คลังเก็บป้ายกำกับ: วัยทอง
Perimenopause & Postmenopause
ขั้นตอนการดูแลในคลินิกชายวัยทอง
1. การซักประวัติ
– อายุ? อาชีพ? การทำงาน
– การออกกำลังกาย
– ลักษณะอาหารที่รับประทาน
– เพศสัมพันธ์? ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
– การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ??? ประเมินต่อมลูกหมากโต
– ความเจ็บป่วยในอดีต การผ่าตัด และการรักษา
2. การตรวจร่างกาย
– ชั่งน้ำหนัก? วัดส่วนสูง และคำนวณค่า?? BMI
(หรือใช้วิธีง่าย ๆ คือวัดรอบเอว (W)?? และวัดสะโพก (H) คำนวณค่า W/H>1 =? โรคอ้วน)
– วัดความดันโลหิตสูง
– ตรวจร่างกายทั่วไป
– ตรวจอวัยวะเพศ? ต่อมลูกหมาก? (โดยการตรวจทางทวารหนัก)
3. การตรวจพิเศษ
– เอกซเรย์ปอด
– ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
– ความหนาแน่นของกระดูก
4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
– ตรวจเลือดและปัสสาวะขั้นพื้นฐาน
– ตรวจน้ำตาลและกรดยูริคในเลือด
– ตรวจระดับไขมันในเลือด
– ตรวจการทำงานของตับ, ไต
– ตรวจสารจำเพาะที่หลั่งออกมาจากต่อมลูกหมาก?? (prostate? specific antigen? หรือ PSA)
– ตรวจฮอร์โมน? Testosterone? และ? DHEA
การวินิจฉัย
จากข้อมูลทั้งประวัติ? ตรวจร่างกาย? การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ?? เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาตามแต่ละกรณี
การรักษา
????????? ใช้หลักการรักษาเช่นเดียวกับสตรีวัยทอง คือ การปฏิบัติตัว ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม? การออกกำลังกาย? การควบคุมอารมณ์?? และการใช้ยา? สำหรับเมื่อมีการรักษาด้วยยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
หนังสืออ้างอิง
- หะทัย? เทพพิสัย . ปัญหาที่พบบ่อยในวัยทอง. ใน : อุรุษา? เทพพิสัย,? มยุรี? จิรภิญโญ, อภิชาติ? จิตต์เจริญ,? จิตติมา? มโนนัย, บรรณาธิการ.? สุขภาพชาย-หญิงวัยทองยุค? 2001. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง,2001:19-21.
- อุรุษา? เทพพิสัย.? โรคกระดูกพรุน(osteoporosis). ใน : อุรุษา? เทพพิสัย,? มยุรี? จิรภิญโญ, อภิชาติ? จิตต์เจริญ,? จิตติมา? มโนนัย, บรรณาธิการ.? สุขภาพชาย-หญิงวัยทองยุค? 2001. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง,2001:19-21.
- Komindr? S, Piaseu? N, Pattamakom? V, et al. Calcium? status and factors relating to bone mineral? content in? normal? Thais? living in Bangkok,? สารศิริราช(บทคัดย่อรายงานวิชาการ), 19-22? เมษายน? 2537.
- Orwall? Eric? S, Klein? RF. Osteoporosis? in men. In:? Marcus? R ,ed.? Osteoporosis. USA:Blackwell? Scientific Publication,1994:146-201.
เขียนโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
ขั้นตอนการดูแลในคลินิกสตรีวัยทอง
1. การซักประวัติ
– อายุ? อาชีพ? การทำงาน
– การออกกำลังกาย
– ลักษณะของอาหารที่รับประทาน
– เพศสัมพันธ์
– ความเจ็บป่วยในอดีต การผ่าตัดและการรักษา
– การกินยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนต่าง ๆ
2. การตรวจร่างกาย
– ชั่งน้ำหนัก? วัดส่วนสูง คำนวณค่า? BMI(body mass index)
– วัดความดันโลหิต
– ตรวจร่างกายทั่วไป
– ตรวจภายใน? ตรวจมะเร็งปากมดลูก? และ/หรือ? ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
3. การตรวจพิเศษ
– เอกซเรย์ปอด
– เอกซเรย์เต้านม?? ดังแสดงตัวอย่างดังรูป
– ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
– ตรวจความหนาแน่นของกระดูก
4.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
– ตรวจเลือดและปัสสาวะขั้นพื้นฐาน
– ตรวจน้ำตาลและกรดยูริคในเลือด
– ตรวจระดับไขมันในเลือด
– ตรวจการทำงานของตับ,ไต
– และ/หรือ ตรวจฮอร์โมนเกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือน
การวินิจฉัย
จากข้อมูลทั้งประวัติ? ตรวจร่างกาย? การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ? เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาตามแต่ละกรณี? โดยแนวทางการรักษาจะเน้นให้เกิดการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง? การควบคุมอารมณ์? และใช้ยาตามความจำเป็น
การรักษา
1. การปฏิบัติตัว
– อาหาร? เลือกอาหารจำพวกโปรตีนจากปลา? ถั่วเหลือง? อาหารที่มีไขมันต่ำ? อาหารที่มีน้ำตาลน้อย????? ไม่เค็ม? และมีกากเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ เพื่อช่วยในการขับถ่าย? การรับประทานอาหารควรสมดุลย์กับการใช้พลังงานในแต่ละวัน? น้ำหนักในวัยนี้ไม่ควรเพิ่มหรือลดลงมาก ควรควบคุมให้พอดีเหมาะสมกับความสูงของแต่ละคน? ดังรูป
การเลือกรับประทานอาหารและการใช้พลังงานที่สมดุลย์กันในแต่ละวัน
อาหารที่ควรเลือกรับประทานในวัยทอง
-?การออกกำลังกาย? เมื่อมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอและเหมาะสม? จะป้องกันภาวะกระดูกพรุน? ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง? ลดอาการปวดข้อ? ปวดหลัง? และลดไขมันในเลือด? รูป e1 ?เป็นตัวอย่างของการออกกำลังกายในวัยทอง? และรูป e2 ?เป็นพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมและการออกกำลังกายแต่ละชนิด
รูป e1 เป็นตัวอย่างของการออกกำลังกายในวัยทอง
รูป e2 เป็นพลังงานที่ใช้ในกิจกรรมและการออกกำลังกายแต่ละชนิด
– อารมณ์ ?การทำจิตใจให้สงบ? มีสติ สมาธิ? ควบคุมอารมณ์? ทำงานอดิเรกที่เป็นประโยชน์? จะช่วยให้การดำเนินชีวิตในวัยทองมีความสุขและเป็นชีวิตที่มีคุณภาพ
2. การใช้ยา
– ยาบรรเทาอาการ? เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น? อาการร้อนวูบวาบ ซึ่งโดยปกติอาการเหล่านี้มักหายไปเองในระยะเวลาประมาณ? 2? ปี
– ยารักษาโรค? ใช้ในกรณีที่สตรีวัยทองมีโรคประจำตัว? เช่น? ความดันโลหิตสูง
– วิตามินและเกลือแร่ทดแทน? ใช้ในกรณีที่ขาดและรับประทานจากอาหารไม่เพียงพอ? เช่น? รับประทานแคลเซียมเสริมป้องกันภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากแคลเซียมที่ได้จากอาหารมักไม่เพียงพอกับความต้องการในวัยทอง? สำหรับในคนไทยปกติในอาหารปกติมีแคลเซียม? 300-400? มิลลิกรัม? ดังนั้นต้องการเสริมวันละ? 600-1000? มิลลิกรัม2,3,4
– ฮอร์โมนทดแทน? เป็นทางเลือกเมื่อจำเป็นในกรณีที่มีอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือนมาก? หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนสูง
หนังสืออ้างอิง
- หะทัย? เทพพิสัย . ปัญหาที่พบบ่อยในวัยทอง. ใน : อุรุษา? เทพพิสัย,? มยุรี? จิรภิญโญ, อภิชาติ? จิตต์เจริญ,? จิตติมา? มโนนัย, บรรณาธิการ.? สุขภาพชาย-หญิงวัยทองยุค? 2001. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง,2001:19-21.
