คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยกลุ่มการสื่อสารทางโทรศัพท์

การให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3403

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ?การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะได้ประโยชน์ทั้งการสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัคร การจัดการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ควรมีการจัดทั้งในระหว่างการฝากครรภ์ ขณะคลอด ซึ่งรวมถึงในระยะหลังคลอด โดยรูปแบบการจัดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การให้คำปรึกษาแบบที่ผู้ให้คำปรึกษาพูดให้คำปรึกษาแก่มารดาและครอบครัวโดยตรง (face-to-face counseling) ซึ่งมารดาสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ให้คำปรึกษา และเช่นเดียวกันผู้ให้คำปรึกษาสามารถสื่อสารทั้งทางวาจาและท่าทางให้แก่มารดาและครอบครัวได้1 ดังนั้น จะเห็นว่า การจัดรูปแบบที่ชัดเจนในการให้คำปรึกษาที่มีความต่อเนื่อง มีความสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สถานพยาบาลควรมีนโยบายส่งเสริมการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยสูงขึ้น ทารกที่เกิดและกินนมแม่จะมีความเฉลียวฉลาด สมบูรณ์ทั้งทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง

  1. McFadden A, Gavine A, Renfrew MJ, et al. Support for healthy breastfeeding mothers with healthy term babies. Cochrane Database Syst Rev 2017;2:CD001141.

การให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยกลุ่มการสื่อสารทางโทรศัพท์

IMG_9339

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ช่องทางการสื่อสารในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า โทรศัพท์เป็นช่องทางหนึ่งและดูเสมือนเป็นปัจจัยที่ห้าที่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ไปเสียแล้ว ดังนั้น การใช้การสื่อสารเพื่อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านการสื่อสารทางโทรศัพท์ถือเป็นช่องทางหนึ่งซึ่งหากจัดรูปแบบที่เหมาะสมกับจริตของกลุ่มมารดาแต่ละกลุ่ม ก็น่าจะได้รับผลที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารทางกลุ่มโทรศัพท์อาจทำได้ตั้งแต่ การส่งข้อความ และหากเป็นโทรศัพท์ที่รองรับสื่ออินเตอร์เน็ต การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้ผลดี มีรายงานการศึกษาการใช้กลุ่มการสื่อสารทางโทรศัพท์สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่า กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนด้วยการสื่อสารทางโทรศัพท์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนมากกว่ากลุ่มควบคุมถึง 5.6 เท่า1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสนใจกับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านการพัฒนาการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับมารดาในแต่ละกลุ่มที่มีความชอบที่แตกต่างกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Flax VL, Ibrahim AU, Negerie M, Yakubu D, Leatherman S, Bentley ME. Group cell phones are feasible and acceptable for promoting optimal breastfeeding practices in a women’s microcredit program in Nigeria. Matern Child Nutr 2017;13.