ความสำคัญของการใช้ภาษาสื่อสารเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

              การให้ลูกกินนมแม่นั้นต้องถือว่าสิ่งสามัญธรรมดารวมทั้งทางการแพทย์ถือเป็นความปกติทางสรีรวิทยา (physiologically normal) ดังนั้น เมื่อทารกคลอดออกมา มแม่ควรเป็นสิ่งแรกที่เป็นอาหารมาตรฐานสำหรับทารกแรกเกิด และควรปลูกฝังว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ควรถูกใช้ในภาษาสื่อสารที่เป็นทางเลือกที่ต้องเลือกเมื่อทารกเกิด หรือไม่ควรถูกใช้คำว่าเป็นวิธีที่ใช้ทดสอบ (intervention) ในการสื่อสารจากบทความวิจัย1 เพราะการให้ลูกกินนมแม่ถือเป็นวิธีควบคุม (control) หรือวิธีมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบ (gold standard) เนื่องจากอาจสื่อความหมายผิด ๆ ให้แก่มารดาและครอบครัว อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมและค่านิยมที่ถือปฏิบัติสืบมาในแต่ละสังคมรวมทั้งอิทธิพลของค่านิยมการให้ทารกแรกเกิดกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มีความเชื่อว่านมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วน ปลอดภัย และนิยมใช้ในหมู่คนสูงศักดิ์หรือคนรวยที่ยังอาจส่งผลต่อมารดาหรือผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจในการเลือกอาหารสำหรับทารกแรกเกิด การช่วยกันรณรงค์เปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้ภาษาสื่อสารจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่เหมาะสมที่นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Thorley V. Is breastfeeding ‘normal’? Using the right language for breastfeeding. Midwifery 2018;69:39-44.