คลังเก็บป้ายกำกับ: ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดาที่มีโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ ตอนที่ 4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สำหรับผลเสียที่เกิดกับมารดาในระหว่างการตั้งครรภ์1-3 ได้แก่

  • การแท้ง ซึ่งจะสัมพันธ์กับความผิดปกติและความพิการแต่กำเนิด
  • การคลอดก่อนกำหนด จะเป็นผลมาจากการที่มารดามีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นที่พบในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะน้ำคร่ำมาก ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า เป็นต้น
  • ความผิดปกติของน้ำคร่ำ จะพบได้ทั้งภาวะน้ำคร่ำมากจากมารดามีน้ำตาลในเลือดสูง และในกรณีที่ทารกมีน้ำคร่ำน้อยจากการที่มารดามีภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงทารก
  • ภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษ จะเป็นผลมาจากภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดที่เกิดจากโรคเบาหวาน
  • การผ่าตัดคลอด ซึ่งจะเพิ่มขึ้นทั้งจากกรณีทารกแรกเกิดตัวโต และกรณีที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
  • การตกเลือดหลังคลอด จะเป็นผลมาจากทารกแรกเกิดตัวโต และมีการคลอดยาก

เอกสารอ้างอิง

  1. Ornoy A. Biomarkers of maternal diabetes and its complication in pregnancy. Reprod Toxicol 2012;34:174-9.
  2. Dixon BR, Nankervis A, Hopkins SC, Cade TJ. Pregnancy outcomes among women with type 1 diabetes mellitus using continuous subcutaneous insulin infusion versus multiple daily injections: A retrospective cohort study. Obstet Med 2019;12:136-42.
  3. Kapur A, McIntyre HD, Hod M. Type 2 Diabetes in Pregnancy. Endocrinol Metab Clin North Am 2019;48:511-31.

 

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดาที่มีโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ ตอนที่ 3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  • ทารกบาดเจ็บจากการคลอดยาก เนื่องจากทารกแรกเกิดตัวโต นอกจากนี้ยังพบทารกคลอดติดไหล่ และพบกระดูกไหปลาร้าหักจากการคลอดยากได้
  • ทารกมีน้ำตาลต่ำ จะพบได้ทั้งในกรณีที่ทารกแรกเกิดตัวโต และทารกที่มีน้ำหนักจากการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ การเริ่มให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะช่วยป้องกันภาวะนี้
  • ทารกมีเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ (neonatal polycythemia) พบในทารกที่เป็นเบาหวาน และเกิดภาวะการขาดออกซิเจนในครรภ์จากภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด ทำให้ทารกมีการปรับตัวโดยมีการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งหากมีการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้นมาก จะทำให้การไหลเวียนของเลือดจะผิดปกติและเกิดการขาดเลือดได้ ในกรณีที่มีความเข้มข้นของเลือดสูงจนเลือดหนืดมาก นอกจากนี้ การที่ทารกมีเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการตัวเหลืองเพิ่มขึ้นด้วย
  • ทารกต้องย้ายไปดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต จากการที่ทารกมีภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่างดังกล่าวแล้วข้างต้น ทำให้มีความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับการย้ายไปดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการการดูแลที่ใกล้ชิดหรือสังเกตอาการเฉพาะของภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง1

เอกสารอ้างอิง

  1. Mitanchez D, Yzydorczyk C, Siddeek B, Boubred F, Benahmed M, Simeoni U. The offspring of the diabetic mother–short- and long-term implications. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 2015;29:256-69.

