คลังเก็บป้ายกำกับ: สรุปการดูแลหัวนมและเต้านมมารดา

สรุปการดูแลหัวนมและเต้านมมารดา

10024255_13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจเต้านมและหัวนมมารดา

??????????? -การตรวจเต้านมและหัวนมมารดา ควรทำขณะสังเกตมารดาให้นมลูกและควรสังเกตจนกระทั่งสิ้นสุดการให้นม เพราะบุคลากรจะได้เห็นสิ่งที่สำคัญในการให้นมลูกในสถานการณ์จริง

??????????? -การตรวจเต้านมและหัวนมมารดา จะทำเมื่อมีความลำบากในการให้นม โดยการตรวจควรตรวจในสถานที่มิดชิดเป็นส่วนตัว และขออนุญาตก่อนการสัมผัส

??????????? -มองดูรูปร่างของเต้านมและหัวนม มองดูการบวม การแดง หรือลักษณะผิวหนังที่ผิดปกติ และมองดูร่องรอยของการผ่าตัดที่เต้านมในอดีต

??????????? -แจ้งมารดาถึงสิ่งที่ตรวจพบ เน้นสิ่งที่เป็นผลดี และให้ความมั่นใจกับมารดาว่าสามารถให้นมลูกได้

การป้องกันเต้านมคัด

??????????? -การตึงคัดเต้านมเป็นปกติใน 2-3 วันแรกหลังคลอด แต่การตึงคัดอย่างมากถือว่าผิดปกติ

??????????? -ปฏิบัติตามบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? ช่วยให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาทันทีหลังคลอด และเริ่มให้มารดาให้นมลูกภายในหนึ่งชั่วโมงหลังคลอดโดยให้กินนมแม่อย่างเดียวและไม่จำกัดระยะเวลา

??????? แสดงให้มารดาที่ต้องการความช่วยเหลือถึงวิธีการเข้าเต้า

??????? สอนมารดาถึงวิธีการบีบน้ำนมด้วยมือ

??????? เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวโดยไม่ให้น้ำหรืออาหารเสริมอื่น

??????? ให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันในบรรยากาศที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? กระตุ้นให้มารดาให้นมทารก 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมงโดยเฉพาะในวันแรกๆ หลังคลอด

??????? ไม่ควรให้จุกนมเทียม ขวดนม หรือหัวนมหลอกกับทารก

การรักษาการคัดตึงเต้านม

??????????? -ให้ทารกดูดนมหรือบีบน้ำนมออก โดยสนับสนุนให้มารดาให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง

??????????? -แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเข้าเต้า

??????????? -การบีบน้ำนมออกบางส่วน จะช่วยให้ลานนมและหัวนมนุ่มขึ้น ทำให้เข้าเต้าได้ดีขึ้น

??????????? -ให้นมลูกบ่อยขึ้น

??????????? -ใช้การประคบเย็นที่เต้านมระหว่างมื้อการให้นมจะช่วยให้มารดารู้สึกสบายขึ้น

??????????? -สร้างความเชื่อมั่นเรื่องการให้นมลูกและช่วยให้มารดารู้สึกสบาย

ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบ

??????????? อาจจะเกิดจากสาเหตุของการให้นมที่ไม่บ่อยพอ การให้นมไม่เกลี้ยงเต้า หรือมีการกดทับในบางส่วนของเต้านมซึ่งขัดขวางการไหลของน้ำนม

??????????? การรักษาทำโดย

??????????? -ช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น

??????? ตรวจสอบการเข้าเต้าและช่วยทำให้มารดาทำได้ถูกต้องและดีขึ้น

??????? ตรวจสอบการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป หรือการใช้นิ้วมือกดที่เต้านมอย่างไม่เหมาะสม

??????? ประคองหรือหนุนเต้านมที่ใหญ่ เพื่อให้น้ำนมไหลดี

??????????? -การแนะนำ

??????? ให้นมลูกบ่อย หากจำเป็นอาจต้องบีบน้ำนมเพื่อหลีกเลี่ยงการคัด

??????? นวดเบาๆ ไล่ไปที่หัวนม

??????? ใช้การประคบร้อนที่เต้านมบริเวณที่มีท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบก่อนการให้นมเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น

??????? ให้มารดาพักผ่อนแต่ควรคงการให้นมอย่างต่อเนื่อง

??????? ให้ยาลดการอักเสบหรือยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวด

??????????? -การให้ยาฆ่าเชื้อมีข้อบ่งชี้ดังนี้

??????? มารดามีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง

??????? อาการของมารดาไม่ดีขึ้นหลัง 24 ชั่วโมงเมื่อให้นมอย่างมีประสิทธิภาพบ่อยๆ หรือบีบน้ำนมออกช่วย

??????? สภาพของมารดาแย่ลง

??????????? -หากมารดาติดเชื้อเอชไอวีและมีอาการเต้านมอักเสบหรือเป็นหนอง ควรปฏิบัติดังนี้

??????? หลีกเลี่ยงการให้นมแม่จากเต้านมที่มีการอักเสบขณะยังมีอาการ

??????? บีบน้ำนมออกจากเต้านม โดยอาจให้นมผ่านความร้อนและให้นมลูกได้

??????? ให้มารดาพัก ประคบอุ่น กินน้ำมากๆ ให้ยาแก้ปวดและยาฆ่าเชื้อ

การเจ็บหัวนม

??????? ตัดสินใจสาเหตุของการเจ็บหัวนม รวมทั้งสังเกตทารกขณะกินนมและตรวจสอบหัวนมและเต้านม

??????? สร้างความมั่นใจให้กับมารดาในการให้นมลูก

??????? รักษาการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเจ็บหัวนม

??????? หลีกเลี่ยงการจำกัดความถี่ของการให้นม

หากทารกมีภาวะลิ้นติด ผิวหนังอักเสบ หรือภาวะอื่นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009