คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

นมแม่


รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Infant Breastfeeding Assessment Tool (IBFAT) มีรายละเอียด ดังนี้

พฤติกรรมหลัก 3 คะแนน 2 คะแนน 1 คะแนน 0 คะแนน
ความพร้อมในการรับนม เริ่มให้นมโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม กระตุ้นเล็กน้อยเมื่อเริ่มให้นม ต้องการกระตุ้นอย่างแรงในการให้นม ไม่สามารถกระตุ้นให้ตื่นตัว
การเขี่ยให้อ้าปากกว้าง ตอบสนองทันทีที่เขี่ยปาก ต้องเขี่ยซ้ำๆ จึงอ้าปาก เขี่ยแล้วอ้าปากน้อยมาก ไม่อ้าปากกว้างหลังพยายามเขี่ย
การอมคาบหัวนมและลานนม อมคาบทันทีที่ให้ดูดนม ใช้เวลา 3-10 นาทีในการเริ่มอมคาบ ใช้เวลา >10 นาทีในการเริ่มอมคาบ ไม่อมคาบหัวนมและลานนม
รูปแบบการดูดนม ดูดนมได้ดีข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง ดูดนมแล้วปล่อยบ่อยและคอยกระตุ้น ดูดนมช่วงสั้น 2-3 ครั้งแล้วหยุด ไม่ยอมดูดนม

หมายเหตุ ตารางการประเมินแปลโดย กุสุมา ชูศิลป์2

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 4 ตัวแปรคือ ความพร้อมในการรับนม การเขี่ยให้อ้าปากกว้าง การอมคาบหัวนมและลานนม และรูปแบบการดูดนม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 12 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาลหรือมารดา การแปลผล หากคะแนนการประเมินเท่ากับ 10-12 แสดงว่าการให้นมมีประสิทธิภาพดี คะแนนการประเมินเท่ากับ 7-9 แสดงว่าการให้นมมีประสิทธิภาพปานกลาง คะแนนการประเมินเท่ากับ 0-6 แสดงว่าการให้นมไม่มีประสิทธิภาพ

ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater correlation and reliability) พบว่ามี 0.27-0.693 และร้อยละ 914 แต่ขาดความสามารถในการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่อายุ 4 สัปดาห์4 คะแนนมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำนม แต่ไม่สามารถแยกทารกที่ดูดนมได้เพียงพอกับทารกที่ดูดนมได้ไม่เพียงพอ5 ?และยังมีความแม่นยำ (validity) ในการบ่งบอกปัญหาและความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำ6

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? กุสุมา ชูศิลป์. การประเมินทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่. ใน: ศุภวิทย์ มุตตามระ, กุสุมา ชูศิลป์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ไอยรา จำกัด; 2555:163-71.

3.???????????? Riordan JM, Koehn M. Reliability and validity testing of three breastfeeding assessment tools. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1997;26:181-7.

4.???????????? Matthews MK. Developing an instrument to assess infant breastfeeding behaviour in the early neonatal period. Midwifery 1988;4:154-65.

5.???????????? Furman L, Minich NM. Evaluation of breastfeeding of very low birth weight infants: can we use the infant breastfeeding assessment tool? J Hum Lact 2006;22:175-81.

6.???????????? Schlomer JA, Kemmerer J, Twiss JJ. Evaluating the association of two breastfeeding assessment tools with breastfeeding problems and breastfeeding satisfaction. J Hum Lact 1999;15:35-9.

 

 

ประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากประวัติศาสตร์ในสมัยก่อน ในราชวงศ์ต่างๆ ในสังคมชั้นสูง หรือในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดและไม่มีน้ำนม หรือทารกถูกทิ้ง จะมีการใช้แม่นมเพื่อทำการให้นมกับทารกแรกเกิด โดยมีการคัดเลือกและข้อจำกัดสำหรับแม่นมหลายอย่างในหลายสังคมและหลายวัฒนธรรม ได้แก่ การห้ามรับประทานอาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสื่อถึงความกังวลเกี่ยวกับการที่ทารกจะได้รับสิ่งที่แม่นมรับประทานเข้าไปและจะส่งผลต่อทารก ห้ามมีนิสัยชอบเล่นการพนัน โลภ หรือตื่นตกใจง่าย สื่อถึงภาวะทางอารมณ์ของแม่นมอาจมีผลต่อทารก ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วงให้นมทารก สื่อถึงความกังวลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ การมีบุตร จะทำให้คุณประโยชน์ของนมแม่ลดลง ห้ามครอบครัวของแม่นมแต่งงานกับเด็กทารกที่ได้รับการเลี้ยงจากแม่นม สื่อถึงความเชื่อทางศาสนาและความสัมพันธ์ของผู้หญิงที่ให้นมแม่จะอยู่ในฐานะของแม่คนหนึ่ง โดยอาจให้มีการดูแลทารกคนนั้นไปจนทารกโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ลักษณะน้ำนมของแม่นมก็เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือก โดยแม่นมจะต้องมีลักษณะน้ำนมขาว หวาน กลมกลืน ข้นเหนียวที่แสดงถึงคุณภาพน้ำนมที่ดี มีความเชื่อเกี่ยวกับหัวน้ำนม (colostrum) ที่เชื่อว่าเป็นอันตรายต่อทารก จึงมีการให้สารอาหารอื่นแทนในระยะแรกที่น้ำนมยังมาไม่ดี ได้แก่ น้ำผึ้ง เนยหรือน้ำมันผสมน้ำตาล น้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม2

