ภาวะลิ้นติด ปัญหาที่ซ่อนเร้นที่เป็นอุปสรรคในการให้ลูกได้กินนมแม่

               รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                  ภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาที่ยังขาดการดูแลและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้ทารกเหล่านี้ได้กินนมแม่ ภาวะลิ้นติดจะส่งผลให้เกิดการเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี การหยุดนมแม่เร็ว และมีการพบปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่รุนแรงอื่น ๆ ตามมาในทารกที่มีภาวะลิ้นติดเพิ่มขึ้น1  ขนาดของปัญหายังมีการศึกษาน้อย โดยข้อมูลที่มีการศึกษาในประเทศไทยพบภาวะลิ้นติดร้อยละ 13.4 ของการคลอด2 มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-893,4 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-953,5-7  ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 38 และมีคะแนนการเข้าเต้าต่ำกว่าทารกปกติอย่างมีนัยสำคัญ2 โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้า (LATCH score) ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ6,7,9,10 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 163 การผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 656  สำหรับการหยุดนมแม่เร็ว พบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า11 ดังนั้น การมองเห็นปัญหาภาวะลิ้นติดว่าเป็นปัญหาในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการที่ทุกภาคส่วนจะให้การสนใจ ใส่ใจ และช่วยกันสร้างระบบและกลไกในการดูแลปัญหาภาวะลิ้นติดร่วมกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Schlatter SM, Schupp W, Otten JE, et al. The role of tongue-tie in breastfeeding problems-A prospective observational study. Acta Paediatr 2019.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  3. Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.
  4. Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.
  5. Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.
  6. Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.
  7. Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.
  8. Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.
  9. Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.
  10. Srinivasan A, Al Khoury A, Puzhko S, et al. Frenotomy in Infants with Tongue-Tie and Breastfeeding Problems. J Hum Lact 2018:890334418816973.
  11. Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.