คลังเก็บป้ายกำกับ: ผลของการให้ยาแก้ปวดและยาระงับความรู้สึกที่มีต่อทารกระหว่างการคลอดกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผลของการให้ยาแก้ปวดและยาระงับความรู้สึกที่มีต่อทารกระหว่างการคลอดกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ยา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??ผลของการให้ยาแก้ปวดและยาระงับความรู้สึกที่มีต่อทารก ส่งผลทำให้น้ำนมมาช้าและอาจทำให้ทารกง่วงซึม1,2 ไม่พร้อมที่จะดูดนมในระยะแรกหลังคลอด ดังนั้น การใช้ยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวด ควรมีการอภิปรายถึงข้อดีข้อเสียต่างๆ กับมารดาตั้งแต่ระยะก่อนการคลอด อธิบายถึงลักษณะการเจ็บครรภ์คลอดและทางเลือกในการลดความเจ็บปวดจากการคลอดด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา เพื่อให้มารดาเข้าใจ ลดความกลัว ความวิตกกังวล หรือความคาดหวังถึงความรุนแรงของการเจ็บครรภ์คลอดซึ่งจะส่งผลต่อความรุนแรงต่อการเจ็บครรภ์ขณะเข้าสู่ระยะคลอด3 โดยอธิบายข้อดีของการให้ยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวดจะทำให้มารดามีอาการปวดน้อยลง ไม่ต้องทนหรือมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากการคลอด สำหรับข้อเสียหรือความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวด นอกจากส่งผลทำให้น้ำนมมาช้าและอาจทำให้ทารกง่วงซึมแล้ว ยังมีผลเสียอื่นๆ ได้แก่ การคลอดยาวนานขึ้น มีโอกาสการใช้หัตถการสูงขึ้น4 การให้ทารกแรกเกิดได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เริ่มช้าลง2 เสี่ยงต่อการทำให้เกิดการแยกมารดาจากทารกหลังคลอด ทำให้ทารกง่วงซึมและปลุกตื่นยาก ลดกลไกการดูดนมของทารก น้ำนมลดลง ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดอาการตัวเหลือง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และน้ำหนักตัวขึ้นน้อย การให้การช่วยเหลือหรือเวลาที่มากขึ้นอาจจำเป็นในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการสร้างความสัมพันธ์ของมารดากับทารกเมื่อมีการใช้ยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวด

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Lind JN, Perrine CG, Li R. Relationship between use of labor pain medications and delayed onset of lactation. J Hum Lact 2014;30:167-73.

2.???????????? Riordan J, Gross A, Angeron J, Krumwiede B, Melin J. The effect of labor pain relief medication on neonatal suckling and breastfeeding duration. J Hum Lact 2000;16:7-12.

3.???????????? Chang MY, Chen SH, Chen CH. Factors related to perceived labor pain in primiparas. Kaohsiung J Med Sci 2002;18:604-9.

4.???????????? Hwa HL, Chen LK, Chen TH, Lee CN, Shyu MK, Shih JC. Effect of availability of a parturient-elective regional labor pain relief service on the mode of delivery. J Formos Med Assoc 2006;105:722-30.