ต่อมาในปี ค.ศ. 1856 ได้มีการเปิดโรงงานผลิตนมกระป๋องในอเมริกา และนมผสมเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง วัฒนธรรมการทำงานของสตรีเปลี่ยนแปลงไป โดยสตรีเริ่มต้องออกไปทำงานนอกบ้าน การให้ความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การใช้นมผสมมีมากขึ้น จนในปี ค.ศ. 1990 องค์กรอนามัยโลกและองค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) ประกาศการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และในปี ค.ศ. 1992 มีการเริ่มโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันมีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจและหูอักเสบ ผิวหนังอักเสบ กลุ่มอาการทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน (sudden infant death syndrome) โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง โดยภูมิคุ้มกันนี้จะยาวนานไปถึงเด็กอายุ 7 ปีและบางโรคยาวนานไปถึงวัยผู้ใหญ่1 ข้อมูลเหล่านี้ส่งเสริมเกิดการศึกษาเพิ่มเติมและให้ข้อแนะนำการเลี้ยงลูกอย่างเดียวเพิ่มจาก 4 เดือนเป็น 6 เดือน

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? Dowling DA. Lessons From the Past: A Brief History of the Influence of Social, Economic, and Scientific Factors on Infant Feeding. Newborn and Infant Nursing Reviews 2005;5:2-9.

 

 

ผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรงษ์

??????????? มีการศึกษาถึงผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพบความสัมพันธ์ดังนี้

  1. การเจ็บเต้านม มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-892,3 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-952,4-6 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของคะแนนการเจ็บเต้านมก่อนและหลังทำการผ่าตัด3,6-8 นอกจากนี้อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10
  2. การเข้าเต้าไม่ดี จากการศึกษาพบแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยาร้อยละ 70 เชื่อว่าภาวะลิ้นติดทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อย แต่แพทย์ที่ให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 69 เชื่อว่า ภาวะลิ้นติดพบบ่อยที่ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่9 การเข้าเต้าเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุการเข้าเต้าได้ไม่ดีร้อยละ 64-842,3 มีรายงานเปรียบเทียบการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดกับทารกปกติ พบว่า ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 311 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ5,6,12
  3. ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 162 ซึ่งเป็นปัญหามาจากการเข้าเต้าได้ไม่ดีและต้องใช้เวลานานเข้าเต้าทำให้ได้รับน้ำนมแม่น้อยหรือไม่เพียงพอ ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดนี้ไม่พบปัญหาในการดูดนมขวด11 อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มาก ดังนั้นการผ่าตัดแก้ไขจึงเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 655
  4. การหยุดนมแม่เร็ว สาเหตุหนึ่งของการหยุดนมแม่เร็วคือ อาการเจ็บเต้านม อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10 โดยพบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า13 อย่างไรก็ตามในการติดตามทารกหลังจากผ่าตัดรักษาภาวะลิ้นติดเมื่ออายุ 2 เดือนไม่พบความแตกต่างของการเจ็บเต้านมและคะแนนการเข้าเต้า รวมถึงไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่12 แนวโน้มของข้อมูลแสดงว่า ภาวะลิ้นติดน่าจะมีผลในช่วงระยะแรกหลังคลอดที่เริ่มเข้าเต้าและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

3.???????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

4.???????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

5.???????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

6.???????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

7.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

8.???????????? Berry J, Griffiths M, Westcott C. A double-blind, randomized, controlled trial of tongue-tie division and its immediate effect on breastfeeding. Breastfeed Med 2012;7:189-93.

9.???????????? Segal LM, Stephenson R, Dawes M, Feldman P. Prevalence, diagnosis, and treatment of ankyloglossia: methodologic review. Can Fam Physician 2007;53:1027-33.

10.????????? Schwartz K, D’Arcy HJ, Gillespie B, Bobo J, Longeway M, Foxman B. Factors associated with weaning in the first 3 months postpartum. J Fam Pract 2002;51:439-44.

