คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

ทารกร้องไห้เสียงดังดีไหม

IMG_1010

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอดใหม่ หากทารกร้องเสียงดัง มักแสดงถึงว่าทารกหายใจได้ดี แต่การที่ทารกร้องไห้ จะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และขณะที่ร้องไห้ทารกจะกลืนอากาศเข้าไปมาก ทำให้เสี่ยงต่อการอาเจียน นอกจากนี้ การที่ทารกร้องไห้ยังลดพลังงานสะสมของร่างกายทารกด้วย? ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ และการเข้าเต้าเพื่อกินนมแม่มีความยากลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจากการร้องไห้เป็นอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวในระยะสุดท้าย เมื่อทารกร้องไห้เป็นเวลานาน ทารกจะเหนื่อยและเพลียหลับ โดยที่การกินนมยังทำไม่ได้เต็มที่ ดังนั้น การให้ทารกกินนมบ่อยๆ ตามความต้องการก่อนที่ทารกจะหิวมากจนร้องไห้ ควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการใช้พลังงานมากโดยไม่จำเป็นและนมแม่ที่ทารกได้รับจะนำไปสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกได้อย่างเต็มที่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

การง่วงนอนของทารก

IMG_9423

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาและบุคลากรทางการแพทย์ควรทราบลักษณะการง่วงนอนที่เป็นลักษณะที่ปกติของทารก โดยทั่วไปหลังการคลอดใหม่ๆ ใน 1-2 ชั่วโมงแรก ทารกจะตื่นตัวและเป็นช่วงที่เหมาะสมที่จะเริ่มให้ทารกดูดนมแม่ แต่หลังจากนั้น ทารกจะง่วงหลับและหลับเป็นเวลานาน การปลุกตื่นจะทำได้ไม่ยาก โดยใช้การกระตุ้นในช่วงสั้นๆ เพียงเล็กน้อย ได้แก่ การคลายผ้าที่ห่อตัวทารกออก การนวดเบาๆ การจัดท่าทารกให้อยู่ในท่าลำตัวตั้งตรง การเปลี่ยนผ้าอ้อม การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อที่หน้าอกของมารดา ทารกก็จะตื่น โดยการตื่นของทารกในระยะแรกหลังคลอดจะตื่นเป็นช่วงสั้นๆ แต่หากมารดาได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม narcotic ระหว่างการคลอด ทารกจะมีการง่วงหลับที่นานกว่า ซึ่งอาจต้องมีการกระตุ้นปลุกทารก หากทารกหลับนานมากกว่า 4 ชั่วโมง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

ตัวอย่างรูปแบบการกินนมของทารก

latching2-1-o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ทารกแต่ละคนจะมีลักษณะหรือรูปแบบการกินนมที่แตกต่างกัน ซึ่งตัวอย่างรูปแบบการกินนมของทารกอาจแบ่งในรายละเอียด ได้ดังนี้

  • แบบจริงจัง (Barracuda) ทารกที่กินนมในลักษณะนี้จะอมหัวนมและลานนมพร้อมกับการดูดนมอย่างเต็มที่ 10-20 นาที
  • แบบขี้หงุดหงิด (Excited) ทารกจะตื่นตัวและควานหาเต้านม แต่จะหงุดหงิด กระวนกระวาย ร้องไห้ เมื่อไม่มีน้ำนม
  • แบบใจเย็น (Procrastinator) ทารกจะคอยจนกระทั่งมีน้ำนมเริ่มไหลมา จึงจะเริ่มดูด แต่เมื่อเริ่มดูดแล้วก็จะดูดได้ดี
  • แบบนักชิม (Gourmet) ทารกลักษณะนี้จะใช้ลิ้นตวัดเลียหยดน้ำนมจากหัวนมก่อน แล้วจึงค่อยๆ เริ่มการดูดนม การเร่งเร้าให้ทารกเข้าเต้าและดูดนมอาจทำให้ทารกต่อต้านได้
  • แบบช่างพัก (Rester) ทารกจะกินนมสองสามนาที แล้วพักอีกสองสามนาที จึงใช้เวลาในการกินนมนมกว่าทารกปกติทั่วไป

