คลังเก็บป้ายกำกับ: การเข้าเต้า

การเข้าเต้า

26401415

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การเข้าเต้า วิธีการปฏิบัติขณะเริ่มให้ริมฝีปากของทารกสัมผัสกับหัวนม เพื่อทารกจะได้อ้าปาก คอยให้ทารกอ้าปากกว้างแล้วเคลื่อนทารกเข้าหาเต้านม ทารกจะอมหัวนมและลานนม โดยระดับริมฝีปากล่างอยู่ต่ำกว่าหัวนม

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพของมารดาและทารก ได้แก่

  • อายุของมารดา อายุที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาอายุน้อยจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ามารดาที่อายุมากขึ้น1-3 ข้อมูลของอายุน้อยบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 20-21 ปี2,4 บางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 26 ปี3 และบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 30 ปี1
  • ลำดับครรภ์ ครรภ์แรกมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3
  • วิธีการคลอด การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศและการผ่าตัดคลอดมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2,5 มารดาที่ผ่าตัดคลอดต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ววิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5-7
  • หัวนมสั้นและหัวนมบอด พบว่าหัวนมของมารดาที่สั้นกว่า 7 มิลลิเมตรจะมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จน้อยกว่า
  • การเจ็บเต้านม การที่มารดามีอาการเจ็บเต้านมจะสัมพันธ์กับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก8,9 แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว10,11
  • การให้ผิวของลูกสัมผัสผิวของแม่เมื่อแรกคลอด (skin-to-skin contact) มีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 1-4 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ12
  • การเริ่มให้นมลูก มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอด4
  • ?การเข้าเต้า (latch on) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จัดให้ปากทารกเข้าประกบกับเต้านม คาบหัวนมและอมลานนม การเข้าเต้าที่ดีจะส่งผลต่อการดูดและกลืนน้ำนมอย่างเป็นจังหวะได้เหมาะสม การเข้าเต้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ต่างๆ ในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้บอกความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่13
  • ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้ทำนายมารดาที่ความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงนมแม่ในระยะ 7-10 วัน14
  • ทารกมีปากแหว่งเพดานโหว่ มีผลต่อการเข้าเต้าและการดูดนมของทารก ในทารกที่มีเพดาโหว่ จะมีปัญหาเรื่องการดูดนมโดยจะสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมไม่ได้15
  • ?ภาวะลิ้นติด ส่งผลให้เกิดการเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดีและการหยุดนมแม่เร็ว มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-8916,17 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-9516,18-20 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 321 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ19,20,22 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 1616 การผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 6519 สำหรับการหยุดนมแม่เร็ว พบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า23
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาในด้านการดูดและการกลืนซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่24
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อย มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม4
  • น้ำนมไม่พอ เป็นปัญหาของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจากการศึกษาพบเป็นปัญหาเพียงร้อยละ 5 แต่มารดารู้สึกว่าน้ำนมไม่พอถึงร้อยละ 5025
  • มารดาหรือทารกป่วย การที่มารดาหรือทารกป่วยทำให้มีโอกาสต้องแยกจากกันจึงเป็นปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่26 นอกจากนี้ การที่มารดาได้รับยาในการรักษาอาจมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือทารกส่งผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย27
  • ทารกร้องกวน มีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่27

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zobbi VF, Calistri D, Consonni D, Nordio F, Costantini W, Mauri PA. Breastfeeding: validation of a reduced Breastfeeding Assessment Score in a group of Italian women. J Clin Nurs 2011;20:2509-18.

2.??????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.??????????? Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.

4.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

5.??????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

6.??????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

7.??????????? Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.

8.??????????? Kvist LJ, Larsson BW, Hall-Lord ML. A grounded theory study of Swedish women’s experiences of inflammatory symptoms of the breast during breast feeding. Midwifery 2006;22:137-46.

9.??????????? Walker M. Conquering common breast-feeding problems. J Perinat Neonatal Nurs 2008;22:267-74.

10.????????? Hector D, King L, Webb K, Heywood P. Factors affecting breastfeeding practices: applying a conceptual framework. N S W Public Health Bull 2005;16:52-5.

11.????????? DiGirolamo A, Thompson N, Martorell R, Fein S, Grummer-Strawn L. Intention or experience? Predictors of continued breastfeeding. Health Educ Behav 2005;32:208-26.

12.????????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

13.????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

14.????????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002;141:659-64.

