คลังเก็บป้ายกำกับ: breastfeeding

10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

obgyn

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  • แสดงให้มารดารู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการดูแลให้มีปริมาณน้ำนมเพียงพอหากมีความจำเป็นต้องแยกจากทารก????????? การสอนเรื่องวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องเริ่มจากการสอนการเข้าเต้า โดยสอนเรื่องการเข้าเต้าเริ่มตั้งแต่ สังเกตลักษณะความพร้อมของทารกในการดูดนม ได้แก่ การจ้องมอง การตื่นตัว การตอบสนองต่อการกระตุ้น การดูด การนำมือหรือนิ้วเข้าปาก ลักษณะการส่งเสียงและการร้อง การตอบสนองต่อการกระตุ้นจากเต้านมของทารกโดยการอ้าปากกว้าง ลิ้นอยู่ในลักษณะรูปถ้วย และวางอยู่บริเวณเหงือกด้านล่าง ทารกจะอมหัวนมและส่วนของลานนมยาว 2 เซนติเมตรเข้าไปในปาก จากนั้นดูด ซึ่งจะดูดและหยุดสลับเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ได้ยินเสียงการกลืน สังเกตเห็นนมในปากทารก ทารกอาจจะปลิ้นน้ำนมออกมาขณะเรอ มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการดูดจาก 2 ครั้งต่อวินาทีเป็น 1 ครั้งต่อวินาที เมื่อทารกกินนมอิ่มแล้วจะปล่อยเต้านมออกมาเอง ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น หน้า แขนและมือผ่อนคลาย โดยอาจจะหลับ การจัดท่าทารกและแนวการวางตัวของทารกขณะเข้าเต้า ศีรษะทารกและลำตัวอยู่ระดับเต้านม และอยู่แนวเดียวกับลำตัว ไม่หันไปทางด้านข้าง ก้มหรือเงยจนเกินไป แนวการวางตัวของทารกที่ถูกต้องจะอยู่ในแนวของเส้นสมมุติจากหู ไปไหล่และขอบกระดูกอุ้งเชิงกราน (iliac crest) เมื่อมารดาเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม จะกระตุ้นการดูดนมได้ดี ไม่เจ็บหัวนมหรือเจ็บเต้านมเพียงเล็กน้อยและดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่หากการเข้าเต้าและการดูดไม่เหมาะสมอาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดหัวนมแตก เต้านมอักเสบและเป็นหนองได้ กรณีที่มีความจำเป็นของมารดาที่ต้องกลับไปทำงาน การเรียนรู้เรื่องวิธีการเก็บนมแม่จำเป็น การเก็บนมแม่จากการบีบนมจากเต้านมจะได้ผลในช่วงแรก แต่หากเก็บต่อเนื่องในระยะนานการเก็บด้วยเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพกว่า1
  • ไม่ให้สารอาหารอื่นนอกจากนมแม่ หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการให้สารอาหารอื่นเสริม1 แบ่งเป็น

-ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน (absolute medical indication) สำหรับการให้สารอาหารอื่นเสริมระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ มารดาและทารกแยกจากกัน มารดาเจ็บป่วยรุนแรง ความผิดปกติของทารกในการเมตาบอลิซึม (inborn error of metabolism) ทารกไม่สามารถจะดูดนมจากเต้านมได้เนื่องจากความเจ็บป่วยหรือความพิการ และการที่มารดาได้รับยาบางชนิดที่เป็นข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สัมพัทธ์ (relative medical indication)สำหรับการให้สารอาหารอื่นเสริมระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ไม่มีอาการ ทารกมีภาวะขาดน้ำที่ไม่ดีขึ้นจากการให้นมแม่ น้ำหนักทารกลดลงร้อยละ 8-10 ร่วมกับมีการสร้างน้ำนมช้าเมื่อประเมินที่ 120 ชั่วโมงหลังคลอด การถ่ายอุจจาระน้อยเมื่อประเมินที่ 120 ชั่วโมงหลังคลอด น้ำนมไหลน้อย ภาวะตัวเหลืองของทารกหลังคลอดจากการขาดสารอาหารหรือจากนมแม่ที่ตรวจค่าบิลลิรูบิน (bilirubin) เกิน 18 มีความจำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารแมคโคร (macronutrient) มีประวัติการผ่าตัดเต้านมที่ทำให้มีผลต่อการลำเลียงน้ำนมจากเต้านมสู่หัวนมแม่ และการเจ็บปวดรุนแรงระหว่างให้นมแม่

