เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

Code กับการตลาดของนมผสม

20140709_breastfeeding_mothers_6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? Code หรือหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เป็นหลักเกณฑ์กลางที่รับรองในประเทศส่วนใหญ่ในโลก มีเกณฑ์การควบคุมติดตามดูแลเน้นในเรื่องการตลาดที่ขาดมโนธรรมของนมผสมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป ค่านิยมในการให้นมแม่ในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดก็เปลี่ยนแปลงตาม ในประเทศจีนที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก มีการเติบโตของตลาดนมผสมสำหรับทารกเกือบร้อยละ 20 ในปี 2556 และเป้าหมายที่คาดหวังว่าจะเติบโตอีก 14 ล้านล้านดอลล่าร์ ในปี 25571 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของตลาดนมผสมคือแม่ที่ต้องทำงาน จะเห็นว่าเมื่อตลาดของนมผสมขยายตัวมาก เป้าหมายผลกำไรเป็นหลักจึงเป็นตัวชี้นำกลไกทางการตลาด การติดตามและการควบคุมดูแลจึงมีความจำเป็น ในประเทศไทย หลายกลุ่มหลายองค์กรให้ความสำคัญและรณรงค์ในเรื่องนี้ ซึ่งส่งเสริมให้มีการออกพระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หวังว่าในประเทศไทยการออกกฎหมายในเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลสิทธิของทารกในการที่จะได้อาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโต พัฒนาการของร่างกายและสมอง

เอกสารอ้างอิง

  1. Kent G. Global infant formula: monitoring and regulating the impacts to protect human health. Int Breastfeed J 2015;10:6.

 

การสื่อสารด้วยจดหมายข่าวในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

nom1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ความรู้ความเข้าใจแก่มารดาในเรื่องความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่จะช่วยให้ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดานานขึ้น รูปแบบการให้ความรู้มีตั้งแต่การให้ในระยะฝากครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด มีการศึกษาถึงการใช้จดหมายข่าวความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวส่งให้กับมารดาในช่วงหลังคลอด พบว่าช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และสามารถลดการเกิดอาการท้องเสียและอาการปอดบวมในทารกได้ ดังนั้น รูปแบบต่างๆ ของการให้ความรู้กับมารดา หากมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่น่าจะช่วยในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

????????? 1. Gabida, M,?Chemhuru M,?Tshimanga M,?Gombe NT,?Takundwa L,?Bangure D. Effect of distribution of educational material to mothers on duration and severity of diarrhoea and pneumonia, Midlands Province, Zimbabwe: a cluster randomized controlled trial. International Breastfeeding Journal?2015;10:13.

โรคซนสมาธิสั้นกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

latch5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โรคซนสมาธิสั้น ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Attention deficit/hyperactivity disorder หรือ ADHD เด็กจะมีอาการซุกซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และสมาธิสั้น พบได้ราวร้อยละ 5-10 ในเด็กวัยเรียน ซึ่งเมื่อมีการศึกษาย้อนหลังเปรียบเทียบเด็กกลุ่มนี้กับเด็กปกติพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่า โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยในพัฒนาการทางด้านร่างกาย สมอง และระบบประสาท ดั้งนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจมีผลในด้านการป้องกันการเกิดโรคซนสมาธิสั้นในวัยเด็กได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Mimouni-Bloch A, Kachevanskaya A, Mimouni FB, Shuper A, Raveh E, Linder N. Breastfeeding may protect from developing attention-deficit/hyperactivity disorder. Breastfeed Med 2013;8:363-7.

 

การให้นมแม่กับการให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดา

101019213

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การที่ทารกนอนอยู่ใกล้กับมารดาตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอดและการให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดามีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากมารดาสามารถจะลุกขึ้นมาให้นมแม่ได้อย่างสะดวกและสามารถสังเกตอาการหิวของทารกได้ดีกว่า ทำให้สามารถให้นมแม่ได้ตามความต้องการของทารก อย่างไรก็ตาม หากมารดาเหนื่อยล้า มารดาที่ดื่มเหล้าหรือใช้สารเสพติด การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกับมารดาอาจเกิดอันตรายได้โดยเฉพาะการให้ทารกนอนร่วมกับมารดาบนโซฟา1 ซึ่งในปัจจุบันข้อแนะนำของสมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาจะแนะนำไม่ให้ทารกนอนร่วมกับมารดาบนโซฟา เนื่องจากสิ่งแวดล้อมในการนอนของทารกบนโซฟาจะทำให้ทารกเกิดอันตรายได้ โดยไม่ได้ห้ามทารกในการนอนร่วมเตียงกับมารดาในภาวะปกติที่ไม่มีความเสี่ยง ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรทราบข้อมูลเหล่านี้ เพื่อการแนะนำมารดาและครอบครัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bartick M, Smith LJ. Speaking out on safe sleep: evidence-based infant sleep recommendations. Breastfeed Med 2014;9:417-22.

 

การให้นมลูกกับอาการวัยทอง

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในมารดาหลังคลอดที่ให้นมลูกจะพบอาการคล้ายกับสตรีในวัยทองได้ คือ อาการร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้งได้ อาการเหล่านี้เชื่อว่าเกิดจากลักษณะของการตอบสนองต่อปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำลงในช่วงหลังคลอด ซึ่งการเกิดช่องคลอดแห้งพบได้บ่อยกว่าในมารดาที่ให้นมแม่มากกว่ามารดาที่ให้นมผสม1 หากมารดาจะมีเพศสัมพันธ์การใช้เจลหล่อลื่นจะช่วยลดการเจ็บช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ อาการเหล่านี้ไม่เป็นอันตราย โดยจะลดน้อยลงและหายไปเมื่อมารดาหยุดให้นมบุตร

เอกสารอ้างอิง

  1. Agarwal SK, Kim J, Korst LM, Hughes CL. Application of the estrogen threshold hypothesis to the physiologic hypoestrogenemia of lactation. Breastfeed Med 2015;10:77-83.