คลังเก็บป้ายกำกับ: วิจัยเต้านม

การวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับการสร้างน้ำนม

PICT0031รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? จากข้อมูลหลักฐานในปัจจุบันให้การสนับสนุนว่า มีสารที่มีผลการการสร้างในน้ำนมอยู่ในน้ำนม ซึ่งได้แก่ โปรตีนเวย์ (whey) ที่ทำหน้าที่ควบคุมเป็นกลไกย้อนกลับ (feedback inhibitor of lactation) ในกรณีที่มีน้ำนมอยู่ในเต้านมจะควบคุมให้ผลิตน้ำนมน้อย ในกรณีที่น้ำนมเกลี้ยงเต้าจะควบคุมให้ผลิตน้ำนมมาก สำหรับปริมาณของไขมันในน้ำนมยังมีการเปลี่ยนแปลงตามปริมาณน้ำนมในเต้านมด้วย ปริมาณไขมันในน้ำนมจะมากหากน้ำนมเกลี้ยงเต้า และปริมาณไขมันในน้ำนมจะน้อยหากน้ำนมในเต้านมมีมาก ซึ่งส่วนประกอบของนมยังมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาระหว่างวันและขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างวันด้วย1

ความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งผลต่อการให้นมแม่ ความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะภายนอก แต่ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของต่อมน้ำนมและสัดส่วนของไขมันในเต้านม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในมารดาแต่ละคน และมีความแตกต่างในเต้านมแต่ละข้างด้วย ในมารดาที่มีความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมได้มาก หากทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้าจะได้ปริมาณน้ำนมมาก ระยะห่างของการให้นมจะนาน ในมารดาที่มีความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมได้น้อย เมื่อทารกดูดนมจนหมดเต้าจะได้ปริมาณน้ำนมน้อยกว่า ความถี่ของการให้นมจึงต้องบ่อยขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเก็บน้ำนมในเต้านมไม่ได้เป็นตัวตัดสินความเพียงพอของน้ำนมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะแม้ความสามารถในการเก็บน้ำนมจะน้อย แต่เมื่อให้บ่อยขึ้น ร่างกายจะผลิตน้ำนมได้เร็วขึ้นจนมีปริมาณเพียงพอ ดังนั้นในการให้นมกับทารกจึงมักให้ตามที่ทารกต้องการ

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.