ความเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้มีความสำคัญ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในมารดาหลังคลอด มารดาที่มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นั้นจะมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานกว่ามารดาที่ขาดความเชื่อมั่นหรือขาดความมั่นใจ ซึ่งมีข้อมูลเชิงประจักษ์แล้วในมารดาที่คลอดทารกครบกำหนด อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในตนเองของมารดาว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนดในระยะที่ใกล้ครบกำหนด ผลที่พบก็เป็นเช่นเดียวกันกับการคลอดทารกที่ครบกำหนดคือ ส่งผลดีต่อระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ยาวนานกว่า1 ความเชื่อมั่นในตนเองของมารดานั้นจะส่งผลต่อการปฏิบัติของมารดาที่เมื่อเผชิญกับอุปสรรคก็จะมีความพยายามที่จะฟันฝ่าจนผ่านพ้นไป ไม่หยุดหรือเลิกล้มโดยง่าย จึงทำให้โอกาสที่มารดาจะมีระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ยาวนานกว่าเพิ่มขึ้น การที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองของมารดานั้นประกอบไปด้วยการที่มารดามีพื้นฐานความเข้าใจเรื่องเต้านม การสร้างน้ำนม การเข้าเต้าและการจัดท่าให้นมลูกและการให้มารดาได้ฝึกฝนปฏิบัติการให้นมแม่จนกระทั่งสร้างความมั่นใจให้แก่มารดาว่าให้นมลูกได้ ดังนั้นหากบุคลากรทางการแพทย์ต้องการจะเสริมสร้างความเชื่อมั่นของมารดา สิ่งที่จำเป็นก็คือ การให้ความรู้พื้นฐานเรื่องเต้านม และฝึกปฏิบัติให้มารดาเข้าเต้าหรือจัดท่าให้นมลูกได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างความเชื่อมั่นของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Gerhardsson E, Hildingsson I, Mattsson E, Funkquist EL. Prospective questionnaire study showed that higher self-efficacy predicted longer exclusive breastfeeding by the mothers of late preterm infants. Acta Paediatr 2018.