- อุรุษา? เทพพิสัย.? โรคกระดูกพรุน(osteoporosis). ใน : อุรุษา? เทพพิสัย,? มยุรี? จิรภิญโญ, อภิชาติ? จิตต์เจริญ,? จิตติมา? มโนนัย, บรรณาธิการ.? สุขภาพชาย-หญิงวัยทองยุค? 2001. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง,2001:19-21.
- Komindr? S, Piaseu? N, Pattamakom? V, et al. Calcium? status and factors relating to bone mineral? content in? normal? Thais? living in Bangkok,? สารศิริราช(บทคัดย่อรายงานวิชาการ), 19-22? เมษายน? 2537.
- Orwall? Eric? S, Klein? RF. Osteoporosis? in men. In:? Marcus? R ,ed.? Osteoporosis. USA:Blackwell? Scientific Publication,1994:146-201.
เขียนโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
ปัญหาที่พบบ่อยในชายวัยทอง
สำหรับ?ปัญหาที่พบบ่อยในชายวัยทอง 1? ได้แก่
1.? ไขมันในเลือดสูง? (dyslipidemia)? พบ? 82%
2.? กลุ่มอาการฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง ?พบ? 78% (อาการคล้ายกับที่เกิดขึ้นในสตรีวัยทองแต่รุนแรงน้อยกว่า)
3.? หย่อนสมรรถภาพทางเพศ? (erectile? dysfunction) พบ 66%
4.? ต่อมลูกหมากโต? (benign? prostatic? hyperplasia)? พบ 65%? ดังรูป
รูปแสดงการเกิดต่อมลูกหมากโต
5.? โรคอ้วน? (obesity)? พบ 46%
6.? ความดันโลหิตสูง? พบ? 39%
7.? กรดยูริคในเลือดสูง? (hyperuricemia)? พบ? 36%
8.? กระดูกบาง? (osteopenia)? พบ? 32%? (เทียบกับในสตรีพบ? 44%)
9.? เบาหวาน? พบได้? 22%? (เทียบกับในสตรีพบ 6%)
10.กระดูกพรุน? (osteoporosis)? พบ? 9%? (เทียบกับในสตรีพบ? 29%)
หนังสืออ้างอิง
- หะทัย? เทพพิสัย . ปัญหาที่พบบ่อยในวัยทอง. ใน : อุรุษา? เทพพิสัย,? มยุรี? จิรภิญโญ, อภิชาติ? จิตต์เจริญ,? จิตติมา? มโนนัย, บรรณาธิการ.? สุขภาพชาย-หญิงวัยทองยุค? 2001. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง,2001:19-21.
- อุรุษา? เทพพิสัย.? โรคกระดูกพรุน(osteoporosis). ใน : อุรุษา? เทพพิสัย,? มยุรี? จิรภิญโญ, อภิชาติ? จิตต์เจริญ,? จิตติมา? มโนนัย, บรรณาธิการ.? สุขภาพชาย-หญิงวัยทองยุค? 2001. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง,2001:19-21.
- Komindr? S, Piaseu? N, Pattamakom? V, et al. Calcium? status and factors relating to bone mineral? content in? normal? Thais? living in Bangkok,? สารศิริราช(บทคัดย่อรายงานวิชาการ), 19-22? เมษายน? 2537.
- Orwall? Eric? S, Klein? RF. Osteoporosis? in men. In:? Marcus? R ,ed.? Osteoporosis. USA:Blackwell? Scientific Publication,1994:146-201.
เขียนโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์