คลังเก็บป้ายกำกับ: ภาวะลิ้นติด

ภาวะลิ้นติด

moderat tongue-tie1

เอกสารประกอบการสอนภาวะลิ้นติด

tongue-tie review

ภาวะลิ้นติดกับการพูด

Mom-300x215

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การมีภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาที่สร้างความวิตกกังวลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปัญหาในเรื่องการพูด สำหรับในเรื่องการพูด มีรายงานหนึ่งการศึกษาถึงผลของการรักษาภาวะลิ้นติดโดยการผ่าตัดเปรียบเทียบในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดรักษา กลุ่มที่ไม่ได้รักษา และกลุ่มควบคุม โดยทดสอบการพูดโดยใช้แบบทดสอบการพูดมาตรฐาน (standardized articulation test) ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและการพูด ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละกลุ่ม แต่ในกลุ่มที่ไม่ได้รักษาพบพูดผิดบ่อยกว่า1 และมีสามรายงานการศึกษาที่เก็บรวบรวมข้อมูลของการรักษาภาวะลิ้นติดโดยการผ่าตัด ผลการศึกษามีแนวโน้มว่าการผ่าตัดรักษาจะช่วยให้การพูดดีขึ้น2-4 ซึ่งจำนวนตัวอย่างที่ศึกษาน้อย การสรุปผลจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่ศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dollberg S, Manor Y, Makai E, Botzer E. Evaluation of speech intelligibility in children with tongue-tie. Acta Paediatr 2011;100:e125-7.

2.???????????? Heller J, Gabbay J, O’Hara C, Heller M, Bradley JP. Improved ankyloglossia correction with four-flap Z-frenuloplasty. Ann Plast Surg 2005;54:623-8.

3.???????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: the adolescent and adult perspective. Otolaryngol Head Neck Surg 2003;128:746-52.

4.???????????? Messner AH, Lalakea ML. The effect of ankyloglossia on speech in children. Otolaryngol Head Neck Surg 2002;127:539-45.

?

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพของมารดาและทารก ได้แก่

  • อายุของมารดา อายุที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาอายุน้อยจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ามารดาที่อายุมากขึ้น1-3 ข้อมูลของอายุน้อยบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 20-21 ปี2,4 บางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 26 ปี3 และบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 30 ปี1
  • ลำดับครรภ์ ครรภ์แรกมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3
  • วิธีการคลอด การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศและการผ่าตัดคลอดมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2,5 มารดาที่ผ่าตัดคลอดต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ววิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5-7
  • หัวนมสั้นและหัวนมบอด พบว่าหัวนมของมารดาที่สั้นกว่า 7 มิลลิเมตรจะมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จน้อยกว่า
  • การเจ็บเต้านม การที่มารดามีอาการเจ็บเต้านมจะสัมพันธ์กับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก8,9 แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว10,11
  • การให้ผิวของลูกสัมผัสผิวของแม่เมื่อแรกคลอด (skin-to-skin contact) มีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 1-4 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ12
  • การเริ่มให้นมลูก มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอด4
  • ?การเข้าเต้า (latch on) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จัดให้ปากทารกเข้าประกบกับเต้านม คาบหัวนมและอมลานนม การเข้าเต้าที่ดีจะส่งผลต่อการดูดและกลืนน้ำนมอย่างเป็นจังหวะได้เหมาะสม การเข้าเต้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ต่างๆ ในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้บอกความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่13
  • ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้ทำนายมารดาที่ความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงนมแม่ในระยะ 7-10 วัน14
  • ทารกมีปากแหว่งเพดานโหว่ มีผลต่อการเข้าเต้าและการดูดนมของทารก ในทารกที่มีเพดาโหว่ จะมีปัญหาเรื่องการดูดนมโดยจะสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมไม่ได้15
  • ?ภาวะลิ้นติด ส่งผลให้เกิดการเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดีและการหยุดนมแม่เร็ว มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-8916,17 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-9516,18-20 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 321 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ19,20,22 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 1616 การผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 6519 สำหรับการหยุดนมแม่เร็ว พบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า23
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาในด้านการดูดและการกลืนซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่24
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อย มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม4
  • น้ำนมไม่พอ เป็นปัญหาของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจากการศึกษาพบเป็นปัญหาเพียงร้อยละ 5 แต่มารดารู้สึกว่าน้ำนมไม่พอถึงร้อยละ 5025
  • มารดาหรือทารกป่วย การที่มารดาหรือทารกป่วยทำให้มีโอกาสต้องแยกจากกันจึงเป็นปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่26 นอกจากนี้ การที่มารดาได้รับยาในการรักษาอาจมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือทารกส่งผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย27
  • ทารกร้องกวน มีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่27

