คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การมีประสบการณ์ที่พบเห็นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลทัศนคติของมารดา

img_2202

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การที่สตรีได้มีประสบการณ์การเห็นหรือได้ใกล้ชิดกับมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจเป็นญาติพี่น้อง เพื่อน หรือคนในครอบครัว ส่งผลต่อทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะส่งผลต่อการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น การรณรงค์การช่วยสร้างบรรยากาศที่ทำให้ทุกคนคุ้นเคยกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ทางสื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต แผ่นพับ หนังสือ หรือป้ายที่ติดเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะสร้างกระแสสังคม และวัฒนธรรมนมแม่ ทำให้นมแม่เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานที่แม่จะมอบอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก ค่านิยมนี้จะส่งผลต่อมารดาและคนในสังคม ที่หากพบว่ามารดาไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติหรือแปลก หากเราสร้างสังคมที่มีค่านิยมนมแม่ได้ ก็จะได้ทารกที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพที่ดี มีความเฉลียวฉลาด และมีสุขภาพที่ดีในอนาคต สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ การกำหนดการพัฒนาเรื่องนมแม่ไว้ในแผนพัฒนาประเทศในระยะยาว 20 ปีจึงควรมีการดำเนินการ สร้างแผน ติดตามและประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

เอกสารอ้างอิง

  1. Jefferson UT. Breastfeeding Exposure, Attitudes, and Intentions of African American and Caucasian College Students. J Hum Lact 2017;33:149-56.

ภาวะจิตใจของมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1089

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะจิตใจมีผลต่อร่างกาย ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็เช่นกัน หากมารดามีอาการซึมเศร้า มีความวิตกกังวลในจิตใจ รวมทั้งมีประวัติคู่นอนใช้ความรุนแรงทางเพศ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา1 ซึ่งสะท้อนผลของจิตใจที่กระทบต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติของมารดา หากมารดาได้รับความเข้าใจ การเอาใจใส่ที่ดี และการสนับสนุนของบุคลากรทางการแพทย์ สามี และคนในครอบครัวอย่างเหมาะสม ก็น่าจะช่วยลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าทางด้านจิตใจที่เป็นผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้เพิ่มอัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Islam MJ, Baird K, Mazerolle P, Broidy L. Exploring the influence of psychosocial factors on exclusive breastfeeding in Bangladesh. Arch Womens Ment Health 2017;20:173-88.

การใช้ยาเร่งคลอดมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไหม

IMG_3608

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ขณะที่มารดาเจ็บครรภ์คลอด มาที่โรงพยาบาล และได้รับการดูแลที่ห้องคลอด มีกระบวนการในการดูแลมารดาที่คลอดหลายอย่าง ตั้งแต่ควบคุมการกินอาหารของมารดา โดยมารดาอาจได้รับการให้การงดน้ำงดอาหาร ซึ่งหากเป็นมารดาที่มีความเสี่ยงในการคลอดผิดปกติต่ำ การงดน้ำงดอาหารจะมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เนื่องจากทำให้มารดาอ่อนเพลียและขาดน้ำได้ การให้ยากระตุ้นการหดตัวของมดลูกเพื่อเร่งการคลอดนั้น ส่วนใหญ่มักใช้ยาที่เป็นออกซิโตซินสังเคราะห์ ซึ่งมีการศึกษาไม่พบว่ามีผลต่อการเริ่มต้นและระยะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ได้รับยาเร่งคลอดชนิดนี้กับมารดาที่ไม่ได้รับยา1 อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้ยาอย่างมีเหตุผลและด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากหากใช้ไม่เหมาะสมอาจเพิ่มอัตราการผ่าตัดคลอดและการใช้เครื่องมือหรือหัตถการในการคลอดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Fernandez-Canadas Morillo A, Marin Gabriel MA, Olza Fernandez I, et al. The Relationship of the Administration of Intrapartum Synthetic Oxytocin and Breastfeeding Initiation and Duration Rates. Breastfeed Med 2017.

