คลังเก็บป้ายกำกับ: ไวรัสตับอักเสบบี

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

pregnant7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในมารดาที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่มีการตรวจพบ HBeAg จะตรวจพบไวรัสตับอักเสบบีในน้ำนมสูงถึงร้อยละ 76.9-81.25 ขณะที่ตรวจพบร้อยละ 5.75-45.24 ในมารดาที่ตรวจไม่พบ HBeAg1,2อย่างไรก็ตาม หากทารกได้รับภูมิคุ้มกันจาก Hepatitis B immunoglobulin และวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีไม่พบความแตกต่างของการติดเชื้อในทารกที่กินนมแม่และกินนมผสม3 ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการป้องกันการติดเชื้อส่วนหนึ่งเป็นผลจาก lactoferin ในนมแม่4,5 ดังนั้นในมารดาที่มีการติดเชื้อตับอักเสบบีเรื้อรัง จึงไม่เป็นข้อห้ามสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? ในกรณีที่มารดาที่มีการติดเชื้อตับอักเสบบีเรื้อรังได้รับยาต้านไวรัส จะมียาต้านไวรัสพบได้ในน้ำนม ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอถึงผลเสียต่อทารก จึงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมและควรให้หลีกเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปก่อน6,7

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? He JY, Zhang YH, Zhang YL, Huang HF. [Instructional significance of HBV-DNA load in maternal milk on breastfeeding of postpartum women infected with HBV]. Zhonghua Yu Fang Yi Xue Za Zhi 2011;45:1004-6.

2.??????????? Yang D, Li Y, Song J. [Significance of detection of HBV-DNA and CMV-DNA by polymerase chain reaction in screening mothers’ milk]. Hunan Yi Ke Da Xue Xue Bao 1999;24:44-6.

3.??????????? Zheng Y, Lu Y, Ye Q, et al. Should chronic hepatitis B mothers breastfeed? a meta analysis. BMC Public Health 2011;11:502.

4.??????????? Li S, Zhou H, Huang G, Liu N. Inhibition of HBV infection by bovine lactoferrin and iron-, zinc-saturated lactoferrin. Med Microbiol Immunol 2009;198:19-25.

5.??????????? Hara K, Ikeda M, Saito S, et al. Lactoferrin inhibits hepatitis B virus infection in cultured human hepatocytes. Hepatol Res 2002;24:228.

6.??????????? Tran TT. Management of hepatitis B in pregnancy: weighing the options. Cleve Clin J Med 2009;76 Suppl 3:S25-9.

7.??????????? Petrova M, Kamburov V. Breastfeeding and chronic HBV infection: clinical and social implications. World J Gastroenterol 2010;16:5042-6.

?

?

 

ผลของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังต่อการตั้งครรภ์

w51

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมีรายงานเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อที่มีต่อการตั้งครรภ์น้อยและไม่ได้ตรวจสอบระดับของปริมาณไวรัสในกระแสเลือดมารดาและเลือดในสายสะดือทารก การตรวจสอบระดับปริมาณไวรัสในกระแสเลือดตรวจโดยเทียบจากปริมาณ HBeAg หรือตรวจระดับ DNA ของไวรัส1 ซึ่งระดับปริมาณไวรัสนี้มีความสัมพันธ์กับการเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด2,3 มีการศึกษาเกี่ยวกับการให้ยาต้านไวรัสในระหว่างการตั้งครรภ์ในมารดาที่มีปริมาณไวรัสในเลือดสูงพบว่าจะลดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์รวมทั้งการคลอดก่อนกำหนดลงได้4 แพทย์ผู้ดูแลจะต้องคัดเลือดมารดาเป็นกลุ่มเสี่ยงเพื่อที่จะตรวจเพิ่มเติม ให้การป้องกันรักษาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Elefsiniotis IS, Tsoumakas K, Papadakis M, Vlachos G, Saroglou G, Antsaklis A. Importance of maternal and cord blood viremia in pregnant women with chronic hepatitis B virus infection. Eur J Intern Med 2011;22:182-6.

2.???????? Tse KY, Ho LF, Lao T. The impact of maternal HBsAg carrier status on pregnancy outcomes: a case-control study. J Hepatol 2005;43:771-5.

