมและเต้านมของมารดา การสังเกตมารดาขณะให้นมบุตร และช่วยมารดาในเรื่องการเจ็บหัวนมและเต้านม จะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

 

การเจ็บหัวนมและเต้านมจากการใช้เครื่องปั๊มนม

 

S__38199478

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เครื่องปั๊มนมได้รับการนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากค่านิยมที่ดูเหมือนว่าจะทำให้มารดามีความสะดวกโดยมีที่เครื่องปั๊มนมที่ปั๊มนมได้ทั้งสองข้างและชุดชั้นในที่จะช่วยพยุงหัวปั๊มที่ใช้ประกบกับเต้านม เพื่อให้มารดาสามารถทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ ได้ระหว่างการปั๊มนม อย่างไรก็ตาม แม้เครื่องปั๊มนมจะเพิ่มความสะดวกให้แก่มารดา แต่ก็มีข้อจำกัดและต้องการใส่ใจกับการเลือกซื้อและการใช้เครื่องปั๊มนม โดยการเลือกซื้อขนาดของหัวปั๊มนมที่ใช้ประกบกับเต้านมจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมคือใหญ่กว่าขนาดหัวนมเล็กน้อยเพื่อให้หัวนมสามารถขยับเข้าและออกขณะที่ใช้งานเครื่องปั๊มนม และหากสามารถปรับแรงดูดขณะปั๊มนมได้จะทำให้ลดการเกิดการเจ็บของหัวนมและเต้านมขณะใช้งานเครื่องปั๊มนม มีการศึกษาถึงการบาดเจ็บของหัวนมขณะใช้เครื่องปั๊มนมพบว่า มีมารดาถึงร้อยละ 15 รายงานการบาดเจ็บจากการใช้เครื่องปั๊มนม1 อย่างไรก็ดี เครื่องปั๊มนมที่มีขนาดให้เลือกและปรับแรงดูดขณะปั๊มนมได้ มักมีราคาแพง นอกจากนี้ การดูแลเครื่องปั๊มนมยังมีความจำเป็นต้องดูแลเรื่องความสะอาดตามมาตรฐานการใช้งาน เนื่องจากมีข้อต่อของสายยางต่างๆ ที่ใช้ในการดูดปั๊มนม ซึ่งมารดาต้องศึกษาจากคู่มือการใช้และดูแลเครื่องปั๊มนมของแต่ละบริษัทผู้ผลิต

? ? ? ? ? ?ทางเลือกพื้นฐานในการบีบเก็บน้ำนมที่มารดาจะได้รับการสอนจากบุคลากรทางการแพทย์หลังคลอดก่อนออกจากโรงพยาบาลคือ การบีบน้ำนมด้วยมือ ซึ่งไม่มีอุปกรณ์เสริมใดซับซ้อน ใช้เพียงแก้วหรือถ้วยที่เก็บน้ำนมที่มีใช้อยู่ทั่วไป ซึ่งไม่เสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บของหัวนมและเต้านม น่าจะเหมาะสมกับการเลือกใช้งานในยุคเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Qi Y, Zhang Y, Fein S, Wang C, Loyo-Berrios N. Maternal and breast pump factors associated with breast pump problems and injuries. J Hum Lact 2014;30:62-72; quiz 110-2.