คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การโอบกอดสัมผัสทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอดช่วยให้ลูกได้กินนมแม่เพิ่มขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หลังคลอด กระบวนการในการเริ่มต้นการกระตุ้นให้น้ำนมมาและเป็นการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กระบวนการแรกคือ การนำทารกมาอยู่บนอกมารดา โอบกอดสัมผัสเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งหลังจากนำทารกมาไว้บนอกมารดาแล้ว ต้องให้เวลาเพื่อให้ทารกได้ปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แตกต่างจากการอยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับใน 9 ขั้นตอน คือ ร้องไห้ ผ่อนคลาย ตื่นตัว ขยับเคลื่อนไหว พัก คืบคลาน คุ้นเคย ดูดนม และหลับ ซึ่งกว่าทารกจะเริ่มดูดนมต้องอยู่บนอกมารดาราว 1 ชั่วโมง ในกระบวนการนี้มีประโยชน์หลายอย่าง โดยช่วยรักษาอุณหภูมิทารกให้คงที่ ป้องกันทารกตัวเย็น ทำให้ทารกผ่อนคลาน และการสัมผัสกระตุ้นระบบการสื่อประสาทของทารกให้เป็นระบบที่ดีที่ช่วยในการพัฒนาการของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น กระตุ้นสายสัมพันธ์ของมารดาและทารก กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนแห่งความรักคือออกซิโทซิน ซึ่งจะช่วยให้การหลั่งน้ำนมเกิดได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็วตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาถึงผลของการโอบกอดสัมผัสทารกเนื้อแนบเนื้อว่ามีผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอดในช่วงสามเดือนหรือไม่ พบว่าทารกที่ได้รับการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงกว่าทารกที่ไม่ได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อในช่วงสามเดือนแรก1 สิ่งนี้บ่งบอกว่า กลไกการโอบกอดเนื้อแนบเนื้ออาจจะช่วยสานสัมพันธ์ของแม่กับลูก ช่วยกระตุ้นน้ำนม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญต่อการที่มารดาที่คงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องและยาวนานยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป ปัจจัยทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลมากขึ้นต่อการตัดสินใจที่จะคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวต่อไปหรือไม่ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่มารดาที่เผชิญคือ การกลับไปทำงานของมารดา ที่ต้องการการให้คำปรึกษาที่เหมาะสมจากบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมให้กับมารดาและบุตร

เอกสารอ้างอิง

  1. Vila-Candel R, Duke K, Soriano-Vidal FJ, Castro-Sanchez E. Effect of Early Skin-to-Skin Mother-Infant Contact in the Maintenance of Exclusive Breastfeeding. J Hum Lact 2017:890334416676469.

 

 

 

 

 

การกินนมแม่ช่วยป้องกันการหยุดหายใจขณะหลับได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การหยุดหายใจขณะหลับนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายอย่าง รวมทั้งการเกิดความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ นอกจากนี้ยังทำให้บุคคลที่มีการหยุดหายใจขณะหลับมีอาการอ่อนเพลีย ขาดสมาธิ และทำงานขาดประสิทธิภาพ ซึ่งการอุบัติการณ์ของการเกิดการหยุดหายใจขณะหลับนั้นพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมาก และในกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายสูงหรือมีภาวะอ้วน มีการศึกษาว่า การให้ทารกได้กินนมแม่จะช่วยให้การพัฒนาการของช่องเพดานปากและช่องทางเดินหายใจในจมูกเจริญเติบโตมีระยะห่างที่ปกติ ทำให้มีผลในการป้องกันการเกิดการหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งจะแตกต่างจากทารกที่กินนมจากขวด การพัฒนาการของช่องเพดานปากและทางเดินหายใจในจมูกจะลดลง ทำให้ทารกหายใจทางช่องปาก และมีโอกาสที่จะพบการหยุดหายใจขณะหลับสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบทารกที่กินนมขวดมีช่องคอหอยแคบกว่า ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดการหยุดหายใจขณะหลับเมื่อทารกเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่1

เอกสารอ้างอิง

  1. Vinha PP, de Mello-Filho FV. Evidence of a Preventive Effect of Breastfeeding on Obstructive Sleep Apnea in Children and Adults. J Hum Lact 2017;33:448-53.