???????? สำหรับปัญหาที่พบบ่อย แต่เป็นเหตุผลที่ไม่จำเป็นต้องให้สารอาหารอื่นเสริมระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ทารกมีอาการง่วงในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกโดยมีน้ำหนักลดน้อยกว่าร้อยละ 7 ภาวะตัวเหลืองของทารกหลังคลอด 72 ชั่วโมงที่มีค่าบิลลิรูบินน้อยกว่า 18 ร่วมกับน้ำหนักลดน้อยกว่าร้อยละ 7 โดยที่ทารกยังกินได้และถ่ายปกติ ทารกหงุดหงิดในตอนกลางคืนหรือมารดาให้นมแม่เป็นเวลาหลายชั่วโมง และมาดาเหนื่อยหรือง่วงนอน

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Holmes AV. Establishing successful breastfeeding in the newborn period. Pediatr Clin North Am 2013;60:147-68.

 

 

 

 

10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

obgyn

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  • ให้ข้อมูลกับสตรีตั้งครรภ์ทุกคนเกี่ยวกับประโยชน์และการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ของนมแม่ต่อมารดา ได้แก่ การลดการเกิดเบาหวาน (type 2 diabetes) การเกิดการซึมเศร้าหลังคลอด การเกิดมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม การมีบุตรยากและช่วยคุมกำเนิด ประโยชน์ต่อทารก ได้แก่ การลดการเกิดหูชั้นกลางอักเสบ การเกิดผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis) การอักเสบของกระเพาะและลำไส้ การอักเสบของทางเดินอาหารและลำไส้ใหญ่ชนิดเนื้อตาย (necrotizing enterocolitis) การเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่รุนแรง หอบหืด โรคมือ ปาก เท้าเปื่อย การเสียชีวิตของทารกเฉียบพลัน (sudden infant death syndrome) การเกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และมะเร็งเม็ดเลือดขาวในวัยเด็ก1,2 การตัดสินใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาที่มีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่าเลี้ยงลูกด้วยนมผสมอย่างมีนัยสำคัญ3 ในมารดาที่มีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน พบว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า4,5 การให้ความรู้แก่สตรีก่อนการคลอดเกี่ยวกับประโยชน์อย่างมากของนมแม่และข้อดีที่ชัดเจนของนมแม่เหนือนมผสมมีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6
  • ช่วยให้มารดาเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงหลังคลอด ประกอบด้วยการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่าหากเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังมีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่7 การให้ผิวของทารกได้มีการสัมผัสกับผิวมารดาในช่วงแรกคลอดส่งผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 1-4 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ8

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.??????????? Zhu Q, Li Y, Li N, et al. Prolonged exclusive breastfeeding, autumn birth and increased gestational age are associated with lower risk of fever in children with hand, foot, and mouth disease. Eur J Clin Microbiol Infect Dis 2012;31:2197-202.

3.??????????? Scott JA, Shaker I, Reid M. Parental attitudes toward breastfeeding: their association with feeding outcome at hospital discharge. Birth 2004;31:125-31.

4.??????????? Forster DA, McLachlan HL, Lumley J. Factors associated with breastfeeding at six months postpartum in a group of Australian women. Int Breastfeed J 2006;1:18.

5.??????????? Blyth RJ, Creedy DK, Dennis CL, et al. Breastfeeding duration in an Australian population: the influence of modifiable antenatal factors. J Hum Lact 2004;20:30-8.

