คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวช่วยลดน้ำหนักหลังคลอด

การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวกับอาการผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                อาการผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis) จากภูมิแพ้สามารถป้องกันได้ด้วยการให้ลูกได้กินนมแม่ และถือเป็นประโยชน์อย่างหนึ่งของการให้ลูกกินนมแม่ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวกับอาการผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในขณะที่ทารกมีอาการผิวหนังอักเสบพบว่า การปรับให้ทารกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกชนิดที่มีโปรตีนจำเพาะ (partial partially hydrolyzed whey formula (pHF-W))  หรือ ให้เฉพาะนมผงที่มีเฉพาะ pHF-W อย่างเดียว อาจจะลดเวลารักษาอาการผิวหนังอักเสบลงได้1 คำอธิบายของผลการศึกษานี้ยังไม่ชัดเวนว่าเหตุผลใดที่ทำให้เกิดผลเช่นนี้ การศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคตจึงจำเป็น เพื่อสร้างความชัดเจนและนำความรู้นี้มาให้คำปรึกษามารดาอย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Lin HP, Chiang BL, Yu HH, et al. The influence of breastfeeding in breast-fed infants with atopic dermatitis. J Microbiol Immunol Infect 2019;52:132-40.

การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวช่วยจุลชีพที่มีประโยชน์ในลำไส้ของทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? เรื่องของจุลชีพที่มีประโยชน์ในลำไส้ของทารกจะมีความเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและควบคุมระบบภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ นอกจากนี้จุลชีพที่อยู่ในลำไส้จะเป็นจุลชีพประจำถิ่นที่ช่วยปกป้องการติดเชื้อจากเชื้อที่จะทำให้เกิดโรค ผลเหล่านี้จึงนำมาสู่การลดการเสียชีวิตของทารกในช่วงระยะแรกหลังคลอด (neonatal death) จากการติดเชื้อในทางเดินอาหารและอาการท้องเสีย และช่วยลดกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ เช่น ผิวหนังอักเสบและหอบหืด มีการศึกษาพบว่านมแม่นั้นจะเป็นพรีไบโอติก (prebiotic) คือเป็นอาหารที่ดีของจุลชีพที่มีประโยชน์เหล่านี้ในลำไส้ ซึ่งจะช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของจุลชีพนี้ในลำไส้ การให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนจะคงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมของจุลชีพที่เหมาะสมในลำไส้ได้จากการติดตามเป็นระยะเวลาหนึ่งปี แต่หากทารกกินนมแม่ร่วมกับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกหรือให้อาหารอื่นก่อนเดือนที่ห้า สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับจุลชีพที่มีประโยชน์จะเปลี่ยนแปลงไป1 ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของทารก สิ่งที่พบนี้น่าจะสนับสนุนข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน จากนั้นกินนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Carvalho R, II, Duarte RTD, Brandt KG, Martinez MB, Taddei CR. Breastfeeding increases microbial community resilience. J Pediatr (Rio J) 2018;94:258-67.

การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวเป็นปฏิบัติการเพื่อบรรลุเป้าประสงค์เพียงอย่างเดียวใช่หรือไม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แม้จะทราบถึงประโยชน์ที่ดีของการให้ลูกกินนมแม่ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกคือ ให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นให้นมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยจนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก แต่ในบางครั้ง การตั้งเป้าประสงค์ของความต้องการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนอาจเป็นเพียงความปรารถนาที่ในความเป็นจริงเมื่อเวลาผ่านไป มารดาต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ความต้องการหรือเป้าประสงค์ของข้อกำหนดที่ตั้งเป้าไว้ในตอนแรกว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน อาจเปลี่ยนแปลงไป1 สิ่งนี้อาจส่งผลต่อมารดาในการสร้างความเครียดหรือความรู้สึกผิดที่มารดาไม่สามารถบรรลุความปรารถนาที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนได้ ดังนั้น ทัศนคติของบุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรมีแนวคิดที่ตำหนิหรือมองเห็นว่าเป็นความผิดของมารดาหากไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามความตั้งใจที่มีในครั้งแรกได้ และควรมีความเข้าใจ ร่วมกับแนวคิดที่จะช่วยเหลือมารดาและทารกให้ยังคงได้รับประโยชน์ที่ดี หากมารดายังมีนมแม่อยู่ เนื่องจากแม้ว่ามารดาจะไม่สามารถให้นมแม่อย่างเดียวแก่ทารกในช่วงหกเดือนแรกได้ แต่การที่ทารกยังได้กินนมแม่ แม้จะมีการให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกไปบ้าง หากมารดายังคงสามารถกลับมาให้นมแม่ต่อได้ ก็ยังคงเป็นผลดีและประโยชน์แก่มารดาและทารกที่จะคงอยู่ตลอดไป แม้จะเพียงแค่ในความคิดคำนึงของบุคลากรผู้ที่มีหน้าที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งสิ่งนี้ก็สามารถเป็นฐานในการสร้างกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไปได้เป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Alianmoghaddam N, Phibbs S, Benn C. Reasons for Stopping Exclusive Breastfeeding Between Three and Six Months: A Qualitative Study. J Pediatr Nurs 2018;39:37-43.

