เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

บุคลากรทางการแพทย์กับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

DSC01075

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในด้านการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่มารดาอยู่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด จนกระทั่งมารดาและทารกได้กลับไปอยู่บ้านที่อยู่ในชุมชน มีการติดตามการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยอาจร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งประเด็นสำคัญคือ บุคลากรเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้และทัศนคติในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดหลักสูตรสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกได้แก่ หลักสูตรการอบรมผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมงควรได้รับการอบรมให้ครบถ้วนในบุคลากรของโรงพยาบาล เพื่อการให้คำปรึกษา คำแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปด้วยความเหมาะสม นอกเหนือจากนี้การจัดอบรมเพื่อปรับทัศนคติในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลักสูตรการอบรมนมแม่โดยใช้กระบวนการเป็นเกณฑ์ (process-oriented training in breastfeeding) ซึ่งจะมีการบรรยาย การฝึกประสบการณ์ การตอบสนองและการแก้ปัญหาต่างๆ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มีความสามารถมากขึ้นในการช่วยมารดาที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีขึ้น 1

เอกสารอ้างอิง

  1. Blixt I, Martensson LB, Ekstrom AC. Process-oriented training in breastfeeding for health professionals decreases women’s experiences of breastfeeding challenges. Int Breastfeed J 2014;9:15.

 

 

 

การผ่าตัดเสริมเต้านมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

01_136_4-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในปัจจุบัน ค่านิยมในเรื่องการผ่าตัดเสริมสวยมีมากขึ้น รวมถึงการผ่าตัดเสริมเต้านม ซึ่งเมื่อสตรีมีบุตรและให้นมลูกจะมีข้อสงสัยว่าจะให้นมแม่ได้หรือไม่ การผ่าตัดเสริมเต้านมในปัจจุบันจะผ่าตัดโดยซ่อนแผลผ่าตัดไว้ที่รักแร้และใช้กล้องช่วยในการผ่าตัดใส่อุปกรณ์เสริมเต้านมเข้าไป การผ่าตัดลักษณะนี้จะรบกวนท่อและต่อมน้ำนมน้อยกว่าการผ่าตัดในอดีต มารดาที่ผ่าตัดเสริมเต้านมยังสามารถให้นมแม่ได้ อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า ในมารดาที่ผ่าตัดเสริมเต้านมมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวน้อยกว่าสตรีทั่วไป 0.6 เท่า (95%CI 0.4-0.9)1 ดังนั้นในภาพรวมการผ่าตัดเสริมเต้านมอาจส่งผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Schiff M, Algert CS, Ampt A, Sywak MS, Roberts CL. The impact of cosmetic breast implants on breastfeeding: a systematic review and meta-analysis. Int Breastfeed J 2014;9:17.

 

อาสาสมัครสาธารณสุขกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_20140528_105730

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือ อสม. มีบทบาทสำคัญในการร่วมดูแลสุขภาพของคนในชุมชนรวมทั้งการเยี่ยมมารดาหลังคลอด ระหว่างการเยี่ยมมารดาหลังคลอด หากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ให้ความรู้ ช่วยแก้ปัญหา และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในชุมชนนั้นสูงขึ้นได้ มีการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่าในพื้นที่ที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้และทัศนคติที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูง จะมีการเยี่ยมบ้านและแนะนำสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูง รวมถึงอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในพื้นที่นั้นสูงสองคล้องกับข้อมูลของความรู้และทัศนคติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้วย ดังนั้น การจัดอบรมอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้านให้มีความรู้ และทัศนคติที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรทำและส่งเสริมให้มีความต่อเนื่องเพื่อเพิ่มสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในด้านการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การรณรงค์การให้นมแม่ในที่สาธารณะ

1017078_432279606879616_435840912_n-2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้นมแม่ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญและปกติสำหรับมารดา แต่ในแต่ละสังคมการให้นมแม่ในที่สาธารณะอาจทำให้มารดารู้สึกไม่สบายใจ เขินอาย และถูกมองว่าแปลกแยกหรือแตกต่าง1 สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการสร้างค่านิยมใหม่ว่า? ?การให้นมแม่เป็นเรื่องปกติที่มารดาทุกคนควรทำและสามารถทำได้ทุกที่รวมทั้งในที่สาธารณะ? อย่างไรก็ตาม การสร้างค่านิยมหรือวัฒนธรรมใหม่ต้องใช้เวลา รูปแบบต่างๆ ที่นำมาช่วยในการสร้างความสบายใจให้แก่มารดาคือ การใช้ผ้าคลุมอกขณะให้นมทารก การมีมุมนมแม่ตามสถานที่สาธารณะ? ห้างสรรพสินค้า ซึ่งหวังว่า คนรุ่นใหม่จะช่วยกันรณรงค์หรือสร้างค่านิยมใหม่ให้ ?มารดาสามารถให้นมแม่ได้ทุกที่ทุกเวลา?

เอกสารอ้างอิง

  1. Amir LH. Breastfeeding in public: “You can do it?”. Int Breastfeed J 2014;9:187.

 

ความปลอดภัยของอาหารสำหรับทารกแรกเกิด

breastmilk3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่ถือเป็นมาตรฐานของอาหารทารกแรกเกิดที่ยังมีอาหารใดมาเทียบได้ อย่างไรก็ตาม สภาพสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป การใช้ทางเลือกอื่นๆ จึงมีมากขึ้น ได้แก่ การใช้นมผสม การรับบริจาคนมแม่ การเกิดธนาคารนมแม่ รวมถึงอนาคตที่อาจเกิดนมแม่สำเร็จรูป1 จากการเกิดเหตุการณ์ปนเปื้อนของเมลามีนในนมผสมในประเทศจีนในปี พ.ศ. 2551 ที่ทำให้เกิดการตายของทารก 6 รายและทารกป่วยมากกว่า 300000 รายเป็นอุทาหรณ์ในอดีตที่ผ่านมา2 ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงว่า ความปลอดภัยของอาหารสำหรับทารก ควรต้องมีระบบและกลไกในการควบคุมดูแล ในผลิตภัณฑ์บางอย่างจะมีองค์การอาหารและยาเป็นผู้ดูแล แต่ในหลายผลิตภัณฑ์หรือวิธีการที่ใหม่ยังขาดระบบและกลไกในการควบคุมดูแล ซึ่งในอนาคตคงต้องมีการวางมาตรฐานต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาการในรูปแบบต่างๆ ของอาหารทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Smith JP. Markets, breastfeeding and trade in mothers’ milk. Int Breastfeed J 2015;10:9.
  2. Salmon L. Food security for infants and young children: an opportunity for breastfeeding policy? Int Breastfeed J 2015;10:7.