11.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

12.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

13.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

 

 

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด มีเกณฑ์การวินิจฉัยหลากหลาย เกณฑ์ของ Hazelbaker ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการศึกษาและการวิจัย ประเมินลักษณะของลิ้นทารกโดยใช้ลักษณะ 5 อย่างร่วมกับการใช้หน้าที่การทำงานของลิ้นอีก 7 อย่าง การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดเมื่อให้คะแนนลักษณะรวมแล้วได้ 8 หรือน้อยกว่า และ/หรือ คะแนนหน้าที่รวมแล้วได้ 11 หรือน้อยกว่า2 แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 เกณฑ์การประเมินลักษณะและหน้าที่การทำงานของลิ้นของ Hazelbaker

คะแนนลักษณะ คะแนนหน้าที่การทำงาน
ลักษณะลิ้นเมื่อกระดกขึ้น การเคลื่อนที่ไปด้านข้างของลิ้น
? 2: มนหรือเหลี่ยม ? 2: สมบูรณ์
? 1: ปลายหยักเล็กน้อย ? 1: ไปเฉพาะตัวลิ้น ปลายไม่ไป
? 0: รูปหัวใจหรือตัว V ? 0: ไม่ได้เลย
ความยืดหยุ่นของ frenulum การกระดกลิ้น
? 2: ยืดหยุ่นมาก ? 2: ปลายลิ้นถึงกลางปาก
? 1: ยืดหยุ่นปานกลาง ? 1: แค่ขอบสองข้างถึงกลางปาก
? 0: ยืดหยุ่นเล็กน้อยหรือไม่เลย ? 0: ปลายอยู่แค่เหงือกล่างหรือกระดกได้ถึงเฉพาะเวลาเหงือกหุบ
ความยาวของ frenulum เมื่อลิ้นกระดก การแลบลิ้น
? 2: > 1 cm ? 2: ปลายลิ้นอยู่บนริมฝีปากล่าง
? 1: 1 cm ? 1: ปลายลิ้นอยู่บนเหงือกล่างเท่านั้น
? 0: < 1 cm ? 0: ไม่ใช่ทั้ง 2 อย่าง หรือส่วนปลายหรือส่วนกลางลิ้นนูนสูงขึ้น
การยึดของ frenulum กับลิ้น การแผ่ของส่วนปลายของลิ้น
? 2: ส่วนหลังของปลายลิ้น ? 2: บริบูรณ์เต็มที่
? 1: ที่ปลายเลย ? 1: ปานกลางหรือบางส่วน
? 0: ปลายลิ้นมีรอยหยัก ? 0: เล็กน้อยหรือไม่เลย
ตำแหน่งยึดของ frenulum กับขอบเหงือกล่าง การม้วนของขอบลิ้นเมื่ออมหัวนม(cupping)
? 2: ยึดติดกับพื้นปากหรือหลังต่อขอบเหงือก ? 2: ตลอดขอบ ม้วนอมได้กระชับ
? 1: ยึดหลังขอบเหงือกพอดี ? 1: ขอบข้างเท่านั้น กระชับปานกลาง
? 0: ยึดติดที่ขอบเหงือก ? 0: ไม่ดี หรือไม่กระชับเลย
การเคลื่อนไหวเป็นลูกคลื่นของลิ้น
? 2: สมบูรณ์ จากหน้าไปถึงหลัง
? 1: บางส่วน เริ่มจากส่วนหลังต่อปลายลิ้น
? 0: ไม่มี หรือเคลื่อนกลับทาง
การอมแล้วหลุด
? 2: ไม่เลย
? 1: เป็นครั้งคราว
? 0: บ่อยๆ หรือทุกครั้งที่ดูด

หมายเหตุ ข้อมูลแปลเป็นไทยโดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์วีระพงษ์? ฉัตรานนท์ จาก http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=345949

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

 

 

ภาวะลิ้นติด (tongue-tie) กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ภาวะลิ้นติดเป็นภาวะที่ทีมแพทย์ผู้ดูแล คุณแม่และครอบครัวมีความวิตกกังวลถึงผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบมีอุบัติการณ์ที่แตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 1.7-10.72-4 เนื่องจากมีเกณฑ์การวินิจฉัยที่หลากหลาย โดยมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี และการหยุดนมแม่เร็ว นอกจานี้ยังอาจพบมีความยากในการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ T, D, Z, S, N, J, L, CH, TH, DG และ R4,5 แต่ไม่ได้พบว่าเป็นสาเหตุของการพูดช้า5 สำหรับการเลือกทารกที่ควรจะได้รับการผ่าตัดรักษา โดยจากข้อมูลในปัจจุบันจะใช้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดร่วมกับการมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยวัดคะแนนการเจ็บเต้านม คะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือคะแนนการเข้าเต้า โดยการผ่าตัดรักษานิยมใช้การผ่าตัด frenotomy หรือ frenulotomy ผลลัพธ์ของการรักษาได้ผลดีและไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง2,3,6

 

หนังสืออ้างอิง

 

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

3.???????????? Edmunds J, Miles SC, Fulbrook P. Tongue-tie and breastfeeding: a review of the literature. Breastfeed Rev 2011;19:19-26.

4.???????????? Chaubal TV, Dixit MB. Ankyloglossia and its management. J Indian Soc Periodontol 2011;15:270-2.

5.???????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

6.???????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

?