3.???????? Safir A, Levy A, Sikuler E, Sheiner E. Maternal hepatitis B virus or hepatitis C virus carrier status as an independent risk factor for adverse perinatal outcome. Liver Int 2010;30:765-70.

4.???????? Shi Z, Yang Y, Ma L, Li X, Schreiber A. Lamivudine in late pregnancy to interrupt in utero transmission of hepatitis B virus: a systematic review and meta-analysis. Obstet Gynecol 2010;116:147-59.

?

ผลของการตั้งครรภ์ต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

w51

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ส่วนใหญ่ระหว่างตั้งครรภ์โรคตับอักเสบและเอนไซม์ของตับจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ1,2 โดยในระหว่างการตั้งครรภ์ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลง จะพบว่าเอนไซม์ของตับ (ALT) ลดลงได้ แต่หลังจากคลอดภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งจะพบว่าเอนไซม์ของตับเพิ่มขึ้นและพบว่าในสตรีที่มีไวรัสตับอักเสบเรื้อรังร้อยละ 45 ค่าของเอนไซม์ของตับเพิ่มขึ้นได้ถึงสามเท่าในช่วงหกเดือนหลังคลอด3 ดังนั้นพบมีรายงานการเกิดตับอักเสบเฉียบพลันในสตรีที่มีไวรัสตับอักเสบเรื้อรังตั้งแต่ความรุนแรงน้อยถึงความรุนแรงมากจนเสียชีวิตในช่วงระหว่างการคลอดและหลังคลอดได้1,2,4 ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลจะต้องใส่ใจและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งหลังคลอดหกเดือน

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mahtab MA, Rahman S, Khan M, Mamun AA, Afroz S. Etiology of fulminant hepatic failure: experience from a tertiary hospital in Bangladesh. Hepatobiliary Pancreat Dis Int 2008;7:161-4.

2.???????????? Yang YB, Li XM, Shi ZJ, Ma L. Pregnant woman with fulminant hepatic failure caused by hepatitis B virus infection: a case report. World J Gastroenterol 2004;10:2305-6.

3.???????????? ter Borg MJ, Leemans WF, de Man RA, Janssen HL. Exacerbation of chronic hepatitis B infection after delivery. J Viral Hepat 2008;15:37-41.

4.???????????? Wong HY, Tan JY, Lim CC. Abnormal liver function tests in the symptomatic pregnant patient: the local experience in Singapore. Ann Acad Med Singapore 2004;33:204-8.

?

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังกับการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังเป็นภาวะที่พบได้มากในทุกประเทศทั่วโลก ในทวีปเอเซียมีประชากรที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังถึงร้อยละ 8-101,2ซึ่งร้อยละ 50 ของผู้ติดเชื้อที่รายใหม่เป็นการติดเชื้อที่ผ่านจากมารดาไปทารก3 ในช่วงก่อนที่จะมีการให้วัคซีนช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 70-90 ในมารดาที่มี HBS Ag และ HBe Ag เป็นบวก4 แต่เมื่อมีการให้ Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) และ Hepatitis B vaccine อัตราการติดเชื้อลดลงเหลือร้อยละ 5-105 ?

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Kumar M, Sarin SK, Hissar S, et al. Virologic and histologic features of chronic hepatitis B virus-infected asymptomatic patients with persistently normal ALT. Gastroenterology 2008;134:1376-84.

2.???????????? Lavanchy D. Hepatitis B virus epidemiology, disease burden, treatment, and current and emerging prevention and control measures. J Viral Hepat 2004;11:97-107.

3.???????????? Gambarin-Gelwan M. Hepatitis B in pregnancy. Clin Liver Dis 2007;11:945-63, x.

4.???????????? Beasley RP, Trepo C, Stevens CE, Szmuness W. The e antigen and vertical transmission of hepatitis B surface antigen. Am J Epidemiol 1977;105:94-8.

5.???????????? Li XM, Shi MF, Yang YB, et al. Effect of hepatitis B immunoglobulin on interruption of HBV intrauterine infection. World J Gastroenterol 2004;10:3215-7.

?