ผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีต่อโรคเบาหวานในมารดา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การที่มารดาให้นมลูกจะมีผลดีต่อการเผาพลาญอาหารในร่างกายมารดา โดยช่วยลดระดับน้ำตาลหลังจากมารดางดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting glucose)  ลดความต้านทานต่ออินซูลินของเนื้อเยื่อ (insulin resistance)  ลดระดับไขมันในเลือดในมารดาที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงหลังคลอด1,2 ซึ่งพบว่าจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในมารดาที่ให้และไม่ได้ให้นมลูกที่ 3 เดือนหลังคลอด3 สำหรับการช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานในระยะยาวของมารดาที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เมื่อมารดาอายุมากขึ้น ผลที่เกิดนี้อธิบายจากสมมติฐานการตั้งค่าใหม่ (reset hypothesis)4 ที่ร่างกายของมารดาจะมีการตั้งค่าการเผาพลาญอาหารใหม่ขณะที่มีการให้นมลูก ซึ่งการตั้งค่าใหม่นี้จะลดการสะสมไขมัน ลดการผลิตอินซูลิน ลดความต้านทานอินซูลิน (insulin resistance) และลดไขมันในกระแสเลือด ทำให้มารดาลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเมตาบอลิกรวมทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  นอกจากนี้ ในมารดาที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีมาก่อนตั้งครรภ์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังช่วยให้มารดาควบคุมระดับน้ำตาลในช่วงหลังคลอดได้ดีขึ้น5

เอกสารอ้างอิง

  1. Shub A, Miranda M, Georgiou HM, McCarthy EA, Lappas M. The effect of breastfeeding on postpartum glucose tolerance and lipid profiles in women with gestational diabetes mellitus. Int Breastfeed J 2019;14:46.
  2. Yasuhi I, Yamashita H, Maeda K, et al. High-intensity breastfeeding improves insulin sensitivity during early post-partum period in obese women with gestational diabetes. Diabetes Metab Res Rev 2019;35:e3127.
  3. Corrado F, Giunta L, Granese R, et al. Metabolic effects of breastfeeding in women with previous gestational diabetes diagnosed according to the IADPSG criteria. J Matern Fetal Neonatal Med 2019;32:225-8.
  4. Stuebe AM, Rich-Edwards JW. The reset hypothesis: lactation and maternal metabolism. Am J Perinatol 2009;26:81-8.
  5. Nam GE, Han K, Kim DH, et al. Associations between Breastfeeding and Type 2 Diabetes Mellitus and Glycemic Control in Parous Women: A Nationwide, Population-Based Study. Diabetes Metab J 2019;43:236-41.