15.????????? Arosarena OA. Cleft Lip and Palate. Otolaryngologic Clinics of North America 2007;40:27-60.

16.????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

17.????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

18.????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

19.????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

20.????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

21.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

22.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

23.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

24.????????? da Costa SP, van der Schans CP, Zweens MJ, et al. The Development of Sucking Patterns in Preterm, Small-for-Gestational Age Infants. The Journal of Pediatrics 2010;157:603-9.e3.

25.????????? Hector D, King L. Interventions to encourage and support breastfeeding. N S W Public Health Bull 2005;16:56-61.

26.????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

27.????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

 

 

เกณฑ์ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

breastfeeding1

Breastfeeding assessment score

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นี้ใช้ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวข้อในการประเมิน

คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน

อายุมารดา

0

<21 ปี
 

1

21-24 ปี
 

2

>24 ปี
ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

0

ล้มเหลว
 

1

ไม่มี
 

2

สำเร็จ
จำนวนครั้งในการเข้าเต้ายาก

0

ทุกครั้งที่ให้นมลูก
 

1

เข้าเต้ายากครึ่งหนึ่งของการให้นมลูก
 

2

เข้าเต้ายากน้อยกว่า 3 ครั้ง
ระยะห่างระหว่างการให้นมลูกแต่ละครั้ง

0

มากกว่า 6 ชั่วโมง
 

1

3-6 ชั่วโมง
 

2

น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
จำนวนนมผสมที่ได้รับในโรงพยาบาล

0

ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
 

1

1 ครั้ง
 

2

ไม่ได้รับนมผสม
เคยได้รับการผ่าตัดเต้านมมาก่อน

-2

เคย
 

0

ไม่เคย
มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

-2

มี
 

0

ไม่มี
มารดาคลอดบุตรโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

-2

ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ
 

0

ไม่ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

 

การแปลผล หากคะแนนตั้งแต่ 8 มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หลังคลอด 7-10 วันสูง (ร้อยละ 95) แต่หากคะแนนน้อยกว่า 8 มีโอกาสที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ร้อยละ 21)1

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. The Journal of Pediatrics 2002;141:659-64.

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 6)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Lactation Assessment Tool (LAT)2 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อประเมิน รายละเอียด
การเข้าเต้า สังเกตทารกตอบสนองต่อการกระตุ้น คาบอมหัวนมและลานนม ประกบปากและดูดนม
มุมของการอ้าปากที่เต้านม อย่างน้อย 160 องศา
ริมฝีปากปลิ้นออก ริมฝีปากบนและล่างไม่หุบเข้า
ตำแหน่งศีรษะทารก จมูกและคางติดกับเต้านม
เส้นแนวของแก้มทารก เส้นแนวของแก้มทารกเรียบ
ระดับความสูงของทารกที่เต้านม จมูกจะอยู่ตรงกับหัวนมขณะเริ่มดูดนม
การหมุนหันลำตัวของทารก หน้าอกทารกจะติดกับหน้าอกมารดา
ความสัมพันธ์ของลำตัวทารกกับมารดา ทารกอยู่ในแนวระดับพาดข้ามหน้าอกมารดา
พลศาสตร์การดูดนม ลักษณะการดูดและกลืนเป็นจังหวะ โดยมีอัตราการดูดต่อการกลืน 2 ต่อ 1หรือ 1 ต่อ 1 และเห็นการเคลื่อนไหวของเต้านมเป็นจังหวะตามการดูดนม

 

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 9 ตัวแปรคือ การเข้าเต้า มุมของการอ้าปากที่เต้านม ริมฝีปากปลิ้นออก ตำแหน่งศีรษะทารก เส้นแนวของแก้มทารก ระดับความสูงของทารกที่เต้านม การหมุนหันลำตัวของทารก ความสัมพันธ์ของลำตัวทารกกับมารดา และพลศาสตร์การดูดนม ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีการเจ็บเต้านม โดยหากปฏิบัติได้ตามเกณฑ์จะลดความเจ็บปวดในของเต้านมลง3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery &amp; Women’s Health 2007;52:571-8.

3.???????? Cadwell K, Turner-Maffei C, Blair A, Brimdyr K, Maja McInerney Z. Pain reduction and treatment of sore nipples in nursing mothers. J Perinat Educ 2004;13:29-35.

4.???????? Blair A, Cadwell K, Turner-Maffei C, Brimdyr K. The relationship between positioning, the breastfeeding dynamic, the latching process and pain in breastfeeding mothers with sore nipples. Breastfeed Rev 2003;11:5-10.