คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

น้ำหนักทารกที่ลดลงหลังคลอด เรื่องที่มารดาวิตกกังวล

S__38208113

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอดเมื่อมีการชั่งประเมินน้ำหนักทารกในแต่ละวัน โดยทั่วไปจะพบว่าทารกมีน้ำหนักลดลง เนื่องจากในขณะเกิด การชั่งน้ำหนักทารกหลังคลอด ทารกได้แช่อยู่ในน้ำคร่ำก่อนการชั่ง สัดส่วนน้ำในร่างกายต่อน้ำหนักจะมาก ต่อมาเมื่อมีการระเหยของน้ำจากผิวหนังของทารก และการขับถ่ายที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำหนักทารกลดลง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นปกติใน 2-4 วันแรกหลังคลอด จากนั้นน้ำหนักทารกจึงเริ่มเพิ่มขึ้น และจะเริ่มน้ำหนักเกินน้ำหนักแรกคลอดในวันที่ 10-14 หลังคลอด ดังนั้น หากไม่มีการเตรียมให้มารดาและครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำหนักของทารกที่ลดลงหลังคลอด มารดาอาจถูกกดดันหรือมีความเครียดจากการที่ทารกมีน้ำหนักลดและนำไปสู่การเลือกใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมมารดาตั้งแต่ก่อนการคลอดและทบทวนอีกครั้งในระยะหลังคลอด อย่างไรก็ตาม หากทารกยังมีน้ำหนักต่ำกว่าน้ำหนักแรกเกิดหลังคลอดสองสัปดาห์ ควรมีการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

การดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

S__38208154

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีคำถามว่า บุคลากรทางการแพทย์ต้องเข้าไปดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอดตั้งแต่เมื่อไร คำตอบคือ ต้องเริ่มทันทีหลังคลอด โดยเริ่มการให้ลูกดูดนมแม่ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงแรก ร่วมกับการโอบกอดลูกเนื้อแนบเนื้อต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยมีหลักการที่สำคัญที่ควรต้องปฏิบัติดังนี้

  • กระบวนการใดของการดูแลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรสนับสนุนและกระบวนการหรือขั้นตอนใดที่ขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรหลีกเลี่ยง
  • คัดแยกมารดาที่มีปัญหาน้ำนมไม่พอ เพื่อการให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุ
  • คงให้มารดามีการสร้างน้ำนมอย่างต่อเนื่อง หากมีความจำเป็นต้องแยกทารกจากมารดา
  • ในกรณีที่มารดาและทารกมีปัญหาต่อเนื่อง ควรพิจารณาส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญ

? ? ? ? ? ? ? ?หลักที่สำคัญของการสนับสนุนหลังคลอด คือ เน้นให้เริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก และสนับสนุนให้มารดามีน้ำนมเพียงพอและต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

ข้อแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

S__38208166

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังการประเมินมารดาและทารกจากประวัติและการตรวจร่างกายหลังคลอด บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบแนวทางสำหรับการแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้น ดังนี้

  • แนะนำให้ให้นมทารกตามความต้องการ ซึ่งราว 8-12 ครั้งต่อวัน และให้นมจนเกลี้ยงเต้า
  • ระหว่าง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ทารกบางคนอาจสนใจในการกินนมแม่น้อย โดยอาจเป็นผลมาจากการคลอดที่ลำบาก
  • หากทารกไม่ยอมตื่นกินนม ควรกระตุ้นหรือปลุกทารกตื่นกินนมทุก 4 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก โดยอธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ทบทวนให้มารดาทราบถึงกลไก ขั้นตอนในการให้นมทารก และลักษณะการขับถ่ายที่เป็นปกติ

? ? ? ? ? ? จะเห็นว่า หลักที่สำคัญในการแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ การให้นมทารกตามความต้องการและให้นมให้เกลี้ยงเต้าเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้เพียงพอ

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

สิ่งที่ต้องตรวจในมารดาและทารกหลังคลอดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

S__38208109รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? จากข้อมูลที่ได้จากการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องตรวจมารดาและทารกในรายละเอียดต่อไปนี้

  • ตรวจน้ำหนักทารกและประเมินอายุครรภ์
  • ประเมินพฤติกรรมและความพร้อมของระบบประสาทของทารก
  • คำนวณน้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงหลังการคลอด
  • สังเกตพฤติกรรมมารดาและทารกขณะทารกกินนมแม่
  • ตรวจเต้านมมารดา
  • ตรวจทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของกล้ามเนื้อและความผิดปกติในช่องปาก
  • ประเมินภาวะขาดน้ำของทารก
  • ประเมินภาวะตัวเหลืองของทารก

? ? ? ? ? ? ? จะเห็นว่า หลักที่สำคัญในการตรวจเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องตรวจเต้านม ตรวจช่องปากและการทำงานของกล้ามเนื้อโดยละเอียดเพื่อประเมินความพร้อมในการเข้าเต้า และสังเกตมารดาและทารกขณะกินนมแม่ สิ่งนี้เป็นขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรทำอย่างไร

IMG_0726

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในทางปฏิบัติมีทั้งการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือขาดความครบถ้วนในการให้การดูแล รายละเอียดที่ต้องประเมินสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีดังนี้

  • ทบทวนประวัติฝากครรภ์ ประวัติการคลอด และการดูแลทารกหลังเกิดใหม่
  • พูดคุยกับมารดาถึงเวลาและกระบวนการที่มารดาให้นมลูกครั้งแรกหลังคลอด
  • สอบถามมารดาว่า เคยมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อนหรือไม่
  • มารดาปฏิบัติอย่างไรในการให้นมลูก และรู้สึกอย่างไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ทารกจำเป็นต้องกระตุ้นหรือปลุกให้ตื่นเพื่อกินนมหรือไม่
  • ทารกเข้าเต้าง่ายหรือกระตือรือร้นที่จะกินนมหรือไม่
  • ทารกได้รับการเข้าเต้าเพื่อให้นมกี่ครั้งใน 24-48 ชั่วโมงแรก
  • ทารกได้รับการเสริมด้วยอาหารอื่นใดนอกจากนมแม่หรือไม่
  • จำนวนครั้งในการเปลี่ยนผ้าอ้อมที่เปียกแฉะใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • จำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระของทารกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • มารดารู้สึกสบายในการให้นมหรือมีการเจ็บเต้านมหรือหัวนม
  • มารดารับประทานยาอะไรเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า หากบุคลากรทางการแพทย์ให้การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะความตั้งใจและขั้นตอนในการให้นมลูกซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ จะทำให้มีข้อมูลที่จะให้คำแนะนำมารดาและครอบครัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.