คลังเก็บป้ายกำกับ: latch score. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

นมแม่รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

นมแม่เป็นอาหารมาตรฐานสำหรับทารก ด้วยการศึกษาในปัจจุบันแสดงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ของนมแม่ และองค์การอนามัยโลกได้แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนเพื่อให้บรรลุผลถึงการเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพที่ดีและเหมาะสม1 การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความจำเป็นเพื่อบอกแนวโน้มหรือทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามที่มีการแนะนำ บอกความเสี่ยงของมารดาและทารกที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในกลุ่มนี้ต้องการการเอาใจใส่สนับสนุนจากทีมทางการแพทย์ให้สามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ อย่างน้อยหกเดือนหรือต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือมากกว่า อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดและปัจจัยอันหลากหลายที่มีผลในช่วงที่แตกต่างกันของระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีการคิดเกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นหลายเกณฑ์โดยมีเป้าประสงค์ของการประเมินในรายละเอียดที่แตกต่างกัน เกณฑ์ที่ใช้อาจประเมินในทารก หรือประเมินจากทั้งมารดาและทารก ซึ่งเกณฑ์ที่มีการศึกษา วิจัยและใช้ในการให้บริการ ได้แก่

  1. Infant Breastfeeding Assessment Tool (IBFAT)
  2. Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB)
  3. The Mother?Baby Assessment (MBA)
  4. LATCH assessment (LATCH)
  5. Lactation Assessment Tool (LAT)
  6. Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)

ในแต่ละเกณฑ์จะมีรายละเอียดที่ใช้วัด เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงการกินนมแม่ของทารกได้ดีที่สุด คือ การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม2 ซึ่งเกณฑ์นี้จะมีในเกณฑ์การประเมินทุกเกณฑ์ยกเว้นใน infant breastfeeding assessment tool เกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของมารดาและทารก ได้แก่ ?the mother-baby assessment, LATCH assessment และ mother-infant breastfeeding progress tool ส่วนเกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของทารก ได้แก่ infant breastfeeding assessment tool, systematic assessment of the infant at breast และ lactation assessment tool2 รายละเอียดของแต่ละเกณฑ์ติดตามในตอนต่อไป

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.