คลังเก็บป้ายกำกับ: การเสริมแร่ธาตุระหว่างการให้นมบุตร

สตรีให้นมบุตรควรเสริมธาตุเหล็กหรือไม่

IMG_1500รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?หญิงไทยที่ให้นมบุตรต้องการธาตุเหล็กวันละ 15 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งความต้องการจะน้อยกว่าในระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งมีความต้องการธาตุเหล็กเพื่อการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นโดยต้องการวันละ 60 มิลลิกรัม เนื่องจากในระหว่างการให้นมบุตรนั้น มารดาจะไม่มีประจำเดือนทำให้ไม่มีการเสียเลือด ในน้ำนมแม่จะมีปริมาณธาตุเหล็กต่ำ ธาตุเหล็กสามารถจะดูดซึมได้ดีในลำไส้ทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวโดยมีสารในนมแม่ที่ช่วยในกระบวนการการดูดซึมธาตุเหล็ก การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ไม่ได้เพิ่มปริมาณธาตุเหล็กในน้ำนม1 แต่ในระยะหลังคลอดมารดาควรเสริมธาตุเหล็กเพื่อให้ปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกายมีเพียงพอ ซึ่งหากมารดาไม่มีภาวะขาดธาตุเหล็กจะไม่ส่งผลต่อการขาดธาตุเหล็กในทารก สำหรับในนมผสมนั้นมักจะมีการเสริมธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงเนื่องจากไม่มีสารที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กเหมือนในนมแม่

? ? ? ? ? ? ?การช่วยป้องกันภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในทารกในกระบวนการในการช่วยคลอดอาจทำได้โดยการชะลอการหนีบและตัดสายสะดือ (delayed cord clamping) โดยมีข้อมูลว่าส่งผลดีในการช่วยป้องกันภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในทารกคลอดครบกำหนดปกติที่กินนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก2 แม้ว่ายังไม่มีข้อมูลจำนวนการปฏิบัติการชะลอการหนีบและตัดสายสะดือทารกในประเทศไทย และข้อมูลของภาวะขาดธาตุเหล็กของมารดาในระยะหลังคลอด แต่มีข้อแนะนำจากกรมอนามัยที่สนับสนุนให้เสริมธาตุเหล็ก โฟเลต และไอโอดีนให้แก่สตรีตั้งครรภ์และมารดาที่ให้นมบุตรจนถึงหกเดือน3

เอกสารอ้างอิง

  1. Abe SK, Balogun OO, Ota E, Takahashi K, Mori R. Supplementation with multiple micronutrients for breastfeeding women for improving outcomes for the mother and baby. Cochrane Database Syst Rev 2016;2:CD010647.
  2. Delayed cord clamping benefits babies. Aust Nurs Midwifery J 2013;21:41.
  3. รายงานประจำปี กรมอนามัย 2556. ใน: กองแผนงาน กรมอนามัย, ประเทศไทย: กรมอนามัย; 2556.