มารดาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน หลังคลอดจะเริ่มให้นมลูกได้ช้ากว่า

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วนก่อนการตั้งครรภ์จะส่งผลในการเพิ่มภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งในระยะของการตั้งครรภ์ การคลอด รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมีการศึกษาพบว่า การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ซึ่งจะพบดัชนีมวลกายของมารดายิ่งสูงจะยิ่งมีความสัมพันธ์กับการลดลงของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น โดยพบว่า มารดาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะมีโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอดน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 49 มี ในระยะหลังคลอด จะมีการเริ่มต้นการให้ลูกกินนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละร้อยละ 42 และมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนออกจากโรงพยาบาลน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละร้อยละ 431 จึงควรถือว่ามารดาที่มีน้ำหนักมากหรืออ้วนเป็นภาวะเสี่ยงอย่างหนึ่งในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้การดูแลและให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวอย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

1.        Ballesta-Castillejos A, Gomez-Salgado J, Rodriguez-Almagro J, Ortiz-Esquinas I, Hernandez-Martinez A. Relationship between maternal body mass index with the onset of breastfeeding and its associated problems: an online survey. Int Breastfeed J 2020;15:55.