คลังเก็บป้ายกำกับ: การสังเกตและการซักประวัติเรื่องการเจ็บหัวนม

การสังเกตและการซักประวัติเรื่องการเจ็บหัวนม

DSC00927-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? -ถามมารดาโดยให้มารดาอธิบายว่าอะไรที่มารดารู้สึก?

??????????? เจ็บตอนเริ่มให้นมและค่อยๆ น้อยลงเมื่อทารกกินนมได้ สาเหตุส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเข้าเต้าหรือการอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก

??????????? เจ็บขณะตอนทารกดูดนมและอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นสุดการให้นม อาการที่มารดาบ่งบอกเป็นอาการแสบร้อนหรือปวดจี๊ด สาเหตุของอาการเหล่านี้เกิดจากการติดเชื้อรา Candida? abicans

??????????? -มองดูที่หัวนมและเต้านม

??????? หากผิวหนังสีน้ำตาล สาเหตุเกิดจากการเข้าเต้าไม่ดี

??????? หากผิวหนังสีแดง เป็นมัน คัน และผิวหนังลอก ซึ่งการเข้มขึ้นของผิวหนังจะไม่มี? สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อรา Candida? abicans

??????? ต้องระลึกไว้เสมอว่าการติดเชื้อราและการบาดเจ็บของเต้านมจากการเข้าเต้าที่ไม่ดีสามารถจะเกิดร่วมกันได้

??????? คล้ายคลึงกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หัวนมและเต้านมอาจจะเกิดตุ่มคัน ผิวหนังอักเสบ หรือความผิดปกติของผิวหนังอื่นๆ ได้

??????????? -สังเกตการให้นมจนสิ้นสุดการให้นมโดยใช้แบบสังเกตการให้นมลูก (breastfeed observation aid)

??????? ตรวจสอบวิธีการเข้าเต้าของทารก การอ้าปากอมหัวนมและลานนมและการดูดนม

??????? สังเกตว่ามารดาหยุดให้นมทารกหรือทารกหยุดกินนมด้วยตนเอง

??????? สังเกตลักษณะหัวนมว่าเป็นอย่างไรหลังจากสิ้นสุดการให้นม โดยหัวนมดูผิดรูปผิดร่างหรือถูกบีบ แดงหรือมีสีขาวเป็นเส้น

??????????? -ตรวจสอบในปากทารกว่ามีภาวะลิ้นติดหรือเชื้อราหรือไม่

??????????? -ถามมารดาเกี่ยวกับประวัติของติดเชื้อรา และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อรา เช่น การใช้ยาฆ่าเชื้อ

??????????? -ถ้ามารดาใช้เครื่องปั๊มนม ตรวจสอบว่าการใช้เครื่องประกบเข้าเต้าได้เหมาะสม และไม่ใช้แรงดูดสูงเกินไป

??????????? -ตัดสินถึงสาเหตุของการเจ็บหัวนม โดยสาเหตุที่พบบ่อยของการเจ็บหัวนม ได้แก่

??????????? การเข้าเต้าไม่ดี

??????? เป็นตามหลังการตึงคัดเต้านม และอาจร่วมกับการเข้าเต้าไม่ดีด้วย

??????? ทารกถูกดึงออกจากเต้านมเพื่อหยุดการให้นม โดยมารดาไม่มีการแยกเพื่อลดแรงดูดของทารกระหว่างปากกับเต้านม

??????? เครื่องปั๊มนมอาจจะมีดึงหัวนมและเต้านมให้ยืดออกมากเกินไปหรือมีการเสียดสีระหว่างเต้านมกับเครื่องปั๊มนม

??????? เชื้อราอาจจะผ่านจากปากทารกไปที่หัวนมได้

??????? ทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะยื่นลิ้นออกไปได้น้อย เหงือกด้านล่างจึงกดและเสียดสีกับเต้านมมากกว่า

??????????? -ยังมีสาเหตุที่พบได้น้อยของการเกิดการเจ็บหัวนมอีกมาก ซึ่งถ้าหากจำเป็นอาจต้องให้ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009