คลังเก็บป้ายกำกับ: ประสบการณ์ของมารดาที่มีลูกที่มีภาวะลิ้นติด

ประสบการณ์ของมารดาที่มีลูกที่มีภาวะลิ้นติด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่ทำให้มารดาเจ็บหัวนม โดยหากขาดการให้คำปรึกษาและการดูแลที่เหมาะสม อาจทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ในประเทศไทยพบทารกมีภาวะลิ้นติดราวร้อยละ 151 ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของทารกที่มีภาวะลิ้นติดมักมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา มีการสำรวจความคิดเห็นถึงประสบการณ์ของมารดาที่มีภาวะลิ้นติดพบว่า ประมาณร้อยละ 25 ของมารดาที่มีลูกที่มีภาวะลิ้นติดมีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่พบว่ามีปัญหาในการเข้าเต้าลำบาก นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยว่า มารดายังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเอาใจใส่ในการตรวจภาวะลิ้นติดของทารกที่บุคลากรทางการแพทย์มักมองข้ามหรือพลาดในการให้การตรวจวินิจฉัย2 ซึ่งปรากฎการณ์นี้ น่าจะเหมือนกับในประเทศไทย เนื่องจากยังขาดผู้ที่รับผิดชอบที่ชัดเจนในการให้การตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และดูแลรักษาปัญหาลิ้นติด ดังนั้น การริเริ่มกำหนดแนวทางการให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ้นติดจากสถาบันการแพทย์ เช่น ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ รวมทั้งมูลนิธิศูนย์นมแม่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์ ส่งเสริม และดำเนินการให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติสำหรับทารกที่มีภาวะลิ้นติด เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการให้บริการที่ดีและสนับสนุนให้ทารกมีโอกาสได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  2. Wong K, Patel P, Cohen MB, Levi JR. Breastfeeding Infants with Ankyloglossia: Insight into Mothers’ Experiences. Breastfeed Med 2017;12:86-90.