โรคคางทูมกับนมแม่

img_2133

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? โรคคางทูมเกิดจากเชื้อไวรัส โดยจะมีอาการอักเสบ บวม และเจ็บของต่อมน้ำลาย อาการของผู้ป่วยจะมีอาการของต่อมน้ำลายอักเสบ บวม เจ็บ ซึ่งต่อมน้ำลายบริเวณด้านข้างใกล้หู หากบวม จะมีลักษณะที่เห็นแก้มบวม ต่อมน้ำลายใต้ลิ้นบวม จะเห็นลักษณะของคางบวม ทำให้ดูลักษณะผู้ป่วยจะมีอาการบวมบริเวณแก้มและใต้คาง จึงมีชื่อว่า ?คางทูม? อาการผู้ป่วยที่เป็นคางทูมมักไม่รุนแรง หากมีการติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก จะมีความเสี่ยงในการเกิดการแท้งของทารกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามารดาที่ติดเชื้อคางทูมระหว่างการตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงในการเกิดการคลอดก่อนกำหนดด้วย ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคคางทูมสามารถผ่านรกและทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกได้ ขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันที่มารดาสร้างขึ้นก็สามารถผ่านรกได้เช่นกัน อาการของการติดเชื้อคางทูมไม่รุนแรง ระยะของการแพร่เชื้อจะเป็นช่วงก่อนการบวมอักเสบของต่อมน้ำลาย 7 วันและหลังจากการบวมแล้วราว 7-9 วัน หากในระหว่างการคลอด เมื่อมารดาคลอดทารกมาแล้วมีอาการคางทูม ทารกจะอยู่ในช่วงที่สัมผัสกับโรคไปแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ในการแยกมารดาและทารก การให้นมแม่สามารถให้ได้ เนื่องจากไม่พบความเสี่ยงของการติดเชื้อคางทูมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับให้ทารกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก แม้ว่าจะมีรายงานการพบเชื้อคางทูมในนมแม่ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งในการที่ลูกได้กินนมแม่ ลูกจะได้รับภูมิคุ้มกันต่อโรคที่แม่สร้างผ่านนมแม่ไปด้วย1 ?เช่นเดียวกัน วัคซีนป้องกันโรคคางทูมเป็นวัคซีนมาตรฐานที่ให้แก่เด็กทุกคนในปัจจุบัน ซึ่งมารดาควรดูแลให้ทารกได้รับวัคซีนตามมาตรฐานอย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อเมื่อเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.