มารดารู้สึกอย่างไรที่ต้องป้อนนมแม่จากขวด

IMG_3497

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?อุปกรณ์ในการปั๊มนมรวมทั้งขวดนมถือเป็นค่านิยมที่จำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมนมแม่ในปัจจุบัน อาจเป็นด้วยหลายเหตุผล ได้แก่ การเข้าเต้าที่ยากลำบาก การกลับไปทำงานของมารดาหรือการต้องแยกห่างจากทารก ซึ่งมีการศึกษาถึงความรู้สึกของมารดาที่ต้องปั๊มนมป้อนเก็บไว้ป้อนลูก พบว่า แม้ว่ามารดาจะยินดีที่จะปั๊มนมเก็บให้ลูก เนื่องจากอยากให้ลูกได้กินนมแม่ แต่ก็รู้สึกว่าการปั๊มนมเป็นเรื่องที่กินเวลามาก น่าเบื่อ และต้องเสียค่าใช้จ่ายกับเครื่องปั๊ม ทำให้ชนิดของเครื่องปั๊มและขวดนมกลับมามีความสำคัญ ซึ่งเทียบไม่ได้กับการกินนมแม่จากเต้าที่มีความสะดวกและให้ความรู้สึกพึงพอใจมากกว่า1,2 อย่างไรก็ตาม หากยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความลดการพึ่งพาเครื่องปั๊มนมและขวดนม โดยหันมาหาวิธีการดั้งเดิมคือ การบีบน้ำนมด้วยมือ และการป้อนนมทารกด้วยถ้วย ซึ่งทำให้ลูกไม่สับสนในการกินนมจากเต้าและป้อนนมจากถ้วย นอกจากนี้ ลูกยังสามารถคุมการกินนมได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันและลดโรคอ้วนในอนาคตเมื่อทารกเติบโตขึ้น และแม้ว่าการป้อนนมจากขวดนมจะยังได้ประโยชน์จากสารอาหารในนมแม่ แต่อาจจะขาดประโยชน์ในเรื่องการช่วยการพัฒนาการและความเฉลียวฉลาดของทารก ซึ่งได้กินนมจากเต้า มีการกระตุ้นการสัมผัส ในอ้อมกอดที่อบอุ่น มั่นคงและรู้สึกปลอดภัย ร่วมกับการพูดคุยหลอกล้อ สร้างพื้นฐานอารมณ์ที่ดี มีความสัมพันธ์และความรัก การวิจัยในรายละเอียดของผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ควรศึกษาในอนาคตต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Felice JP, Geraghty SR, Quaglieri CW, Yamada R, Wong AJ, Rasmussen KM. “Breastfeeding” without baby: A longitudinal, qualitative investigation of how mothers perceive, feel about, and practice human milk expression. Matern Child Nutr 2017.
  2. Felice JP, Geraghty SR, Quaglieri CW, Yamada R, Wong AJ, Rasmussen KM. “Breastfeeding” but not at the breast: Mothers’ descriptions of providing pumped human milk to their infants via other containers and caregivers. Matern Child Nutr 2017.

 

มารดาที่เป็นทหารอาจจะมีอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3472

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? อาชีพของมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาชีพอิสระ หรือทำงานส่วนตัวมักมีโอกาสที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับลูกได้นานกว่า จึงมักจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่ามารดาที่รับจ้างต้องออกไปทำงานนอกบ้านและต้องอยู่ห่างทารก โดยเฉพาะอาชีพทหารที่มีระเบียบวินัยสูง มารดาต้องรับผิดชอบในหน้าที่ มีความเครียดสูง ร่วมกับบางครั้งต้องเข้าเวรและแยกจากทารกเป็นเวลานาน การจัดสรรเวลาที่จะบีบหรือปั๊มนมเก็บ ทำได้ลำบาก ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมักสั้นกว่า1 ดังนั้น ความเข้าใจและเปิดโอกาสให้มีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้บังคับบัญชาจึงมีความสำคัญ การให้ความรู้และแสดงให้เห็นความสำคัญในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่บุคลากรในสายอาชีพทหารจึงควรได้รับการเอาใจใส่และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Farwell AL. An Integrative Review of Breastfeeding Duration and Influencing Factors Among Women Serving Active Duty in the U.S. Military. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2017.