การคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้น

pregnancysquare_after_pregnant_12122012

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? -ไม่มีอายุที่เจาะจงที่ควรจะหยุดนมแม่ นมแม่สามารถสร้างความใกล้ชิดระหว่างมารดาและทารก ป้องกันอาการเจ็บป่วย และยังคงมีคุณค่าทางอาหารที่ดี

-การให้นมแม่ในทารกที่อายุมากขึ้นจะมีประโยชน์ในทารกที่ป่วย เนื่องจากทารกเมื่อไม่สามารถกินอาหารอื่นได้ มักกินนมแม่ได้ นมแม่จะช่วยให้ทารกได้รับสารน้ำและช่วยป้องกันน้ำหนักลดในทารกได้

-การให้ลูกกินนมแม่สามารถบรรเทาอาการปวดหรือเสียใจได้

-ขณะที่ทารกอายุมากขึ้นการให้นมลูกจะแตกต่างจากขณะเป็นทารกแรกเกิด ทารกที่อายุมากขึ้นจะตื่นตัวมากกว่าและถูกดึงดูดโดยสิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมได้ง่ายกว่า เช่น เสียงหรือการเคลื่อนไหวต่างๆ ดังนั้นในการให้นมทารกที่อายุมากขึ้น ควรหาสถานที่สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เพื่อทารกจะได้กินนมแม่ได้เต็มที่

-เด็กที่อายุมากขึ้นอาจจะกินนมแม่วันละ 1-2 ครั้ง หรือในบางคนอาจกินเมื่อปวดหรือเสียใจก็ได้

-มารดาอาจจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อเอาชนะแรงกดดันจากรอบด้าน สถานที่ทำงาน ครอบครัว และตัวเด็กที่โตขึ้น ควรอภิปรายพูดคุยกับมารดาถึงสิ่งที่จะช่วยได้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์เหล่านั้น

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009