ทารกที่มีความผิดปกติของช่องปากจะทำให้การกินนมแม่ยาก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

               ทารกมีความผิดปกติของช่องปาก ได้แก่ ทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่มีผลต่อการเข้าเต้าและการดูดนมของทารก โดยในการดูดนมของทารกต้องมีการสร้างแรงดูดภายในช่องปากของทารก ทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่จะมีปัญหาในการสร้างแรงดูดภายในช่องปากทารก ทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียวจะสร้างแรงดูดได้มากกว่าทารกที่มีปากแหว่งร่วมกับเพดานโหว่ ทารกที่มีเพดาโหว่มักจะมีปัญหาเรื่องการดูดนมเนื่องจากจะไม่สามารถสร้างแรงดูดที่เพียงพอขณะที่ดูดนมได้1 ทารกเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องเหนื่อย ใช้เวลาดูดนมนาน เจริญเติบโตช้าและขาดสารอาหาร2 และมีการเสริมนมผงดัดแปลงสำหรับทารก3  นอกจากนี้ทารกที่มีกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง เช่น ทารกกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) จะพบปัญหาในการสร้างแรงในการดูดนมเช่นกัน จึงต้องการการดูแลเอาใจใส่และให้คำปรึกษาจากทีมสหสาขา เพื่อเพิ่มโอกาสที่ทารกจะได้รับประโยชน์จากการกินนมแม่4,5  สำหรับทารกที่มีคางเล็กหรือลิ้นใหญ่คับปากอาจมีความลำบากในการเข้าเต้าด้วย โดยทำให้ทารกอมหัวนมและลานนมได้ไม่ลึก

เอกสารอ้างอิง

  1. Arosarena OA. Cleft Lip and Palate. Otolaryngologic Clinics of North America 2007;40:27-60.
  2. Boyce JO, Reilly S, Skeat J, Cahir P, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #17: Guidelines for Breastfeeding Infants with Cleft Lip, Cleft Palate, or Cleft Lip and Palate-Revised 2019. Breastfeed Med 2019.
  3. Kaye A, Cattaneo C, Huff HM, Staggs VS. A Pilot Study of Mothers’ Breastfeeding Experiences in Infants With Cleft Lip and/or Palate. Adv Neonatal Care 2019;19:127-37.
  4. Genova L, Cerda J, Correa C, Vergara N, Lizama M. Good health indicators in children with Down syndrome: High frequency of exclusive breastfeeding at 6 months. Rev Chil Pediatr 2018;89:32-41.
  5. Barros da Silva R, Barbieri-Figueiredo MDC, Van Riper M. Breastfeeding Experiences of Mothers of Children with Down Syndrome. Compr Child Adolesc Nurs 2018:1-15.