คลังเก็บป้ายกำกับ: คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวมีความเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่า

คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวมีความเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การที่คู่สามีภรรยาแยกกันอยู่ หย่าร้าง หรือมารดาเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากการที่ไม่ได้อยู่ร่วมกันระหว่างสามีและภรรยา ก็อาจจะมีโอกาสที่มารดาจะต้องดูแลทารกด้วยตนเองอย่างโดดเดี่ยว ขาดที่ปรึกษา และขาดคนที่จะคอยช่วยเหลือหรือสนับสนุนให้ทารกได้กินนมแม่โดยเฉพาะเมื่อมารดาต้องกลับไปทำงาน ดังนั้น ด้วยความเสี่ยงเหล่านี้ การที่มารดาแยกกันอยู่กับสามี จะมีผลลบต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือน2 ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจและติดตามมารดาสนับสนุนมารดากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้คำปรึกษาที่เหมาะสมทั้งทางด้านการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจ เพื่อเป็นการเสริมพลังและสร้างให้มารดามีความมั่นใจว่าจะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดีขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Lee HJ, Rubio MR, Elo IT, McCollum KF, Chung EK, Culhane JF. Factors associated with intention to breastfeed among low-income, inner-city pregnant women. Matern Child Health J 2005;9:253-61.
  2. Zhu Y, Hernandez LM, Mueller P, Dong Y, Hirschfeld S, Forman MR. Predictive Models for Characterizing Disparities in Exclusive Breastfeeding Performance in a Multi-ethnic Population in the US. Matern Child Health J 2016;20:398-407.