คลังเก็บป้ายกำกับ: การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 3)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การดูดนมจนเกลี้ยงเต้า การที่ปล่อยให้มีน้ำนมสะสมอยู่ในเต้านมมาก เชื่อว่าจะมีสารเคมีที่ยับยั้งการสร้างน้ำนมสูงขึ้น ดังนั้นการดูดนมจนเกลี้ยงเต้าจะลดสารเคมีที่ยับยั้งกระบวนการสร้างน้ำนม มารดาจึงต้องกระตุ้นให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า1,2 หากยังไม่หมดหรือไม่เกลี้ยงเต้า การบีบนมหรือปั๊มนมออกจะช่วยให้นมเกลี้ยงเต้าและสามารถเก็บน้ำนมไว้ป้อนทารกไว้ในช่วงเวลาที่ต้องการได้ เมื่อให้นมแม่ได้เกลี้ยงเต้า การเริ่มให้นมแม่ครั้งต่อไปจะให้โดยเต้านมอีกข้างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติในลักษณะเดียวกันให้เกลี้ยงเต้า หากปฏิบัติได้ทุกครั้ง การสร้างน้ำนมจะเร็วและได้ปริมาณน้ำนมมากขึ้น หากทารกดูดนมได้น้อยเทคนิคที่ใช้ช่วยในปัญหานี้อาจใช้วิธีให้ทารกดูดจากเต้าก่อนซึ่งอาจดูดได้เพียง 5-10 นาทีจากนั้นบีบนมหรือปั๊มนมออกมาป้อนให้ทารกเพิ่มโดยใช้วิธีป้อนด้วยถ้วยต่อ และเช่นเดียวกันหากน้ำนมในเต้านมยังเหลือต้องบีบหรือปั๊มออกจนเกลี้ยงเต้า ปฏิบัติแบบนี้ไปจนกระทั่งทารกสามารถจะดูดนมได้ด้วยตนเองจนเกลี้ยงเต้า สิ่งนี้จะทำให้ทารกได้นมแม่พอเพียงและมีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์กำหนด3

สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดของการที่มีน้ำนมเพียงพอหรือมากพอคือ ทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวมีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์กำหนด ซึ่งมารดาสามารถดูการขึ้นของน้ำหนักทารกที่เหมาะสมได้ในสมุดสุขภาพทารก แต่หากมีความกังวลอาจใช้การเทคนิคการชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังกินนมแม่ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้จะช่วยให้มารดาลดความกังวลลงได้4,5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Daly SE, Hartmann PE. Infant demand and milk supply. Part 1: Infant demand and milk production in lactating women. J Hum Lact 1995;11:21-6.

2.???????? Daly SE, Hartmann PE. Infant demand and milk supply. Part 2: The short-term control of milk synthesis in lactating women. J Hum Lact 1995;11:27-37.

3.???????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

4.???????? Meier PP, Furman LM, Degenhardt M. Increased lactation risk for late preterm infants and mothers: evidence and management strategies to protect breastfeeding. J Midwifery Womens Health 2007;52:579-87.

5.???????? Neifert MR. Prevention of breastfeeding tragedies. Pediatr Clin North Am 2001;48:273-97.

 

 

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 8)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????????? ถุงยางอนามัย ไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้ข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน

การใช้ยาฆ่าอสุจิ สามารถใช้คุมกำเนิดได้ในช่วงหกสัปดาห์หลังคลอด แต่มีอัตราความล้มเหลวสูง1 และยังขาดข้อมูลความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การทำหมันหญิงหลังคลอด ในระยะแรกจะมีอาการปวดแผลจากการทำหมัน แต่ไม่รุนแรง อาจทำให้มีผลต่อการเริ่มดูดนมของทารก1 ยังไม่มีข้อมูลถึงผลนี้ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ชัดเจน ในระยะยาวไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Contraception during breastfeeding. Contracept Rep 1993;4:7-11.

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 7)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? อย่างไรก็ตาม การใช้ยาคุมชนิดที่ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยให้เริ่มเร็วในระยะหลังคลอดก่อนผู้คลอดจะกลับบ้าน อาจมีผลต่อการหยุดกระบวนการการสร้างน้ำนม โดยในภาวะปกติหลังคลอดการลดลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะกระตุ้นการเริ่มกระบวนการการสร้างน้ำนม1 ดังนั้นควรพิจารณาด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉีดยาคุมกำเนิดระดับฮอร์โมนในน้ำนมจะสูงกว่าการให้ในรูปแบบอื่นๆ และมีการอัตราการใช้สูง2

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

2.???????????? Chaovisitsaree S, Noi-um S, Kietpeerakool C. Review of postpartum contraceptive practices at Chiang Mai University Hospital: implications for improving quality of service. Med Princ Pract 2012;21:145-9.

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 6)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? ห่วงอนามัย เมื่อเริ่มการใส่ห่วงอนามัยในระยะ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดทองแดง สำหรับส่วนสูงและน้ำหนักของทารกที่ขึ้นคล้ายคลึงกันในทั้งสองกลุ่ม1 มารดากลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนใน 10 นาทีแรกหลังคลอดมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นกว่าและมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวน้อยกว่ามารดากลุ่มที่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนในช่วง 6-8 สัปดาห์หลังคลอด

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ยาฝังคุมกำเนิด จะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยในน้ำนมจะพบปริมาณของฮอร์โมนนี้ 50-110 นาโนกรัม1 เมื่อมารดามีการใช้ยาฝังในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอดพบว่า ไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน2 สำหรับน้ำหนักของทารก พบว่าทารกในช่วง 12 สัปดาห์ของกลุ่มมารดาที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดมีแนวโน้มจะมีน้ำหนักขึ้นมากกว่ากลุ่มมารดาใช้ยาฉีดคุมกำเนิด3 และมีน้ำหนักมากกว่าในกลุ่มที่ใช้ห่วงอนามัยชนิดทองแดงใน 6 เดือนหลังคลอด2

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Schwallie PC. The effect of depot-medroxyprogesterone acetate on the fetus and nursing infant: a review. Contraception 1981;23:375-86.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

3.???????????? Brito MB, Ferriani RA, Quintana SM, Yazlle ME, Silva de Sa MF, Vieira CS. Safety of the etonogestrel-releasing implant during the immediate postpartum period: a pilot study. Contraception 2009;80:519-26.

 

?