 

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดาที่มีโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ ตอนที่ 2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  • ทารกแรกเกิดตัวโต พบอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดตัวโตสูงขึ้นถึงร้อยละ 15-25 ในบางรายงานในปัจจุบัน ซึ่งอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดตัวโตจะเพิ่มขึ้นตามอุบัติการณ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วนที่พบในมารดา โดยที่ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจะมีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานชนิดที่ 21
  • ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า จะมีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดที่พบในโรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เลือดที่ผ่านสารอาหารไปสู่ทารกลดลง
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด พบทารกมีภาวะคลอดก่อนกำหนดสูงถึงร้อยละ 25 โดยการมีความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์จะเป็นตัวทำนายการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดในมารดาที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ขณะที่ค่า HbA1c ในไตรมาสที่สามจะเป็นตัวทำนายการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดในมารดาที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • ทารกบาดเจ็บจากการคลอดยาก เนื่องจากทารกแรกเกิดตัวโต นอกจากนี้ยังพบทารกคลอดติดไหล่ และพบกระดูกไหปลาร้าหักจากการคลอดยากได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Mitanchez D, Yzydorczyk C, Siddeek B, Boubred F, Benahmed M, Simeoni U. The offspring of the diabetic mother–short- and long-term implications. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 2015;29:256-69.

 

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดาที่มีโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ ตอนที่ 1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

               โรคเบาหวานที่พบในมารดาก่อนการตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งทารกและมารดา โดยหากมารดาตั้งครรภ์จะเกิดผลเสียแก่ทารก1 ได้แก่

             ทารกมีความพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น โดยความพิการของทารกที่พบบ่อยคือ ความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งชนิดของความผิดปกติของหัวใจที่พบบ่อย ได้แก่ การมีรูรั่วของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง (ventricular septum defect หรือ VSD)   นอกจากนี้ยังพบการมีรูรั่วของผนังกั้นหัวใจห้องบน (atrial septum defect หรือ ASD)  ความผิดปกติจากการย้ายข้างของเส้นเลือดแดงใหญ่ (transposition of great arteries)  การทำงานผิดปกติของหัวใจจากกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว (hypertrophic cardiomyopathy)  การไม่ปิดของท่อประสาท (neural tube defect)  ภาวะที่ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (anencephaly)  การมีลำไส้/ทวารหนักอุดตัน (duodenal, anal-rectal atresia)  และความผิดปกติของท่อทางเดินปัสสาวะ แต่สำหรับลักษณะความพิการที่พบแล้ว จะแสดงบ่งถึงว่ามารดาเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์คือ กลุ่มอาการ caudal regression ที่เป็นกลุ่มอาการที่ทารกไม่มีพัฒนาการของกระดูกสันหลังส่วนปลาย ทำมีผลทำให้เกิดความผิดปกติของเชิงกราน และขาตามมา โดยหากมีความรุนแรงมากจะไม่พบการพัฒนาการของขาของทารก ทำให้ส่วนล่างของลำตัวทารกเป็นลำยาวเรียก sirenomelia หรือ mermaid syndrome ซึ่งมารดาที่เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์จะพบทารกมีความพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 1.9-10 เท่าเมื่อเทียบกับมารดาปกติ ขณะที่มารดาที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะพบทารกมีความพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 1.1-1.3 เท่าเมื่อเทียบกับมารดาปกติเอกสารอ้างอิง

  1. Mitanchez D, Yzydorczyk C, Siddeek B, Boubred F, Benahmed M, Simeoni U. The offspring of the diabetic mother–short- and long-term implications. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 2015;29:256-69.

 

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันเราหันมาสนใจและใส่ใจต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอดมากขึ้น เนื่องจากหากเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะสัมพันธ์กับการลดการเสียชีวิตของทารก อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตราการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดพบเพียงร้อยละ 50 ในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนั้น การที่จะส่งเสริมให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดได้ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจำเป็นต้องทราบปัจจัยที่มีผลต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการคลอด การผ่าตัดคลอด และการขาดแนวทางการดูแลทารกหลังคลอดที่ชัดเจนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ1 ดังนั้น การฝากครรภ์และดูแลครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด ลดการผ่าตัดคลอด และการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ทารกได้เริ่มการกินนมแม่ตั้งแต่ในชั่วโมงแรกจะช่วยให้ผลการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปด้วยดี ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพทารกในอนาคตด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Takahashi K, Ganchimeg T, Ota E, et al. Prevalence of early initiation of breastfeeding and determinants of delayed initiation of breastfeeding: secondary analysis of the WHO Global Survey. Sci Rep 2017;7:44868.