 

 

การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวช่วยลดน้ำหนักหลังคลอด

IMG_1678

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???ปัจจุบัน ความใส่ใจในเรื่องสุขภาพของคนในสังคมมีเพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนก็ยังพบมากขึ้นด้วย ในระยะของการตั้งครรภ์โดยทั่วไปในสตรีที่มีน้ำหนักปกติ จะมีน้ำหนักขึ้นราว 10-12 กิโลกรัม แต่ค่านิยมในการบำรุงหรือให้มารดารับประทานอาหารอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้บางคนน้ำหนักเพิ่มขึ้น 15-20 กิโลกรัม เมื่อน้ำหนักมารดาเพิ่มขึ้นมากเกิน ก็อาจนำมาซึ่งทารกที่ตัวโต คลอดยาก และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในระหว่างฝากครรภ์และคลอด โดยในระยะหลังคลอด มารดาหลังคลอดยังต้องวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปและน้ำหนักที่เกินอยู่มาก นอกจากการระมัดระวังดูแลเรื่องอาหารการกินในระหว่างการตั้งครรภ์ให้เหมาะสมแล้ว การให้นมลูกหลังคลอดในหกเดือนแรกยังเป็นวิธีหนึ่งที่พบว่าช่วยในการลดน้ำหนักของมารดาลงได้1 ซึ่งนอกเหนือจากการให้ประโยชน์ในเรื่องสุขภาพที่ดีและความเฉลียวฉลาดแก่ทารกแล้ว ยังมีผลดีต่อสุขภาพมารดาในเรื่องอื่นๆ ด้วย สำหรับความวิตกกังวลอีกเรื่องที่พบบ่อย คือ? การให้นมแล้วเต้านมจะหย่อนยานนั้น เป็นเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง? แน่นอนการที่มารดาให้นมจะมีเต้านมที่ขยาย ตึงคัดมากขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอาจจะเป็นที่ชื่นชอบในสตรีบางคนที่เต้านมเล็ก ดูไม่มีหน้าอก เมื่อเต้านมขยายก็อาจจะใส่เสื้อผ้าได้สวยขึ้น สำหรับในสตรีที่มีเต้านมใหญ่ การใส่เสื้อชั้นในที่พยุงทรงมีความจำเป็น ความหย่อนคล้อยของเต้านมขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเต้านม การใส่เสื้อผ้าที่พยุงทรงอย่างเหมาะสม และการออกกำลังกายให้มีเนื้อเยื่อที่ตึงตัวและกระชับ ดังนั้น องค์การอนามัยจึงพยายามส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก ซึ่งสนับสนุนให้น้ำหนักมารดาลดลงกลับสู่ภาวะก่อนตั้งครรภ์ได้ดี และยังลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Lopez-Olmedo N, Hernandez-Cordero S, Neufeld LM, Garcia-Guerra A, Mejia-Rodriguez F, Mendez Gomez-Humaran I. The Associations of Maternal Weight Change with Breastfeeding, Diet and Physical Activity During the Postpartum Period. Matern Child Health J 2016;20:270-80.