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zobbi VF, Calistri D, Consonni D, Nordio F, Costantini W, Mauri PA. Breastfeeding: validation of a reduced Breastfeeding Assessment Score in a group of Italian women. J Clin Nurs 2011;20:2509-18.

2.??????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.??????????? Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.

4.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

5.??????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

6.??????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

7.??????????? Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.

8.??????????? Kvist LJ, Larsson BW, Hall-Lord ML. A grounded theory study of Swedish women’s experiences of inflammatory symptoms of the breast during breast feeding. Midwifery 2006;22:137-46.

9.??????????? Walker M. Conquering common breast-feeding problems. J Perinat Neonatal Nurs 2008;22:267-74.

10.????????? Hector D, King L, Webb K, Heywood P. Factors affecting breastfeeding practices: applying a conceptual framework. N S W Public Health Bull 2005;16:52-5.

11.????????? DiGirolamo A, Thompson N, Martorell R, Fein S, Grummer-Strawn L. Intention or experience? Predictors of continued breastfeeding. Health Educ Behav 2005;32:208-26.

12.????????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

13.????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

14.????????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002;141:659-64.

15.????????? Arosarena OA. Cleft Lip and Palate. Otolaryngologic Clinics of North America 2007;40:27-60.

16.????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

17.????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

18.????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

19.????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

20.????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

21.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

22.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

23.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

24.????????? da Costa SP, van der Schans CP, Zweens MJ, et al. The Development of Sucking Patterns in Preterm, Small-for-Gestational Age Infants. The Journal of Pediatrics 2010;157:603-9.e3.

25.????????? Hector D, King L. Interventions to encourage and support breastfeeding. N S W Public Health Bull 2005;16:56-61.

26.????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

27.????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

 

 

ผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรงษ์

??????????? มีการศึกษาถึงผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพบความสัมพันธ์ดังนี้

  1. การเจ็บเต้านม มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-892,3 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-952,4-6 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของคะแนนการเจ็บเต้านมก่อนและหลังทำการผ่าตัด3,6-8 นอกจากนี้อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10
  2. การเข้าเต้าไม่ดี จากการศึกษาพบแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยาร้อยละ 70 เชื่อว่าภาวะลิ้นติดทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อย แต่แพทย์ที่ให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 69 เชื่อว่า ภาวะลิ้นติดพบบ่อยที่ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่9 การเข้าเต้าเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุการเข้าเต้าได้ไม่ดีร้อยละ 64-842,3 มีรายงานเปรียบเทียบการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดกับทารกปกติ พบว่า ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 311 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ5,6,12
  3. ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 162 ซึ่งเป็นปัญหามาจากการเข้าเต้าได้ไม่ดีและต้องใช้เวลานานเข้าเต้าทำให้ได้รับน้ำนมแม่น้อยหรือไม่เพียงพอ ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดนี้ไม่พบปัญหาในการดูดนมขวด11 อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มาก ดังนั้นการผ่าตัดแก้ไขจึงเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 655
  4. การหยุดนมแม่เร็ว สาเหตุหนึ่งของการหยุดนมแม่เร็วคือ อาการเจ็บเต้านม อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10 โดยพบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า13 อย่างไรก็ตามในการติดตามทารกหลังจากผ่าตัดรักษาภาวะลิ้นติดเมื่ออายุ 2 เดือนไม่พบความแตกต่างของการเจ็บเต้านมและคะแนนการเข้าเต้า รวมถึงไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่12 แนวโน้มของข้อมูลแสดงว่า ภาวะลิ้นติดน่าจะมีผลในช่วงระยะแรกหลังคลอดที่เริ่มเข้าเต้าและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

3.???????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

4.???????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

5.???????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

6.???????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

7.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

8.???????????? Berry J, Griffiths M, Westcott C. A double-blind, randomized, controlled trial of tongue-tie division and its immediate effect on breastfeeding. Breastfeed Med 2012;7:189-93.

