ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในสตรีสูงวัย

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การที่ทารกได้กินนมแม่ประโยชน์นั้นมีทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ซึ่งผลในระยะยาวนั้น จะช่วยในเรื่องการป้องกันโรคอ้วนที่พบในวัยรุ่น ป้องกันเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางเมตาบอลิก และหลอดเลือดหัวใจ สำหรับเรื่องกระดูกและกล้ามเนื้อนั้น การศึกษาที่มียังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน บางรายงานพบว่ามีผลช่วยในเรื่องมวลกระดูก ขณะที่บางรายงานพบว่าเกิดผลเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกบาง อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อย ๆ รวมทั้งผลของระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อของทารกที่เมื่อเจริญเติบโต มีอายุเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งหากสตรีนั้นมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) ก็จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ความเสี่ยงต่อการหกล้ม และมีข้อจำกัดในการปฏิบัติตัวในกิจกรรมที่อาจจะพบความเสี่ยงจากการหกล้มในชีวิตประจำวัน จากการศึกษาที่รายงานออกมาเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในสตรีสูงวัยได้ โดยพบภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยลดลงถึงร้อยละ 731 เมื่อทารกเจริญเข้าสู่วัยสูงอายุ ดังนั้น ผลประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้สตรีสูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในยุคที่สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

เอกสารอ้างอิง

  1. Kim JY, Kim DH, Kim YH, Shin HY. Associations of Breastfeeding Duration and Reproductive Factors with Sarcopenia in Elderly Korean Women: A Cross-Sectional Study from the Korea National Health and Nutrition Examination Survey 2010-2011. Korean J Fam Med 2019.