โรคหัดกับนมแม่

img_2191

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? โรคหัดเป็นไข้ออกผื่นที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการของผู้ป่วยจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ตาแดง ไอ มีจุดขาวขอบแดงในช่องปาก (Koplik?s spot) โดยทั่วไปอาการมักไม่รุนแรง แต่หากมีติดเชื้อในทารกแรกเกิดหรือผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนได้ สำหรับการติดเชื้อในทารกแรกเกิด หากเกิดจากการติดเชื้อของมารดาในระยะที่คลอดหรือหลังคลอดใหม่ ทารกจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงและมีความรุนแรง เนื่องจากทารกมีภูมิคุ้มกันต่ำ จำเป็นต้องมีการให้ภูมิคุ้มกัน (immunoglobulin) และวัคซีนแก่ทารก เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงจากอาการของโรค การให้นมลูก จากการศึกษาไม่พบเชื้อในน้ำนมแม่ ดังนั้น การให้นมจากมารดาที่เป็นหัด สามารถให้ได้ แต่หากทารกยังไม่มีอาการ ควรให้ภูมิคุ้มกันและวัคซีนแก่ทารกด้วย โดยในช่วงระยะที่มีไข้ออกผื่น ควรแยกทารกชั่วคราวจนกระทั่งพ้นระยะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไปแล้ว จึงสามารถดูดนมจากเต้าได้ การบีบน้ำนมเก็บให้ทารกระหว่างนี้ สามารถทำได้ เพราะจะมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยต่อต้านการติดเชื้อ (Immunoglobulin A) ในระยะ 2 วันหลังจากมารดามีผื่นขึ้น ในกรณีที่ทารกมีอาการของการติดเชื้อแล้ว ให้ภูมิคุ้มกันและวัคซีนแก่ทารกเช่นเดียวกัน เพื่อลดความรุนแรงของโรค และการให้นมแม่สามารถทำได้1 ?

? ? ? ? อย่างไรก็ตาม อย่าลืมที่จะเอาใจใส่ในการป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรผู้ดูแลมารดาและทารกด้วย สำหรับวัคซีนป้องกันโรคหัดเป็นวัคซีนมาตรฐานที่ให้แก่เด็กทุกคนในปัจจุบัน ซึ่งมารดาควรดูแลให้ทารกได้รับวัคซีนตามมาตรฐานอย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.