9.???????????? Segal LM, Stephenson R, Dawes M, Feldman P. Prevalence, diagnosis, and treatment of ankyloglossia: methodologic review. Can Fam Physician 2007;53:1027-33.

10.????????? Schwartz K, D’Arcy HJ, Gillespie B, Bobo J, Longeway M, Foxman B. Factors associated with weaning in the first 3 months postpartum. J Fam Pract 2002;51:439-44.

11.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

12.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

13.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

 

 

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด (เพิ่มเติม)

รูปแสดงการผ่าตัดภาวะลิ้นติดจาก Hong P, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด นอกจากเกณฑ์ของ Hazelbaker แล้ว ยังมีเกณฑ์อีกหลายเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยในการให้บริการวิชาการและวิจัย ได้แก่

  1. เกณฑ์การวินิจฉัย คือ การมีเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวของปลายลิ้น2
  2. เกณฑ์การวินิจฉัย คือ การมีเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น โดยแบ่งรายละเอียดภาวะลิ้นติดเป็น ภาวะลิ้นติดทางด้านหน้า (anterior ankyloglossia) ซึ่งจะเห็นจาการที่เนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นในส่วนครึ่งด้านหน้าของลิ้น และภาวะลิ้นติดทางด้านหลัง (posterior ankyloglossia) ซึ่งจะเห็นจาการที่เนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นในส่วนครึ่งด้านหลังของลิ้น1
  3. เกณฑ์การวินิจฉัย คือ การมีเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นและจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น โดยแบ่งรายละเอียดภาวะลิ้นติดเป็น ภาวะลิ้นติดทางด้านหน้า (anterior ankyloglossia) ซึ่งแบ่งเป็นชนิดย่อยอีกสามชนิด คือ ชนิดแรกเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากมีมาถึงปลายลิ้น ชนิดที่สองเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากมีประมาณ 3 ใน 4 ของลิ้น ชนิดที่สามเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากมีประมาณ 1 ใน 2 ของลิ้น และภาวะลิ้นติดทางด้านหลัง (posterior ankyloglossia) ซึ่งจะเห็นจาการที่เนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นในส่วนครึ่งด้านหลังของลิ้น โดยภาวะลิ้นติดทางด้านหลังในเกณฑ์นี้อาจพิจารณาเป็นชนิดที่ 43
  4. เกณฑ์การวินิจฉัยใช้เกณฑ์ของ Kotlow โดยวัดความยาวของจากปลายลิ้นถึงจุดที่มีการติดของเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปาก ความยาวนี้ที่ยอมรับว่าปกติทางคลินิก คือมากกว่า 16 มิลลิเมตร4 หากวัดความยาวส่วนนี้ได้ 12-16 มิลลิเมตรจัดกลุ่มเป็นภาวะลิ้นติดเล็กน้อย (mild ankyloglossia) หากความยาวตั้งแต่ 8-11 มิลลิเมตรจัดกลุ่มเป็นภาวะลิ้นติดปานกลาง (moderate ankyloglossia) หากความยาวตั้งแต่ 3-7 มิลลิเมตรจัดกลุ่มเป็นภาวะลิ้นติดรุนแรง (severe ankyloglossia) และหากความยาวน้อยกว่า 3 มิลลิเมตรจัดกลุ่มเป็นภาวะลิ้นติดสมบูรณ์ (complete ankyloglossia)5 กลุ่มภาวะลิ้นติดรุนแรงและสมบูรณ์จะพบการจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้นค่อนข้างมาก

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

2.???????? Segal LM, Stephenson R, Dawes M, Feldman P. Prevalence, diagnosis, and treatment of ankyloglossia: methodologic review. Can Fam Physician 2007;53:1027-33.

3.???????? Steehler MW, Steehler MK, Harley EH. A retrospective review of frenotomy in neonates and infants with feeding difficulties. Int J Pediatr Otorhinolaryngol 2012;76:1236-40.

4.???????? Chaubal TV, Dixit MB. Ankyloglossia and its management. J Indian Soc Periodontol 2011;15:270-2.

5.???????? Kotlow LA. Ankyloglossia (tongue-tie): a diagnostic and treatment quandary. Quintessence Int 1999;30:259-62.