คลังเก็บป้ายกำกับ: ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเพิ่มสัญชาตญาณความเป็นแม่

ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในสตรีสูงวัย

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การที่ทารกได้กินนมแม่ประโยชน์นั้นมีทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ซึ่งผลในระยะยาวนั้น จะช่วยในเรื่องการป้องกันโรคอ้วนที่พบในวัยรุ่น ป้องกันเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางเมตาบอลิก และหลอดเลือดหัวใจ สำหรับเรื่องกระดูกและกล้ามเนื้อนั้น การศึกษาที่มียังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน บางรายงานพบว่ามีผลช่วยในเรื่องมวลกระดูก ขณะที่บางรายงานพบว่าเกิดผลเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกบาง อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อย ๆ รวมทั้งผลของระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อของทารกที่เมื่อเจริญเติบโต มีอายุเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งหากสตรีนั้นมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) ก็จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ความเสี่ยงต่อการหกล้ม และมีข้อจำกัดในการปฏิบัติตัวในกิจกรรมที่อาจจะพบความเสี่ยงจากการหกล้มในชีวิตประจำวัน จากการศึกษาที่รายงานออกมาเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในสตรีสูงวัยได้ โดยพบภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยลดลงถึงร้อยละ 731 เมื่อทารกเจริญเข้าสู่วัยสูงอายุ ดังนั้น ผลประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้สตรีสูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในยุคที่สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

เอกสารอ้างอิง

  1. Kim JY, Kim DH, Kim YH, Shin HY. Associations of Breastfeeding Duration and Reproductive Factors with Sarcopenia in Elderly Korean Women: A Cross-Sectional Study from the Korea National Health and Nutrition Examination Survey 2010-2011. Korean J Fam Med 2019.

ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเพิ่มสัญชาตญาณความเป็นแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สัญชาตญาณความเป็นแม่ แม้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ก็มีปัจจัยที่จะส่งเสริมหรือเพิ่มพูนสัญชาตญาณของแม่ ซึ่งพบว่า ระยะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยิ่งนานก็จะยิ่งเพิ่มสัญชาตญาณของความเป็นแม่มากขึ้น รวมทั้งสร้างความรัก ความผูกพัน การใส่ใจที่จะดูแลเอาใจใส่ในความปลอดภัยของลูกมากขึ้น1 โดยสิ่งนี้เรียกว่าเป็นจุดเด่นของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หากมารดามีสัญชาตญาณความเป็นแม่สูง ความผูกพัน และการเอาใจใส่ที่จะช่วยให้ลูกมีโอกาสที่จะอยู่รอดปลอดภัยสูงขึ้น สามารถที่จะดำรงเผ่าพันธุ์และมีการพัฒนาการและวิวัฒนาการต่อไปได้

? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่พบเป็นอุปสรรคในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะไปมีผลต่อระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา ได้แก่ การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า การผ่าตัดคลอด เป็นต้น ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นเสมือนตัวแทนที่จะช่วยชี้นำบทบาทที่สำคัญของมารดาที่จะต้องให้นมแม่ และก็ให้นมแม่ให้ยาวนานที่สุด โดยอย่างน้อยเป็นระยะเวลาสองปีตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยจึงมีความจำเป็น และควรใส่ใจในเรื่องนี้เพื่อส่งเสริมสัญชาตญาณของแม่ที่เป็นสิ่งที่ดี ให้มี คงอยู่ และเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Weaver JM, Schofield TJ, Papp LM. Breastfeeding Duration Predicts Greater Maternal Sensitivity Over the Next Decade. Dev Psychol 2017.