คลังเก็บป้ายกำกับ: จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีภาวะลิ้นติด

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีภาวะลิ้นติด

tongue-tie swu

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โดยทั่วไป หลังจากการคลอด บุคลากรทางการแพทย์จะทำการตรวจร่างกายทารก และตรวจในช่องปากทารก หากพบว่าทารกมีภาวะลิ้นติด จะมีการประเมินเพิ่มเติม คือ ประเมินว่าทารกสามารถเข้าเต้าหรือดูดนมได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ หากมีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงมากจะทำให้ยากในการที่จะเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม ทำให้มารดาเจ็บหัวนม หัวนมแตก และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ เต้านมอักเสบหรือฝีที่เต้านม1 อย่างไรก็ตาม การขาดบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญในการประเมินภาวะลิ้นติดส่งผลต่อการขาดการคัดกรองภาวะลิ้นติดในทารกที่ดี ทารกที่มีภาวะลิ้นติดบางคนอาจกลับบ้านไปพร้อมกับมารดาโดยไม่ได้รับการวินิจฉัย แล้วมารดาจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีภาวะลิ้นติด การช่างสังเกตจะช่วยมารดาได้ หากมารดาเจ็บหัวนมขณะทารกดูดนม เมื่อมารดาสังเกตการดูดนมของลูกแล้ว ลูกดูดเฉพาะหัวนม หลังจากปรับเปลี่ยนท่าที่ให้นมลูกให้ลูกมีโอกาสได้อมหัวนมและลานนมลึกขึ้นแล้ว ยังไม่ได้ผล ลูกยังคงดูดเฉพาะหัวนมและมารดายังเจ็บหัวนมอยู่ ลองสังเกตชณะทารกร้องไห้ หากเห็นพังผืดใต้ลิ้นยึดมาถึงปลายลิ้น แสดงว่าทารกมีภาวะลิ้นติด ซึ่งควรจะกลับไปขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อช่วยประเมินและให้การวินิจฉัยถึงความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดรักษา ซึ่งการผ่าตัดรักษาก็สามารถทำได้ง่ายที่แผนกผู้ป่วยนอก ใช้เวลาราว 5 นาที โดยหลังทำทารกจะเข้าเต้าได้ดีขึ้นและสามารถดูดนมแม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการพักฟื้น2

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.