6.??????????? Sakha K, Behbahan AG. Training for perfect breastfeeding or metoclopramide: which one can promote lactation in nursing mothers? Breastfeed Med 2008;3:120-3.

7.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

8.??????????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

 

 

 

 

นิยามของการบอกปริมาณของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอธิบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความจำเป็นเพื่อสื่อสารและทำให้เข้าใจได้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการศึกษานั้นเป็นลักษณะใด ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจำเป็นต้องอาศัยปริมาณในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ ดังนั้นจึงมีการให้คำนิยามของการบอกปริมาณการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตาม Interagency group for action on breastfeeding1 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่ (full breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่อย่างเดียว ไม่มีการใช้สารน้ำอื่น ยา หรือวิตามิน หรือเป็นการให้ลูกได้รับนมแม่เกือบเพียงอย่างเดียวโดยอาจมีการให้สารน้ำ ยาหรือวิตามินตามความจำเป็น

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วน (partial breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่บางส่วนและมีการให้สารอื่น นมผสมหรือนมอื่นๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับสูงจะได้รับนมแม่มากกว่าร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับปานกลางจะได้รับนมแม่ตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับต่ำจะได้รับนมแม่น้อยกว่าร้อยละ 20

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงเล็กน้อย (token breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่เพียงบางครั้ง ไม่สม่ำเสมอหรือเล็กน้อย

เมื่อมีการให้นิยามเหล่านี้อย่างชัดเจน การเก็บข้อมูลอย่างเข้มงวดจะทำให้ได้ผลของการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความน่าเชื่อถือ สามารถจะเก็บข้อมูลได้อย่างมั่นใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นโดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีนโยบายโรงสายสัมพันธ์แม่ลูกเนื่องจากนำไปใช้ในการติดตาม พัฒนาและเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

2.??????????? Zakarija-Grkovic I, Segvic O, Bozinovic T, et al. Hospital practices and breastfeeding rates before and after the UNICEF/WHO 20-hour course for maternity staff. J Hum Lact 2012;28:389-99.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และนิยามอาหารสำหรับทารกแรกเกิด

นมแม่สร้างได้อย่างไร?

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งมารดาและทารก ข้อแนะนำในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เหมาะสมนั้น คือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นเสริมอาหารอื่นๆ ให้ควบคู่กับนมแม่จนกระทั่งครบหนึ่งปี โดยยังสามารถให้นมแม่ต่อไปอีกจนครบสองปีหรือแล้วแต่ความต้องการของมารดาและทารก1 ลักษณะของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีคำอธิบายหรือคำนิยามที่แสดงความชัดเจนของลักษณะการเลี้ยงดูทารก ตาม WHO2 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (exclusive breastfeeding) คือ การเลี้ยงลูกโดยให้เฉพาะนมแม่อย่างเดียว อาจพิจารณาให้สารน้ำ แร่ธาตุ วิตามินและยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลัก (predominant breastfeeding) คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยถือว่าเป็นแหล่งของสารอาหารหลักของทารก ร่วมกับมีการของเหลวที่ได้แก่ น้ำ น้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพร

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น (complementary feeding) คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็ง รวมทั้งนมผสมหรือนมอื่นๆ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding) หากใช้เพียงคำนี้เท่านั้น หมายถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาจมีการให้อาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็ง รวมทั้งนมผสมหรือนมอื่นๆ ความหมายทางนัยจะเหมือนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น

การเลี้ยงลูกด้วยขวดนม (bottle feeding) คือ การเลี้ยงลูกจากการให้นมแม่ นมผสม นมอื่นๆ จากการป้อนด้วยขวดนม และอาจมีการให้อาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็งร่วมด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

