รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกกัญชาเพื่อการค้ามากขึ้นและการตื่นตัวในการใช้กัญชาทางการแพทย์สูงขึ้น จึงมีโอกาสที่จะพบการใช้กัญชาในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกเพิ่มขึ้นด้วย มีการศึกษาในประเทศแคนาดาที่มีการเปิดเสรีในการปลูกกัญชาพบการใช้กัญชาในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกเพิ่มขึ้น ทั้ง ๆ ที่มารดาส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 รับรู้ว่าการใช้กัญชาในระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์และให้นมลูกจะเกิดผลเสียต่อทารกได้ โดยพบมีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท ระบบประสาท และการพัฒนาการของการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติได้ แต่ก็ยังพบมารดาถึงร้อยละ 4 ที่ยังมีการใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมลูก1 การศึกษาถึงเหตุผลว่าทำไมมารดาจึงยังคงมีการใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมลูกจึงมีความจำเป็น เพื่อที่จะเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาการใช้กัญชาในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกที่เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอันตรายที่จะเกิดกับทารกจากการใช้กัญชาในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก
เอกสารอ้างอิง
1. Bartlett K, Kaarid K, Gervais N,
et al. Pregnant Canadians’ Perceptions About the Transmission of Cannabis in
Pregnancy and While Breastfeeding and the Impact of Information From Health
Care Providers on Discontinuation of Use. J Obstet Gynaecol Can 2020.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
สังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจากสภาวะเดิมที่เป็นอยู่ (disruption) จากดิจิทัลเทคโนโลยีเกิดขึ้นในวงการต่าง ๆ ได้แก่ วงการสื่อ วงการแพทย์ และวงการอาหาร โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างภาวะเครียดให้แก่คนในสังคม ซึ่งส่งผลต่อการมีการใช้ความรุนแรง มีการใช้อำนาจหรือกลั่นแกล้งต่อบุคคลที่อ่อนแอหรือด้อยกว่า (bully) ทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ในกลุ่มบุคคลที่อ่อนแอ รวมทั้งในมารดาที่ให้นมลูก มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงต่อมารดาที่ให้นมลูกพบว่า มารดาในกลุ่มที่ทำการศึกษาที่ได้รับการกระทำรุนแรงจากสามีทั้งหมดจำนวน 21 คน มีมารดาเพียงคนเดียวที่สามารถให้นมลูกอย่างเดียวได้จนถึง 6 เดือน1 ดังนั้น การจัดตั้งหรือวางแนวการดูแลมารดาที่ได้รับการถูกกระทำความรุนแรง และการพัฒนาเครือข่ายที่จะรองรับปัญหาในเรื่องนี้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นหนทางอีกหนทางหนึ่งในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
1. Baraldi NG, Lettiere-Viana A,
Carlos DM, Salim NR, Pimentel DTR, Stefanello J. The meaning of the social
support network for women in situations of violence and breastfeeding. Rev Lat
Am Enfermagem 2020;28:e3316.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วนก่อนการตั้งครรภ์จะส่งผลในการเพิ่มภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งในระยะของการตั้งครรภ์ การคลอด รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมีการศึกษาพบว่า การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ซึ่งจะพบดัชนีมวลกายของมารดายิ่งสูงจะยิ่งมีความสัมพันธ์กับการลดลงของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น โดยพบว่า มารดาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะมีโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอดน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 49 มี ในระยะหลังคลอด จะมีการเริ่มต้นการให้ลูกกินนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละร้อยละ 42 และมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนออกจากโรงพยาบาลน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละร้อยละ 431 จึงควรถือว่ามารดาที่มีน้ำหนักมากหรืออ้วนเป็นภาวะเสี่ยงอย่างหนึ่งในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้การดูแลและให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวอย่างใกล้ชิด
เอกสารอ้างอิง
1. Ballesta-Castillejos A,
Gomez-Salgado J, Rodriguez-Almagro J, Ortiz-Esquinas I, Hernandez-Martinez A.
Relationship between maternal body mass index with the onset of breastfeeding
and its associated problems: an online survey. Int Breastfeed J 2020;15:55.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ในระยะหลังคลอด จะมีการแนะนำให้มารดาอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง โดยทารกควรนอนใกล้ชิดกับมารดาในระยะที่สังเกตได้ เพื่อที่มารดาจะได้ดูแล สังเกตอาการต่าง ๆ ของทารก รวมทั้งลักษณะของทารกที่จะบ่งบอกถึงอาการหิวและความต้องการในการกินนมแม่ ซึ่งหากมารดาอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง มารดาจะสังเกตลักษณะการแสดงออกถึงความต้องการของทารกได้ ทำให้มารดาสามารถจะให้นมแม่ได้ตามความต้องการของทารก เข้าใจทารกและดูแลเรื่องการขับถ่ายของทารกได้อย่างเหมาะสม มีการศึกษาพบว่าการที่ทารกนอนใกล้กับมารดาโดยนอนร่วมเตียงเดียวกับมารดาพบว่าจะเพิ่มโอกาสที่มารดาจะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่นานขึ้น1 อย่างไรก็ตาม การนอนร่วมเตียงเดียวกับมารดาจำเป็นต้องมีการดูแลเรื่องความปลอดภัยของทารกจากการตกไปขอบหรือข้างเตียงหรือมีการเบียดทับจากมารดา ซึ่งความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นในมารดาวัยรุ่น มารดาที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือติดยาเสพติด ดังนั้น การแนะนำให้ทารกมีความใกล้ชิดกับมารดาควรมีการแนะนำอย่างเหมาะสมตามข้อมูลที่มีความแตกต่างกันของมารดาและทารกในแต่ละคู่
เอกสารอ้างอิง
1. Bailey C, Tawia S, McGuire E.
Breastfeeding Duration and Infant Sleep Location in a Cohort of Volunteer
Breastfeeding Counselors. J Hum Lact 2020;36:354-64.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
ในระยะหลังคลอด มารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของทางร่างกายและระดับฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อจิตใจและภาวะเครียดที่ต้องการการปรับตัวรับการทำหน้าที่แม่ที่ต้องให้นมลูก และยังมีหน้าที่ภรรยาที่ต้องดูแลและจัดการงานในบ้าน ภาวะเครียดที่เกิดขึ้นนั้นจะมีผลลบต่อความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และส่งผลเสียต่อความต่อเนื่องของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่า หากมีการดูแลและจัดการลดภาวะเครียดของมารดาที่ให้นมลูก จะช่วยเรื่องความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา และช่วยให้มารดามีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องได้ดีขึ้น1 ดังนั้น นอกจากการที่บุคลากรทางการแพทย์จะดูแลปัญหาทางด้านร่างกายของมารดาในช่วงที่ให้นมลูกแล้ว ยังต้องใส่ใจในการดูแลใส่ใจปัญหาทางด้านจิตใจและสังคมที่ส่งผลต่อภาวะเครียดของมารดา ซึ่งก็คือควรให้การดูแลแบบองค์รวม (holistic approach) นั่นเอง
เอกสารอ้างอิง
1. Azizi E, Maleki A, Mazloomzadeh
S, Pirzeh R. Effect of Stress Management Counseling on Self-Efficacy and
Continuity of Exclusive Breastfeeding. Breastfeed Med 2020;15:501-8.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)