? ? ? ? ? ?จากตัวอย่างที่กล่าวมา จะเห็นว่า หากมารดาทราบลักษณะนิสัยของทารกและจัดการให้นมให้สอดคล้องกับรูปแบบการกินของทารก การให้นมก็จะประสบความสำเร็จด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

Hunger Cues คืออะไร

IMG_9387

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? Hunger cues คือลักษณะอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิว ในการให้ลูกกินนมแม่ มารดามักเข้าใจโดยทั่วไปว่า เมื่อลูกร้องคือลูกรู้สึกหิว แต่การร้องเป็นอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวในระยะท้าย ซึ่งหากรอให้ทารกร้อง การทำให้ทารกสงบหรือจะนำทารกเข้าเต้าเพื่อการดูดนมจะทำด้วยความลำบากมากขึ้น การที่ให้มารดาอยู่ร่วมกับทารกตลอด 24 ชั่วโมงจะทำให้มารดาได้มีโอกาสสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวในระยะแรกได้ ได้แก่ การที่ทารกตื่นตัวมากขึ้น ขยับงอแขนขา ขยับปากและลิ้น ส่งเสียงอ้อแอ้ เอามือหรือนิ้วเข้าปาก ดูดมือหรือนิ้ว ซึ่งการนำทารกเข้าเต้าก่อนที่ทารกร้องไห้ จะทำได้ง่ายกว่า ซึ่งทารกจะควบคุมการกินนม โดยหากกินนมเพียงพอแล้ว ทารกอาจจะอมหรือคาบหัวนมและลานนมเฉยๆ ทิ้งระยะนานโดยไม่ดูดนม ผ่อนคลาย และอาจสังเกตเห็นทารกง่วงหลับ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงอาการที่ทารกได้รับนมเพียงพอหรืออิ่ม โดยที่มารดาจะสังเกตได้เช่นกันเมื่อได้ให้นมและอยู่ร่วมกันตลอดเวลา

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

รูปแบบการกินนมแม่ของทารก

00024-5-1-smallรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำถามที่มารดามักมาปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการให้นมลูก ได้แก่ ลักษณะการกินนมของลูกอย่างไรจึงจะเป็นปกติ หรือการให้นมของแม่แก่ลูกที่ปกติเป็นอย่างไร การที่จะอธิบายให้มารดาและครอบครัวเข้าใจจำเป็นต้องทราบหลักการสำคัญในการให้นมแก่ทารก คือ การให้นมตามความต้องการของทารกและให้ทารกกระตุ้นดูดนมให้มีการสร้างน้ำนมที่เพียงพอ
??????????? การให้นมแม่ตามความต้องการของทารก ในช่วงวันแรกถึงวันที่สองหลังคลอด ขนาดกระเพาะทารกยังมีขนาดเล็กความจุใกล้เคียงกับขนาดลูกปิงปอง และค่อยๆ ปรับตัวขยายขนาดเพื่อรับปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ในระยะแรกการที่มารดามีหัวน้ำนมที่มีปริมาณน้อยก็จะสอดคล้องกับความจุของกระเพาะอาหารของทารก จากนั้นเมื่อถึงวันที่สามหลังคลอดน้ำนมของมารดาจะมากขึ้น มีอาการตึงคัดเต้านม ความต้องการน้ำนมของทารกเพิ่มขึ้น ทารกจะดูดนมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทั่วไปนมแม่จะย่อยและดูดซึมได้ง่าย การกินนมของทารกจึงมักกินบ่อยราว 8-12 ครั้งต่อวัน โดยการกินนมในแต่ละเต้าใช้เวลาราว 10-15 นาที อย่างไรก็ตาม จำนวนครั้งและระยะเวลาในการดูดนมของทารกนั้นไม่ได้จำกัดว่าจำเป็นต้องได้ตามกำหนดอย่างนี้ จะขึ้นอยู่กับปริมาณและการไหลของน้ำนมมารดาและการดูดนมทารกในแต่ละคู่มากกว่า ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เริ่มดูดนมข้างที่ดูดไว้ในครั้งก่อนหน้านี้ให้เกลี้ยงเต้าก่อนการเปลี่ยนไปดูดนมจากอีกเต้าหนึ่ง ซึ่งการดูดนมให้เกลี้ยงเต้านี้เป็นกลไกสำหรับในการกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมที่เพียงพอสำหรับทารก

เอกสารอ้างอิง
1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.