  • เศรษฐานะ มารดาที่มีรายได้ต่ำสัมพันธ์ความล้มเหลวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,2
  • การแต่งงาน ในมารดาที่แต่งงานเป็นปัจจัยบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
  • การศึกษา มารดาที่มีการศึกษาสูง มีแนวโน้มที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า3
  • อาชีพ พบบางอาชีพอาจเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ทหาร4 อาชีพลูกจ้างมีความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ามารดาที่เป็นแม่บ้านหรือมีธุรกิจส่วนตัว5
  • การสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์ มีผลดีต่อความสำเร็จและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6
  • การให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น7,8 โดยรูปแบบความรู้สามารถให้ได้ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ รูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) การให้ฝึกปฏิบัติ (hand on) การให้แก้โจทย์ปัญหาหรือการให้แสดงบทบาท (role-play) การจัดการสนับสนุนความรู้ที่เป็นรูปแบบที่เป็นการพูดคุยต่อหน้า (face to face) หลากหลายรูปแบบระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดให้ผลดีกว่าการจัดรูปแบบเดียว9
  • การใช้นมผสม มีผลต่อระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมสั้นหากมีมารดาใช้นมผสม10
  • โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก (Baby-Friendly Hospital Initiative) จะมีการปฏิบัติตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Ten Steps to Successful Breastfeeding) ส่งผลดีต่อการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่11-14
  • การกลับเข้าทำงานของมารดา มีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่15
  • การลาพักหลังคลอด ในมารดาที่ลาพักหลังคลอดได้นานจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า5
  • สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ที่ให้นมแม่ ตู้เย็นเก็บนมแม่ สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่16
  • การเยี่ยมบ้าน พบว่าหากมีการเยี่ยมบ้านของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงของการใช้นมผสมลง17

?

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

2.???????????? Dettwyler KA. When to wean: biological versus cultural perspectives. Clin Obstet Gynecol 2004;47:712-23.

3.???????????? Hall WA, Hauck Y. Getting it right: Australian primiparas’ views about breastfeeding: A quasi-experimental study. Int J Nurs Stud 2007;44:786-95.

4.???????????? Bales K, Washburn J, Bales J. Breastfeeding rates and factors related to cessation in a military population. Breastfeed Med 2012;7:436-41.

5.???????????? Skafida V. Juggling work and motherhood: the impact of employment and maternity leave on breastfeeding duration: a survival analysis on Growing Up in Scotland data. Matern Child Health J 2012;16:519-27.

6.???????????? Britton C, McCormick FM, Renfrew MJ, Wade A, King SE. Support for breastfeeding mothers. Cochrane Database Syst Rev 2007:CD001141.

7.???????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

8.???????????? Noel-Weiss J, Rupp A, Cragg B, Bassett V, Woodend AK. Randomized controlled trial to determine effects of prenatal breastfeeding workshop on maternal breastfeeding self-efficacy and breastfeeding duration. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:616-24.

9.???????????? Meedya S, Fahy K, Kable A. Factors that positively influence breastfeeding duration to 6 months: a literature review. Women Birth 2010;23:135-45.

10.????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

11.????????? Hawke BA, Dennison BA, Hisgen S. Improving Hospital Breastfeeding Policies in New York State: Development of the Model Hospital Breastfeeding Policy. Breastfeed Med 2012.

12.????????? Goodman K, DiFrisco E. Achieving baby-friendly designation: step-by-step. MCN Am J Matern Child Nurs 2012;37:146-52; quiz 52-4.

13.????????? Labbok MH. Global baby-friendly hospital initiative monitoring data: update and discussion. Breastfeed Med 2012;7:210-22.

14.????????? Venancio SI, Saldiva SR, Escuder MM, Giugliani ER. The Baby-Friendly Hospital Initiative shows positive effects on breastfeeding indicators in Brazil. J Epidemiol Community Health 2012;66:914-8.

15.????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

16.????????? Cameron B, Javanparast S, Labbok M, Scheckter R, McIntyre E. Breastfeeding support in child care: an international comparison of findings from Australia and the United States. Breastfeed Med 2012;7:163-6.

17.????????? Feldens CA, Ardenghi TM, Cruz LN, Cunha Scalco GP, Vitolo MR. Advising mothers about breastfeeding and weaning reduced pacifier use in the first year of life: a randomized trial. Community Dent Oral Epidemiol 2012.