การกินโฟลิกก่อนและระหว่างตั้งครรภ์อาจป้องกันความผิดปกติหลอดประสาททารกเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                เป็นที่ทราบกันดีว่า การกินโฟลิกก่อนตั้งครรภ์สามเดือนและระหว่างตั้งครรภ์สามเดือนแรกจะช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบหลอดประสาทในทารก (neural tube defect) ได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่มารดาและครอบครัวอาจสับสนในเรื่องจะกินอย่างไรก่อนการตั้งครรภ์ เนื่องจากมักไม่ทราบว่าจะกินโฟลิกอย่างไรให้ก่อนการตั้งครรภ์สามเดือนหรือในสามเดือนของการตั้งครรภ์ นั่นคือมารดาต้องรู้ว่าจะตั้งครรภ์เมื่อไร ในขณะที่ความเป็นจริงนั้นมารดาไม่สามารถกำหนดว่าจะต้องครรภ์ได้เมื่อไร ดังนั้น การแนะนำที่ควรให้แก่มารดาคือ หากมารดาวางแผนจะมีบุตร ควรรับประทานโฟลิก (4 mg) หนึ่งเม็ดวันละครั้ง ซึ่งจะป้องกันทั้งในส่วนมารดาที่ไม่มีและมีประวัติที่มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของระบบหลอดประสาทในทารกอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ  และทำการตรวจทดสอบการตั้งครรภ์เมื่อมีประจำเดือนขาดหรือมีอาการที่สงสัยว่าตั้งครรภ์ร่วมกับไปฝากครรภ์เพื่อให้แพทย์กำหนดระยะเวลาการตั้งครรภ์ที่แน่นอน เพื่อจะได้วางแผนรับประทานโฟลิกได้อย่างเหมาะสม โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า การกินโฟลิกอาจจะช่วยลดการเกิดความผิดปกติของระบบหลอดประสาทในทารกเพศหญิงมากกว่าเพศชาย1 ซึ่งความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์ยังคงต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Zheng X, Pei L, Chen G, Song X, Wu J, Ji Y. Periconceptional Multivitamin Supplementation Containing Folic Acid and Sex Ratio at Birth in a Chinese Population: a Prospective Cohort Study. Paediatr Perinat Epidemiol 2015;29:299-306.