คลังเก็บป้ายกำกับ: ปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านของยาสู่น้ำนม1

ปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านของยาสู่น้ำนม2

3386536-2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการผ่านของยาจากกระแสเลือดของมารดาไปสู่น้ำนมและทารก มีดังนี้ (ต่อ)

?-ความสามารถในการแตกตัวเป็นไอออน ค่าคงที่ของการแตกตัวของยาหรือ pKa จะเป็นค่า pH ที่ทำให้ความเข้มข้นของยาที่ไม่แตกตัวเท่ากับยาที่แตกตัวเป็นไอออน โดยยาที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนจะผ่านไปยังน้ำนมได้ดีกว่า น้ำนมแม่จะมี pH 7-7.2 ?หากค่า pKa ของยามากกว่า 7.2 แสดงว่าขณะที่อยู่ที่ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำนม ยาจะมีส่วนของยาที่ไม่แตกตัวมากกว่าส่วนของยาที่แตกตัว การผ่านไปที่น้ำนมของยาจะดีกว่า

??????????????? -ระยะของการสร้างน้ำนม ในช่วงการสร้างหัวน้ำนม (colostrums) ปริมาณยาที่ผ่านไปสู่น้ำนม ทารกจะได้รับในปริมาณที่น้อยเนื่องจากปริมาณของหัวน้ำนมที่น้อย แต่เมื่ออยู่ในระยะการสร้างน้ำนมที่สมบูรณ์ (mature milk) กลไกของปรับตัวของเยื่อบุผนังลำไส้ของทารกหลังจากได้รับนมแม่จะมีการยึดกันแน่นของเยื่อบุผนังลำไส้ จะทำให้การผ่านของยาลดลง

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านของยาสู่น้ำนม1

3386536-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการผ่านของยาจากกระแสเลือดของมารดาไปสู่น้ำนมและทารก มีดังนี้

? ? ? ? ? ? ? -ขนาดโมเลกุล โมเลกุลของสารที่มีขนาดเล็กกว่า 500 ดาลตัน โดยทั่วไปสามารถผ่านไปสู่นมแม่ได้

? ? ? ? ? ? ? ?-การจับการโปรตีนในกระแสเลือด ยาที่จับกับโปรตีนในกระแสเลือดน้อย จะผ่านไปสู่น้ำนมได้มากกว่า

? ? ? ? ? ? ? ?-การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการแพร่ แต่จะมีสารบางชนิดที่ผ่านไปที่นมแม่โดยต้องอาศัยพลังงานเข้าช่วย (active transport) ได้แก่ อิมมูโนโกลบูลิน สารเกลือแร่ในกระแสเลือด (electrolyte) และไอโอดีน สำหรับการผ่านไปที่นมแม่โดยวิธีการที่ใช้ตัวช่วย (facilitated transport) พบน้อย