การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 2

IMG_1585

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่พบมีปัญหาภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยที่พบได้บ่อย ได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด และทารกกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) สำหรับขั้นตอนในการดูแลทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ได้แก่?

  • ในระยะฝากครรภ์ หากมารดามีความเสี่ยงต่อการเกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือตรวจวินิจฉัยก่อนการคลอดพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ที่มารดาต้องการดูแลการตั้งครรภ์ต่อ ควรมีการให้คำปรึกษาถึงความจำเป็น ความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ในทารกเหล่านี้ ซึ่งการอธิบายเบื้องต้นให้มารดาเข้าใจถึงปัญหากล้ามเนื้อตึงตัวน้อยในทารกเหล่านี้? มารดาจะเป็นผู้ช่วยอย่างดีในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ในระยะคลอด ให้ความรู้ถึงกระบวนการที่จะช่วยให้ทารกได้กินนมแม่ได้ดีขึ้น โดยการใช้การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและกระตุ้นการดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด โดยควรเริ่มต้นภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การเริ่มต้นควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่เร็วได้เมื่อทารกอยู่ในสภาวะคงที่ และทำในขณะที่มารดาตื่นตัว ไม่ง่วงซึมจากฤทธิ์ของยาสลบหรือยาแก้ปวด
  • ในระยะหลังคลอด ควรมีการประเมินทารกว่ามีความพร้อมในการดูดนมจากเต้านมเองหรือไม่ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประเมิน โดยหากมีความพร้อม จึงจัดท่าและช่วยมารดาขณะให้นม แต่หากทารกยังไม่มีความพร้อม การสอนมารดาให้บีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมอาจมีความจำเป็น และใช้การป้อนนมทารกด้วยถ้วยหรือใช้อุปกรณ์ป้อนนมที่ประกอบด้วยสายยางต่อกับหลอดฉีดยาช่วยในการให้นมทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas J, Marinelli KA, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #16: Breastfeeding the Hypotonic Infant, Revision 2016. Breastfeed Med 2016.