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือ Multiple sclerosis เป็นโรคที่พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ โดยอาการที่พบจะมีอาการของการอักเสบของเส้นประสาทหรือการเสื่อมของเส้นประสาทซึ่งเป็นผลจากภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านตนเอง ได้แก่ ความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น การเสียสมดุลในการทรงตัว อาจพบมีการเดินที่ผิดปกติ อ่อนเพลีย?เวียนศีรษะ?เหนื่อย หมดแรง การควบคุมกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ?กล้ามเนื้อเกร็ง มีอาการสั่น?มีความผิดปกติในการพูด การกลืน มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง ในระบบสืบพันธุ์อาจพบอาการของการมีบุตรยากหรือพบว่ามีความรู้สึกทางเพศลดลง และพบความเสื่อมของความทรงจำ ซึ่หากมารดาตั้งครรภ์ได้ ในระหว่างการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสที่สาม อาการของโรคมักจะดีขึ้นถึงร้อยละ 70 เนื่องจากการตั้งครรภ์จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน1 แต่หลังคลอดอาการที่กลับมาเป็นเพิ่มเหมือนกับก่อนการตั้งครรภ์ซึ่งต้องมีการใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ การให้นมแม่ในระยะหลังคลอดสามารถทำได้ แต่ปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดที่สำคัญว่าจะพิจารณาให้มารดาให้นมลูกหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและตัวยาที่ต้องเลือกใช้ในขณะที่อาการกำเริบ ซึ่งมารดาควรปรึกษาแพทย์ว่าระหว่างการรักษาด้วยยาแต่ละชนิดมีผลต่อการให้นมลูกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การแม้โรคนี้จะมีปัจจัยในเรื่องพันธุกรรมแต่พบความเสี่ยงที่เกิดในลูกต่ำ และการให้นมแม่นั้นไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้น แต่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากตัวยาที่มารดาได้รับระหว่างการรักษามากกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Voskuhl R, Momtazee C. Pregnancy: Effect on Multiple Sclerosis, Treatment Considerations, and Breastfeeding. Neurotherapeutics 2017.

 

อายุของบิดาที่น้อยเพิ่มโอกาสที่ลูกจะไม่ได้กินนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การสนับสนุนของบิดาถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา ซึ่งหากบิดามีความเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นที่ลูกควรจะกินนมแม่แล้ว การที่จะสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จและให้ลูกได้กินนมแม่ยาวนานเท่าที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่าบิดาที่อายุน้อย คือ อายุ 18-24 ปี หากมีภรรยาตั้งครรภ์โดยไม่ได้มีการเตรียมตัว จะมีความเสี่ยงที่จะพบว่าลูกไม่ได้กินนมแม่สูงกว่าบิดาที่มีความตั้งใจจะมีบุตรถึง 2.3 เท่า1 ดังนั้น ปัจจัยในเรื่องอายุของบิดาที่น้อยจะมีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ของมารดาโดยไม่มีการเตรียมความพร้อมสูง ซึ่งการไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมจะส่งผลต่อการขาดความรู้หรือตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้อาจไม่ได้ให้การสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และท้ายที่สุดก็ทำให้ทารกไม่ได้กินนมแม่ ในกลุ่มที่บิดามีอายุน้อยจึงควรถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจและให้ความสนใจที่จะสร้างความตระหนักรู้และเห็นประโยชน์ของนมแม่จนมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Wallenborn JT, Masho SW, Ratliff S. Paternal Pregnancy Intention and Breastfeeding Duration: Findings from the National Survey of Family Growth. Matern Child Health J 2017;21:554-61.

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การตรวจพบเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ในมารดาถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มารดาอาจพบภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดได้สูงขึ้น โดยความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวานที่พบในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งในมารดาที่พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดจากการตรวจดูที่จอประสาทตา หรือมีความผิดปกติของค่าการกำจัดของเสียในไตแล้ว จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดสูง ซึ่งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก สิ่งเหล่านี้ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดยทำให้มารดาเริ่มต้นการให้นมลูกได้ช้า ซึ่งจะส่งผลต่อการมาของน้ำนมที่ช้า โดยหากขาดการกระตุ้นการดูดนมที่สม่ำเสมอด้วย จะส่งผลต่อปริมาณน้ำนมได้ อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่มีเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ในกลุ่มนี้มีการศึกษาว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคและไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สั้นลง แต่การให้ความรู้ในเรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับมีความสำคัญต่อระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่า1 ดังนั้น การใส่ใจกับการให้ความรู้ให้มารดาและครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่ต้องให้แก่มารดาและครอบครัว เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ว่ามารดาจะมีเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม

เอกสารอ้างอิง

  1. Wallenborn JT, Perera RA, Masho SW. Breastfeeding after Gestational Diabetes: Does Perceived Benefits Mediate the Relationship? J Pregnancy 2017;2017:9581796.